INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 1:50:21
Home » ความรู้รถยนต์ » 200 เรื่องน่ารู้ สำหรับคนใช้รถ[Chapter3]\"you

200 เรื่องน่ารู้ สำหรับคนใช้รถ[Chapter3]

2013/06/17 1310👁️‍🗨️

car-charpter3
101.ไม่ควรล้างรถตอนเย็น ด้วยตนเอง เพราะหากล้างแล้วจอดทิ้งไว้อาจทำให้เกิดสนิม ในบางจุดที่เราเช็ดไม่แห้ง หรือไม่สามารถเช็ดแห้งได้ ยกเว้นแต่จะมีเครื่องเป่าน้ำให้แห้งหรือจะขับรถต่อไปเป็นระยะทางไกล ลมจะช่วยให้ทุกซอยทุกมุม แห้งสนิท
102.การเช็ดรถที่ถูกวิธี ควรใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ หรือผ้าชามัวร์ ในการเช็ดรถ เนื่องจากผ้าเหล่านี้ จะไม่ทำให้รถเป็นรอย แต่ถ้าผ้าชามัวร์แท้ ควรจะระวัง เวลาที่ผ้าชามัวร์แห้งสนิทจะแข็งตัว และเมื่อจะทำมาเช็ดรถ ก็ควรจะนำผ้าชามัวร์นั้น จุ่มน้ำให้เปียกจริง ๆ ทั้งผืน ก่อนเช็ดรถ เพราะถ้าไม่เปียกทั้งผืน แสดงว่ายังมีส่วนที่ยังไม่โดนน้ำที่ยังแข็งอยุ่ ซึ่งอาจทำให้สีรถเป็นรอยได้ง่าย
103. การดูแลรักษาสีรถยนต์ โดยวิธีการเคลือบสีรถด้วยตนเอง ล้างรถให้สะอาด เช็ดรถให้น้ำหมาด ๆแล้ว เทน้ำยาเคลือบสี ลงบนผ้านุ่ม ที่มีน้ำหมาด ๆ เช็ดบนตัวรถ โดยวนเป็นก้นหอย ให้ทั่วบริเวณตัวรถ ทิ้งน้ำยาไว้ตามระยะเวลาที่รถบุไว้ข้างกระป๋อง ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ หรือผ้านุ่ม เช็ดน้ำยาออกให้หมดทั่วตัวรถ
104.การเคลือบสี ทับลงไป ซึ่งจะทำให้รถมีความเงางาม ใส ไม่มีคราบสกปรกฝังอยู่แต่อย่างใด รถจะสวย ใสอยู่ตลอดเวลา ผิวสีรถจะลื่น น้ำไม่เกาะและฝุ่นไม่เกาะ รถไม่หมอง นอกจากจะให้ความสวย ใส เงา งามของรถ แล้ว ยังให้การปกป้องผิวสีรถจากสิ่งสกปรกต่าง ๆแสงแดด ยางมะตอย ริ้วรอย มูลนก ยางไม้ และมลภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้สีรถเสียหายได้อีกด้วย
105.การเคลือบสีอย่างเดียวบ่อย ๆ นั้น ถ้าบนผิวสีรถ มีคราบสกปรกฝังอยู่ ก็จะทำให้ผิวสีรถไม่ใส แล้วถ้าเคลือบทับไปบ่อย ๆ ก็จะทำให้คราบสกปรกเหล่านั้น ฝังตัวแน่นขึ้นด้วย แล้วถ้าแย่ไปกว่านั้น ถ้ามีละอองสี ยางมะตอยฝัง หรือคราบมลภาวะที่สามารถทำลายสีรถติดอยู่โดยที่เราไม่รู้และไม่ได้ขจัดมันออกไปก่อน แล้วเคลือบทับลงไป จะทำให้สิ่งเหล่านี้ ไปกัดกิน ผิวสีรถได้ และทำให้รถดูหมอง
106.การป้องกันคราบขาวของฝนกรด กัดกินสีรถของเรา การล้างรถหลังจากที่รถถูกฝนมาเป็นการล้างเพื่อให้น้ำไปชะเอา ฝนที่อยู่บนผิวสีรถออกไป ก็จะช่วยไม่ให้รถเกิดคราบขาว ๆ ได้
107.เนื่องจากน้ำฝนในปัจจุบันมีสภาพเป็น กรดเจือจาง ทำให้เมื่อมีฝนตกลงมา แล้วทิ้งรถไว้จนแห้ง จะสังเกตเห็นคราบขาว ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น ถ้ารถถูกฝนแล้ว ละก็ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าจอดรถตากแดด เพราะ ว่าความร้อนจากแสงแดด จะทำให้ฝนกรดแห้งเร็ว และ กัดกินรถเราได้เร็วขึ้น
108. จอดรถในโรงเก็บรถเพื่อป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ต ล้างรถสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง น้ำยาล้างรถบางชนิด เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวสีเสีย ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของโรงงานผู้ผลิตรถยนต์
109. ใช้น้ำยาล้างรถที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือใช้น้ำยาล้างรถเกินอัตราที่ทางผู้ผลิตแนะนำ ก็จะเป็นอันตรายต่อสีของรถได้และอย่าปล่อยให้บริเวณที่ล้างแห้ง ควรจะล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนที่จะล้างในส่วนอื่นต่อไป
110.ขจัดคราบน้ำมันบนตัวถังรถใช้ฟองน้ำจุ่มลงในน้ำผสมเบ็คกิ้งโซดาทาตรงบริเวณที่มีคราบน้ำมันจับ คราบน้ำมันจะหลุดออกอย่างง่ายดายไม่กระทบกระเทือนสีรถด้วย
111. กำจัดแมลงที่ติดฝาครอบรถยนต์และตะแกรงหน้ารถ ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้สเปรย์พ่นยุงพ่นที่ฝาครอบรถและตะแกรงหน้ารถตัวแมลงเล็ก ๆ ก็จะหลุดออกง่าย และไม่ทำลายความเป็นเงาของสีรถ
112..รอยเปื้อนกระจกหน้ารถจากตัวแมลงหรือน้ำที่กระเด็นใส่ แก้ไขด้วยใช้ฟองน้ำชุปเบ็คกิ้งโซดา แล้วเอาฟองน้ำสะอาดเช็ดกระจกจนแห้ง ผงเบ็คกิ้งโซดาจะไม่ทำให้กระจกเป็นรอยใช้ทำความสะอาดไฟหน้าไฟท้ายและกันชนได้
113. การขับรถตอนน้ำท่วม ถ้าไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงอย่างไม่ต้องสงสัยและไม่ต้องกลัวว่า รถจะดับหรือเปล่า หรือจะมีปัญหาอะไรตามมา เช่น น้ำจะเข้ารถหรือเปล่า แล้วจะเกิดผลเสียต่ออุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่
114. แต่ถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราควรทำอย่างไรดีละ คือ ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด เมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน สิ่งที่จะตามมาคือ ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง
115. ควรใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา ก็ใช้ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับออโต้ ก็ใช้เกียร์ L ก็ได้ครับ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วสม่ำเสมอ
116. อย่าหยุดอย่าเร่งความเร็วขึ้น ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง ๆ การเร่งเครื่อง ยิ่งทำให้รถมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อเครื่องมีความร้อนสูงขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และควรลดความเร็วลง เมื่อ กำลังจะขับรถสวนกับอีกคันที่กำลังขับมา เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นชนคลื่น
117. เมื่อขับผ่านบริเวณที่มี น้ำท่วมแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อ ก็คือ พยายาม ย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรก ๆ หลังจากการลุยน้ำลึกมา มันจะเบรกไม่อยู่ และเป็นอันตรายมาก ถ้าเราไม่ทำการย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก สำหรับ เกียร์ธรรมดา ต้องมีการย้ำคลัชเช่นเดียวกับการย้ำเบรก เพราะหลังการลุยน้ำมา อาจมีปัญหาคลัชลื่น จึงต้องทำทั้งย้ำคลัชและย้ำเบรก
118.. อีกข้อหนึ่งคือ เมื่อลุยน้ำมาแล้ว ไม่ควรดับเครื่องทันที ถึงแม้ถึงจุดหมายก็ตามเพราะอาจมีน้ำค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสีย ซึ่งควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีไอออกจากท่อไอเสีย ก็ไม่ต้องตกใจครับ ก็สตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำในหม้อพักมันระเหยออกไปเพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะทำให้เกิดน้ำค้างอยู่ในหม้อพัก สิ่งที่จะตามมาคือ มันจะผุ
119. หลังจากวันที่เราลุยน้ำมาแล้ว เราควรจะ ล้างรถ รวมถึง การฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถด้วย รวมทั้งบริเวณซุ้มล้อ สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่า มันมีสีผิดปกติหรือไม่ หรือถ้าเป็นไปได้ ก็เปลี่ยนน้ำมันเกียร์มันซะเลย เพื่อความสบายใจ เช็คลูกปืนล้อ ซึ่ง พูดง่าย ๆ ว่า เจอน้ำทีไร ลูกปืนล้อมันก็จะดัง ตรวจสอบ พื้นพรมในรถ ว่า เปียกชื้นหรือไม่ รวมถึงกล่องฟิวส์ต่าง ๆ
120. วิธี จอดรถ ให้ ปลอดภัยพยายามหาที่จอดรถบริเวณที่มีผู้คนและยวดยานผ่านไปมามากหน่อย และควรเป็นที่สว่างๆ ควรจอดรถใกล้ประตูทางเข้าออกศูนย์การค้า อย่าจอดรถใกล้กับรถตู้หรือรถบรรทุก หากจอดบนอาคารที่จอดรถ ให้หาจุดจอดใกล้กับทางเดินหรือลิฟต์ ตามอาคารจอดรถที่ต้องรับบัตรจอดรถ จงเก็บบัตรนั้นไว้กับตัว อย่าทิ้งไว้ในรถ
121..อุ่นเครื่องยนต์สักหน่อยก่อนออกรถจะดีกว่า เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง “เย็น”อยู่ ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ และละลายปนกับฟีล์มน้ำมันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่ ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมด และไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้ ยังละลายปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย
122. รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต้องรันอิน รถรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอิน และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อนที่จะใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป
123. การยก “ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอดไม่ได้ช่วยยืดอายุใบปัด แผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจกบังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี หากใช้นานกว่านั้นเนื้อยางจะแข็งตัวหรือมีการฉีกขาด ไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม อีกส่วนคือ ก้านใบปัด ที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบสนิทกับกระจก ซึ่งรับแรงจากคันโยก และมอเตอร์ ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอดตากแดดสปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลา อายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด
124 . ในกรณีรถติดไฟแดง ผู้ขับรถที่ใช้เกียร์ธรรมดาจะปลดเกียร์ว่าง และเหยียบเบรคป้องกันรถไหล คงจะไม่มีใครเหยียบคลัทช์ และเบรค ใส่เกียร์คาไว้ ให้เมื้อยขา ขณะที่ผู้ขับรถเกียร์อัตโนมัติ กลับมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน กลุ่มแรก เหยียบเบรคโดยค้างเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง “D” กลุ่มที่2 เบรคเหมือนกัน แต่เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์มาที่เกียร์ว่าง “N” กลุ่มสุดท้าย ดันคันเกียร์มาอยู่ที่“P” ไม่เหยียบเบรค ถ้าติดไฟแดงนานๆ กลุ่มแรก ต้องระวังมากที่สุด เพราะถ้าขยับตัวแล้วเท้าหลุดจากแป้นเบรค รถอาจพุ่งไปชนคันหน้า กลุ่มที่ 2 เบาหน่อยแค่เมื่อย ส่วนกลุ่มสุดท้าย สบายใจได้ แต่อาจจะไม่สะดวกกับการใช้งาน วิธีดีที่สุด คือ ใช้เกียร์ว่าง และดึงเบรกมือ
125 ลมน้อย ยางมีโอกาสระเบิดได้มาก คู่มือการใช้และดูแลรักษายางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน ก็แนะนำตรงกันว่า ผู้ใช้รถควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางอะไหล่ให้สูงขึ้นอีก 2- 3 ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกล
126 ลมยางที่อ่อนกว่ามาตรฐานกำหนด นอกจากจะทำให้หน้ายางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับโครงสร้างยางได้ และมีโอกาสเกิด “ยางระเบิด” มากกว่าหรือใกล้เคียงกับยางที่มีแรงดันลมยางเกินกำหนด เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี
127. อย่าใช้ระบบขับเคลื่อนผิดประเภท จะได้ไม่ต้องเสียใจ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นอาจจะช่วยให้รถเกาะถนนมากกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกาะถนนดีเมื่อต้องเลี้ยวในความเร็วสูง ล้อหน้าที่ถกลอคให้หมุนจะเลี้ยวได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้างขึ้น จึงมีรถประเภทนี้หลุดโค้งให้เห็นกันเป็นประจำระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์มีไว้เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านทางทุระกันดานได้ง่ายขึ้น ต่างกับพวกที่เป็นฟูลล์ไทม์หรือ “ตลอดเวลา” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการยึดเกาะถนน
128 ตั้งศูนย์ล้อควรทำทั้ง 4 ล้อ ศูนย์ล้อหลังมีความสำคัญพอๆ กับศูนย์ล้อหน้า หรืออาจจะมากกว่า เพราะมุมที่ล้อหลังเอียงไปเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้รถเสียสมดุลเมื่อเบรค หรือเลี้ยวและทำให้รถเลี้ยวไปมากกว่าที่คิด รถยนต์ส่วนใหญ่จะปรับตั้งศูนย์ล้อได้หน้า/หลัง ยกเว้นรถขับเคลื่อนหน้าบางรุ่นที่ปรับได้แต่เฉพาะล้อหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตั้งศูนย์ล้อหลัง ก็ต้องทำใจ
129. .เวลาข้ามแยก รอให้รถว่าง และไม่ควรเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน ถ้าคุณเปิดไฟฉุกเฉิน รถทั้งด้านซ้าย/ขวา ต่างก็จะเห็นสัญญาณไฟเลี้ยวเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น รถทางขวาอาจจะจอดให้ไป แต่สำหรับทางซ้ายอาจคิดว่าคุณจะเลี้ยวซ้ายจึงไม่หยุดให้ อุบัติเหตุ จึงเกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจผิด จากการใช้สัญญาณไฟแบบผิดที่…ผิดทาง
130. ไฟฉุกเฉินใช้เวลาจอดฉุกเฉิน ในสภาพอากาศที่ไม่ดี และมีทัศนะวิสัยแย่มาก จนมองแทบไม่เห็นรถคันหน้า การชะลอความเร็ว เปิดไฟหน้า และทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้นเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน ทำให้ที่วิ่งสวนทางมาเข้าใจผิดคิดว่ามีรถจอดเสียอยู่ทางซ้ายริมถนน และหักหลบไปทางขวา ซึ่งเป็นไหลทาง กว่าจะเห็นอาจจะสายเกินไป ไม่ลงไปข้างทางก็อาจพุ่งข้ามช่องทางมาชน หรือถ้าหยุดรถก็ขวางทาง และเกิดอุบัติเหตุ
131.การใช้ สัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือไฟผ่าหมาก ควรใช้เฉพาะเวลาที่รถเสีย และต้องจอดอยู่ริมถนน เพื่อบอกให้เพื่อนร่วมทางที่สัญจรผ่านไปมา ใช้ความระมัดระวัง และชะลอความเร็วในจุดที่รถจอดเสียอยู่
132 ผ้าเบรคแข็ง หรือ ผ้าเบรคเนื้อแข็ง ไม่ดี” ไม่แน่เสมอไป ขึ้นอยู่กับความต้องการความเข้าใจผิดๆ เรื่อง “ผ้าเบรค” ที่ว่าผ้าเบรคอ่อนดีกว่าแข็ง ถ้าเน้นข้อดีข้อใดขึ้นมา ก็มักจะมีข้ออื่นด้อยลงไป
133. ..นั่งขับแบบไม่ต้องชะเง้อ จะได้ไม่เมื่อย และไม่อันตราย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ท่านั่งที่ถูกต้องเอาหลังพิงพนักจนสนิทแล้วเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่ง ไปวางบนส่วนบนสุดของพวงมาลัยแล้ว ตรงกับข้อมือ ขาต้องสามารถเหยียบแป้นคลัทจนจม โดยไม่ต้องเหยียดข้อเท้าสุด ส่วนใต้ของขาอ่อนดันกับเบาะนั่งส่วนหน้า จนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวที่ลงตรงสะโพกพอดี และยังสัมผัสกับพนักพิง
134. นั่งชิดพวงมาลัยเพื่อให้มองเห็นหน้ารถ” อันตรายมาก ตัวอาจกระแทกกับพวงมาลัยบาดเจ็บ ผู้ที่นั่งใกล้พวงมาลัยเกินไป มักเป็นผู้ที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับรถนัก และได้รับการสอนท่านั่งมาแบบผิดๆ ลำตัวที่อยู่ชิดกับพวงมาลัย นอกจากจะทำให้หมุนพวงมาลัยไม่ถนัดเพราะแขนงอมากเกินไป ยังเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตัวผู้ขับ ที่อาจจะบาดเจ็บจากการที่ลำตัวกระแทกกับพวงมาลัย และแรงระเบิดจากถุงลมนิรภัย
135. การหงายมือล้วงหรือสอดมือจับพวงมาลัย เพื่อเลี้ยวรถ เป็นการออกแรงดึงเข้าหาตัว จึงทำให้รู้สึกว่าออกแรงน้อยกว่าการจับแบบคว่ำมือหมุน แต่การทำแบบนั้นมี “อันตราย” มาก ถ้าหากล้อหน้าเกิดสะดุดก้อนหิน และเกิดมือหลุดจากพวงมาลัย ดึงมือออกมาไม่ทันก้านพวงมาลัยจะตีมืออย่างแรง
136. การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องควรจับในตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา ซึ่งแขนจะงออยู่เล็กน้อย และเพียงพอที่หมุนพวงมาลัยได้จนครบรอบ เมื่อต้องเลี้ยวรถมากกว่าหนึ่งรอบ จะปล่อยมือที่อยู่ด้านหลัง เพื่อมาจับในตำแหน่งเดิม โดยทำในลักษณะนี้ทั้งเลี้ยวซ้าย/ขวา
137. “เกียร์ ซีวีที.ขับง่ายและประหยัดน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป การขับแบบประหยัดเชื้อเพลิง ให้เหยียบคันเร่งไม่ลึกนักขณะออกรถและรักษาระยะที่เหยียบไว้ ช่วงแรกเครื่องยนต์จะส่งกำลังผ่านทอร์คคอนเวอร์เตอร์ พอล้อรถหมุนเร็วพอสมควร และไม่ต้องการความช่วยเหลือจากทอร์คคอนเวอร์เตอร์แล้ว ระบบต่อตรงส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังจานทรงกรวยตัวขับก็จะทำงาน จากนั้นระบบควบคุมจะลดระยะห่างของจานทรงกรวยคู่ที่เป็นตัวขับ เป็นการลดอัตราทด เพื่อเพิ่มความเร็วรถ โดยที่ความเร็วของเครื่องยนต์ค่อนข้างคงที่
138. โรงงานผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น จำนวนไม่น้อย แนะนำให้เปลี่ยนไส้กรอง หรือหม้อกรองทุกๆ ครั้งที่ 2 ของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถ้าคำนึงถึงคุณภาพของน้ำมันเครื่องยุคปัจจุบันแล้ว น้ำมันเครื่องหมดอายุแล้ว ในหม้อกรองน้ำมันเครื่องจำนวนหนึ่งปนเปื้อน ไม่ถึงกับให้โทษในด้านการหล่อลื่นหรือทำความสะอาดภายในเครื่องยนต์ แต่เมื่อคำนึงถึงราคาหม้อกรอง หรือไส้กรอง ซึ่งถูกกว่าราคาน้ำมันเครื่องแล้ว ควรเปลี่ยนทุกครั้งเพื่อให้น้ำมันเครื่องสะอาดที่สุด และทำหน้าที่รักษาเครื่องยนต์ของเราจะดีกว่า
139. ไม่ควรเติม หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพื่อถนอมเครื่องยนต์”อาจจะหนืดไป แค่ใช้น้ำมันเครื่องดี มีคุณภาพ ก็เพียงพอแล้ว น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงในปัจจุบันมีส่วนผสมของสารต่างๆ อยู่ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม จึงไม่ควรใส่สารอื่นเข้าไปทำลายสัดส่วนสารเคมีเหล่านี้ให้เสียสมดุลและกลับให้โทษแก่เครื่องยนต์
140. ใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพมาตรฐานจะดีกว่า การนำน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุดสักครึ่งลิตร มาผสมกับน้ำมันเครื่องคุณภาพปานกลาง ก็ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพขึ้นมาได้ เอาเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์ส่วนอื่นจะดีกว่า
141. การเอาน้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำมาเติมผสมลงไปน้ำมันเครื่องชั้นดีราคาสูง ซึ่งจะทำให้ส่วนผสมของสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องเสียสมดุลไป เท่ากับน้ำมันเครื่องทั้งหมดคุณภาพต่ำไปการเติมน้ำมันเครื่องใหม่เมื่อน้ำมันเครื่องเดิมใกล้จะถึงกำหนดเปลี่ยนถ่ายนั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไปเพื่อแลกกับการใช้งานเพียงระยะสั้น ทางที่ดีเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเลยจะคุ้มกว่า
141. ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ทุกๆ 10,000 กม.”ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำมันเครื่องและความต้องการของเครื่องยนต์ ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย กำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่เครื่องยนต์แต่ละรุ่นต้องการใช้ อยู่ในคู่มือประจำรถ และกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องไว้แตกต่างกันด้วย
142. รถยนต์ของค่ายญี่ปุ่น จะมีกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นระยะทางที่สั้นกว่ารถยุโรปเช่น ทุกๆ 5,000 กม. และ 10,000 กม. ส่วนรถค่ายยุโรปส่วนใหญ่ที่เครื่องยนต์ใหญ่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำ และมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องไว้สูง เช่น ระดับ SJ สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะกำหนดระยะทางถึง 15,000 กม. หรือมากกว่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนก่อนเวลาก็ไม่ได้ทำให้เสียหาย เพียงแต่เปลืองเงินกว่าที่ควร
143.. การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล ก่อให้เกิดเขม่ามากกว่าในเครื่องยนต์เบนซินผงเขม่าขนาดเล็กสามารถลอดผ่านกระดาษกรองของหม้อกรองน้ำมันเครื่องได้ เมื่อสะสมแขวนลอยอยู่ในน้ำมันเครื่องมากขึ้น จะทำให้น้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดสูงขึ้น คุณสมบัติในการหล่อลื่นจึงลดลงเครื่องยนต์ดีเซลระบบฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้ หรือไดเรคท์อินเจคชันยุคใหม่มีเขม่าน้อยกว่าแบบ พรีแชมเบอร์ เราจึงสังเกตได้ว่า กำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์แบบนี้ใกล้เคียงกับเครื่องยนต์เบนซินแล้ว
144. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ จุดเด่นแรกของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์อยู่ที่ค่าความหนืดต่ำที่อุณหภูมิต่ำ จึงไหลไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ในสภาพเย็นจัด
145.น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ทนต่อความร้อนสูงที่ผนังกระบอกสูบได้ดีกว่า จึงมีอัตราการระเหยเป็นไอได้น้อยกว่าน้ำมันเครื่อง “ธรรมดา” อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องอาจน้อยกว่าเล็กน้อย จุดเด่นอีกข้อของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ คือ การมีค่าดัชนีความหนืดสูง จึงไม่ “ใส” เกินไปเมื่อถูกความร้อนจัด น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีสารปรับดัชนีความหนืดผสมอยู่ในอัตราที่น้อยกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา เนื่องจากสารปรับดัชนีความหนืดนี้เสื่อมสภาพได้ง่ายตามอายุใช้งาน
146. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีอายุใช้งานยาวนานกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดามาก เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % กับราคาน้ำมันเครื่อง “ธรรมดา” ระดับคุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีราคาสูงกว่าราว 2 ถึง 4 เท่า
147.. ไม่ควรนำน้ำมันเครื่องราคาถูกมาเปลี่ยนบ่อยๆ แทนน้ำมันเครื่องมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด แม้น้ำมันเครื่องระดับคุณภาพสูงที่เราซื้อมา ก็อาจเป็นของปลอมที่กรองและฟอกสีมาจากกากน้ำมันเครื่องใช้แล้วได้
148. เลือกใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุด ก่อนอื่นต้องเลือก “ยี่ห้อ” และสถานที่จำหน่ายที่น่าไว้วางใจได้ เลือกระดับคุณภาพ แล้วจึงดูระดับความหนืด หรือความข้นของน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเฉลี่ยของเมืองไทย เช่น 10W-40/15W-40/15W-50 หรือ 20W-50 ระดับคุณภาพที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย คือ ระดับคุณภาพตามมาตรฐานของ API (AMERICANPETROLEUM INSTITUTE) ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซิน ควรใช้น้ำมันเครื่อง ระดับคุณภาพ SJหรือ อย่างน้อย SH ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์ดีเซล ควรเลือกระดับ CG – 4 หรืออย่างน้อย CF – 4
149.. การใช้แบตเตอรีที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ ทั้งเครื่องยนต์ ไดสตาร์ท และไดชาร์จ ยังมีขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะเป็นความสิ้นเปลืองที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะความต้องการไฟในการสตาร์ทเครื่องยนต์ยังเท่าเดิมแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับไดชาร์จในอนาคต
150. แบตเตอรีที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป ไม่เพียงต้องทำให้เจ้าของรถต้องดัดแปลงแทนวางแบตเตอรีใหม่เท่านั้น ยังอาจส่งผลให้ไดชาร์จทำงานเต็มกำลังตลอดเวลา เพื่อบรรจุไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี ซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อไฟเต็ม





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow