INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 15:56:49
Home » ประกันรถยนต์ » การเคลมประกันรถยนต์ 20 คำถาม (LMG)\"you

การเคลมประกันรถยนต์ 20 คำถาม (LMG)

2012/08/08 9267👁️‍🗨️

1. การเคลมแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร
แบ่งง่ายๆ เป็น 2 ประเภท ได้แก่เคลมสดและเคลมแห้ง

เคลมสด คือ เคลมที่ต้องการพนักงานออกตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ ได้แก่ เกิดเหตุมีคู่กรณี หรือมีผู้บาดเจ็บ หรือ รถประกันหรือรถคู่กรณีเสียหายมาก ซึ่งเคลมประเภทนี้ ผู้ขับขี่รถประกันหรือรถคู่กรณีจะได้รับใบหลักฐานในการติดต่อค่าเสียหายจากพนักงาน ตรวจสอบอุบัติเหตุ ซึ่งสามารถนำไปติดต่อซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯได้ทันที

เคลมแห้ง คือ เคลมที่ไม่ต้องการพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุออกตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ ได้แก่ รถประกันเสียหายเล็กน้อยและไม่มีคู่กรณี ซึ่งเคลมประเภทนี้ ผู้ขับขี่รถประกันสามารถนำรถประกันเข้าไปติดต่อซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯได้ตลอดเวลาที่ผู้ ขับขี่สะดวก แต่ทั้งนี้ต้องก่อนกรมธรรม์หมดอายุ

claim-car

2. กรณีเป็นเคลมสด จะมีขั้นตอนและเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
กรณีเป็นเคลมสด สามารถนำรถประกันหรือรถคู่กรณีพร้อมกับใบหลักฐานในการติดต่อค่าเสียหายที่ได้รับจากพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุ พร้อมด้วยเอกสารอื่นๆ
ที่พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุร้องขอ เข้าซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯ ซึ่งอู่ในเครือฯจะทำการเสนอราคาเพื่อขออนุมัติ ค่าซ่อมผ่านระบบ Internet ได้ทันที

3. กรณีเป็นเคลมแห้ง จะมีขั้นตอนและเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
กรณี เป็นเคลมแห้ง ผู้ขับขี่รถประกันสามารถนำรถประกันเข้าซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯได้ทันที โดยนำเอกสารดังต่อไปนี้ ติดต่อซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯ ได้แก่ ใบขับขี่ กรมธรรม์และสำเนาทะเบียนรถ ซึ่งอู่ในเครือจะขอเปิดเคลมและเสนอราคาเพื่อขออนุมัติค่าซ่อมผ่านระบบ Internet ได้ทันที

4. การนำรถเข้าซ่อม มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ อย่างไร
กรณีเป็นเคลมสด เพื่อความรวดเร็วในการอนุมัติซ่อมและการซ่อม จะต้องนำรถเข้าซ่อมภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ
กรณีเป็นเคลมแห้งต้องนำรถเข้าซ่อมก่อนกรมธรรม์หมดอายุ

5. กรมธรรม์ซ่อมห้างแตกต่างจากกรมธรรม์ซ่อมอู่อย่างไร

โดยปกติกรมธรรม์รถยนต์ หากเกิดอุบัติเหตุก็สามารถนำรถซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯ ซึ่งจะได้รับความสะดวกในเรื่องการติดต่อ การอนุมัติราคาและเอกสาร ตลอดจนการรับประกัน คุณภาพการซ่อม โดยเรียกกรมธรรม์ประเภทนี้ว่า “กรมธรรม์ซ่อมอู่ในเครือ” ส่วนกรมธรรม์อีกประเภทหนึ่งคือ “กรมธรรม์ซ่อมห้าง” ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุ ทางผู้เอาประกันสามารถ นำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์บริการ(ห้าง)ในเครือของบริษัทฯได้ ซึ่งกรมธรรม์ประเภทนี้ ก็จะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการรับประกันภัยแตกต่างกันไป และจะมีค่าเบี้ยประกันสูงกว่ากรมธรรม์ปกติ 20-30%

กรณี เป็นกรมธรรม์ซ่อมอู่แล้วนำรถประกันไปซ่อมที่ศูนย์บริการ ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบส่วนต่างราคาค่าซ่อม จากการซ่อมอู่ในเครือของบริษัทฯ

6. การซ่อมรถประกัน จำเป็นต้องซ่อมอู่ในเครือหรือศูนย์บริการ(ห้าง)ในเครือหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไร
ไม่จำเป็น แต่การเข้าซ่อมอู่หรือศูนย์บริการที่ไม่ใช่ในเครือ หรือเป็นคู่สัญญากับทางบริษัทฯ จะมีความแตกต่างใน 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่หนึ่ง การอนุมัติราคาค่าซ่อม บริษัทฯจะอนุมัติราคาค่าซ่อมให้เท่ากับการซ่อมกับอู่หรือศูนย์บริการในเครือ ดังนั้นหากมีส่วนต่างค่าซ่อม ทางผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ ในส่วนแตกต่างดังกล่าวเอง และในกรณีต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่ ทางอู่นอกเครือดังกล่าว จะต้องเป็นผู้จัดหาอะไหล่ตามที่บริษัทฯได้อนุมัติไปแล้วเอง โดยจะต้องคิดส่วนลดราคาอะไหล่ ให้เท่ากับร้านอะไหล่ในเครือของบริษัทฯ

ส่วนที่สอง ผู้เอาประกันหรือเจ้าของรถต้องนำเรื่องเข้ามาติดต่อหรือคุมราคาหรือตั้งเบิก ด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตามสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนก็ได้ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ กรณีเป็นเคลมสด ผู้เอาประกันฯหรือเจ้าของรถต้องนำรถประกันหรือรถคู่กรณีพร้อมใบเสนอราคาค่า ซ่อมเข้ามาติดต่อที่สำนักงานหรือสาขาของบริษัทฯ (ยกเว้นกรณีเป็นศูนย์ บริการ ทางบริษัทฯจะจัดเจ้าหน้าที่ออกอนุมัติราคาให้ที่ศูนย์ฯ ภายหลังจากที่ได้รับใบเสนอราคาค่าซ่อมจากทางศูนย์ฯ) แต่หากไม่สามารถเข้ามาติดต่อได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให ้ผู้อื่นมาทำแทนได้ กรณีเป็นเคลมแห้ง ผู้ขับขี่รถประกันต้องนำรถเข้ามาเปิดเคลมที่สำนักงานหรือสาขาของบริษัทฯพร้อมกับตกลงราคาค่าซ่อม

7. ค่า Excess หรือ Deductible และส่วนร่วมทำสี คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
ในส่วนของค่า Excess หรือ Deductible คือ ค่าเสียหายส่วนแรก เป็นการระบุจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง โดยรับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุ
ในส่วนที่เกินกว่านั้น บริษัทประกันภัย จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ทั้งนี้ไม่เกินวงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์ โดยค่าเสียหายส่วนแรกนี้ แบ่ง เป็น 2 กรณี

– ค่า Excess หรือ Deductible ที่ผู้เอาประกันระบุในกรมธรรม์ ในกรณีนี้จะเป็นข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันและบริษัทประกันภัย ตั้งแต่การเริ่มรับประกันภัยแล้ว และผู้เอาประกันจะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันจากการระบุค่า Excess หรือ Deductible นี้

– กรณีผิดเงื่อนไขของกรมธรรม์ เช่น กรณีไม่สามารถระบุคู่กรณีให้บริษัทฯทราบได้ หรือกรมธรรม์ระบุชื่อผู้ขับขี่ แต่ในขณะเกิดเหตุผู้ขับขี่ไม่ตรงตามชื่อที่ระบุในกรมธรรม์ ในส่วนของค่าส่วนร่วมทำสี โดยส่วนใหญ่จะเกิดขั้นจาก พนักงานฝ่ายราคาตรวจสอบรถประกันแล้วพบว่าเป็นความเสียหายใน 2 กรณี ดังนี้

ส่วนที่หนึ่ง รถ ประกันสีเสื่อมจึงต้องเรียกเก็บค่าส่วนร่วมทำสี เนื่องจากกรมธรรม์รถยนต์จะคุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองการเสื่อมสภาพ จากการใช้งาน หรือความเสียหายที่คาดหมายได้อยู่แล้วว่ารถทุกคันก็จะมีความเสียหายลักษณะ นั้นๆ อย่างไรก็ตามบริษัทฯก็จะพิจารณาการร่วมรับผิดชอบระหว่างบริษัทฯและผู้เอาประกันตามความเหมาะสม โดยจะพิจารณาจากประวัติของผู้เอาประกันเป็นหลัก

ส่วนที่สอง กรณีที่ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า ความเสียหายเกิดจากอุบัติเหตุทั้งหมดหรือไม่ อย่างไร จึงต้องเป็นการประนีประนอมในการรับผิดชอบความเสียหาย ระหว่างบริษัทฯและผู้เอาประกัน โดยปกติจะเกิดร่วมกับกรณีสีเสื่อมสภาพ ในส่วนที่ว่าจะประนีประนอมกันเท่าไหร่ อย่างไร จะขึ้นอยู่กับลักษณะความเสียหาย และประวัติ การเคลมของผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเป็นหลัก

8. การร่วมรับผิดชอบต่อส่วนเสื่อมสภาพหรือส่วนสึกหรอ คืออะไร มีอะไรบ้าง และร่วมรับผิดชอบอย่างไร

เนื่องจากกรมธรรม์รถยนต์ ไม่ได้คุ้มครองการเสื่อมสภาพและการสึกหรอจากการใช้งาน อย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดและข้อยกเว้นที่บริษัทฯ จะพิจารณาการร่วมรับผิดชอบ
ระหว่างบริษัทฯ และผู้เอาประกันตามความเหมาะสมและยุติธรรม เช่น

กรณี ชิ้นส่วนของรถประกันผุ แต่รถประกันเกิดอุบัติเหตุเป็นเคลมสด ในส่วนของการผุทางผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเอง โดยทางบริษัทจะรับผิดชอบค่าทำสีเท่านั้น

กรณี ชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีการเสื่อมสภาพหรือสึกหรอจากการใช้งานอยู่แล้ว กล่าวคือ แม้ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุทางผู้เอาประกันก็ต้องทำการเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นดัง กล่าว ตามตาราง
บำรุงรักษารถโดยปกติ เช่น

– กรณี ชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีส่วนประกอบเป็นยางต่างๆ เช่น ลูกยาง ลูกหมาก หากเป็นการเปลี่ยนอะไหล่ตามสภาพรถแล้ว ก็จะไม่ถูกเรียกเก็บส่วนเสื่อมหรือส่วนสึกหรอ จากผู้เอาประกันแต่อย่างใด แต่หากเป็นการเปลี่ยนอะไหล่แท้ใหม่ จะต้องทำการหักส่วนเสื่อมสภาพ ตามสภาพของอะไหล่แต่ละชิ้นตัวอย่างที่ชัดเจนได้แก่ ยางรถยนต์ ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วยางแตก ถ้าบริษัทฯรับผิดชอบเป็นยางเปอร์เซ็นต์ ทางผู้เอาประกันก็ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในส่วนเสื่อมสภาพ แต่หากเป็นการเปลี่ยนยางใหม่ บริษัทฯจะรับผิดชอบค่ายาง 50% (กรณีรถประกันยางแตก กรมธรรม์รถยนต์ไม่ได้คุ้มครองต่อตัวยาง แต่หากยางแตกแล้วรถประกันเสียหลักเฉี่ยวชนกับรถคันอื่น กรมธรรม์คุ้มครองต่อความเสียที่ตามมาจากยางแตก)

– ส่วน ประกอบที่เป็นน้ำมันหล่อลื่นต่างๆ เช่น น้ำมันเครื่อง บริษัทฯไม่สามารถรับผิดชอบได้ เนื่องจากโดยวิธีปฏิบัติแล้ว สามารถถ่ายน้ำมันเครื่องเพื่อนำกลับมาเติมให้ใหม่ได้ แต่หากน้ำมันเครื่องเสียหายจากอุบัติเหตุครั้งนั้นๆ ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก บริษัทฯจะร่วมรับผิดชอบ 50%

9. กรณีรถประกันเสียหาย โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย หรือคู่กรณีหลบหนี หรือจำรายละเอียดไม่ได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร
หาก เกิดกรณีดังกล่าว ทางผู้ขับขี่หรือผู้เอาประกันต้องทำการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อตรวจสอบ ติดตามและดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัย แต่หากยังไม่สามารถระบุให้บริษัทฯ ทราบถึงผู้ที่ทำให้รถประกันเสียหายได้ ทางผู้เอาประกันก็ต้องรับผิดชอบค่า Excess หรือ Deductible ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ จำนวน 2,000 บาท ในทุกกรณีและทุกอุบัติเหตุแต่ละครั้ง

10. Excess หรือ Deductible และส่วนร่วมทำสี ตลอดจนส่วนเสื่อม สามารถลดหย่อนหรืออนุโลมได้ หรือไม่ อย่างไร

ในส่วนของค่า Excess หรือ Deductible คือ ค่าเสียหายส่วนแรก ที่ระบุอยู่ในกรมธรรม์และเป็นเงื่อนไขในกรมธรรม์ชัดเจน ประกอบกับผู้เอาประกันได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันจาก
การระบุค่า Excess หรือ Deductible ไปแล้ว จึงไม่สามารถทำการลดหย่อนหรืออนุโลมได้แต่อย่างใด

ใน ส่วนของค่าส่วนร่วมทำสี เนื่องจากเป็นการพิจาณาร่วมรับผิดชอบระหว่างบริษัทฯและผู้เอาประกันตามความ เหมาะสม จากลักษณะความเสียหาย จากประวัติของผู้เอาประกัน และประวัติการเคลมของผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเป็นหลัก ซึ่งพนักงานราคาได้พิจารณาจากปัจจัยแต่ละอย่างได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและยุติธรรมแล้ว

car-accident-claim


11. กรณีใดจึงจะทำการเปลี่ยนอะไหล่ และมีอะไหล่กี่ประเภท มีเงื่อนไขแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

กรณีที่จะทำการเปลี่ยนอะไหล่ได้ ชิ้นส่วนดังกล่าวต้องมีความเสียหายมากกว่า 50% และหลักการทั่วไปในการพิจารณา คือ หากอะไหล่เดิมเป็นอะไหล่ประเภทไหน สภาพใด
ทางผู้เอาประกันก็จะได้รับการชดใช้ให้ในสถาพเดิม ดังนี้

ในส่วนของรถที่อายุไม่เกิน 2 ปี จะเป็นการเปลี่ยนอะไหล่ของแท้ใหม่ แต่หากเกิดเหตุหลายครั้ง ภายใน 2 ปี ก็อาจจะต้องพิจารณาเป็นรายการๆไป อย่างเช่นบังโคลนและฝากระโปรงหน้า อาจจะต้องพิจารณาเป็นอะไหล่แท้เก่า อย่างไรก็ตามในกรณีเป็นรถประกันเสียหายมากและเป็นการตกลงราคาเหมาซ่อมทั้ง ค่าแรงและค่าอะไหล่กับทางอู่ผู้รับงานซ่อม การพิจารณา เรื่องอะไหล่จะพิจารณาตามความเหมาะสมและยุติธรรม ทั้งนี้อู่จะเป็นผู้รับผิดชอบงานซ่อมจนเสร็จสมบูรณ์

อย่างไรในส่วนของอะไหล่ที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัย จะต้องเป็นการจัดอะไหล่แท้เท่านั้น เช่นระบบไฟส่องสว่าง ระบบเครื่องยนต์ ระบบช่วงล่าง แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณา จากสภาพรถประกอบด้วย

ใน ส่วนของการเปลี่ยนอะไหล่ที่เป็นอะไหล่นำเข้า บริษัทฯจะรับผิดชอบค่าขนส่งทางเรือเท่านั้น หากเป็นการนำเข้าด้วยวิธีอื่น ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเอง

12. การรถประกันกระจกแตก กรมธรรม์รับผิดชอบและต้องดำเนินการอย่างไร
กรมธรรม์ รับผิดชอบกระจกและฟิลม์ ตามประเภทและรุ่นที่ติดตั้งไว้ก่อนทำประกัน ทั้งนี้ต้องมีเอกสารรับรองที่ถูกต้อง โดยสามารถนำรถเข้าซ่อมหรือเปลี่ยนกระจกที่ร้านในเครือของบริษัทฯได้ตลอดเวลา โดยดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีเคลมแห้ง

13. กรมธรรม์ประเภท 1 สามารถทำสีรอบคันได้หรือไม่
กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่รับผิดชอบการเสื่อมสภาพจากการใช้งานดังนั้นกรณีที่ลูกค้าแจ้งซ่อมทำสีรอบ คัน ต้องตรวจสอบที่ความเสียหาย เป็นหลักว่าเกิดจากอุบัติเหตุหรือไม่ เชื่อถือได้หรือไป

แต่ หากจะเป็นการประนีประนอม ต้องตรวจสอบว่าทำประกันมากี่ปี เคยเกิดทำเคลมมากี่ครั้ง พร้อมตรวจสอบบาดแผลที่ตัวรถประกันว่าเกิดจากเหตุจริง หรือเป็นการแจ้งซ่อมที่ ต้องการปรับปรุงสีใหม่หรือไม่ ถ้าเป็นการทำประกันปีแรกแล้วแจ้งซ่อม จะมีการเรียกเก็บส่วนร่วมอย่างน้อย 50% ของค่าซ่อมทั้งหมด แต่ถ้าทำประกันต่อเนื่องกับทางบริษัทฯ มาหลายปีแล้ว โดยปกติจะเป็นการประนีประนอมในการร่วมรับผิดชอบความเสียหายระหว่างบริษัทฯ และผู้เอาประกัน ในส่วนที่ว่าจะประนีประนอมกันเท่าไหร่ จะขึ้นอยู่กับลักษณะ ความเสียหายและประวัติการเคลมของผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเป็นหลัก ซึ่งพนักงานราคาจะเป็นผู้แจ้งส่วนร่วมรับผิดชอบนี้ต่อผู้เอาประกัน โดยทำการพิจารณา จากปัจจัย แต่ละอย่างด้วยความเหมาะสมและยุติธรรม

14. กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองอุปกรณ์ตกแต่งหรือไม่ อย่างไร
คุ้มครองอุปกรณ์ตกแต่งตามมาตรฐานที่ติดมากับตัวรถเท่านั้น แต่หากมีการตกแต่งเพิ่มเติม ต้องเจ้งให้ บริษัทฯทราบ หากไม่ได้ทำการแจ้ง ทางบริษัทฯก็จะสามารถชดใช้ได้ไม่เกินตามมาตรฐานที่ติดมากับตัวรถเท่านั้น อย่างไรก็ตามฝ่ายรับประกันภัย จะกำหนดความคุ้มครองไว้ไม่เกิน 10% ของทุนประกัน และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

15. กรณีรถประกันมีความเสียหายก่อนทำประกันหรือแผลเก่า สามารถเคลมได้หรือไม่อย่างไร
แผลเก่าที่เกิดก่อนทำประกัน ในกรณีนี้ถ้าเป็นการแจ้งซ่อมหรือเคลมแห้ง ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุเคลมสดทางบริษัทฯไม่สามารถรับผิดชอบได้ เนื่องจากมีแผลก่อนทำประกัน
แต่ถ้าเกิดเหตุเป็นเคลมสดโดยซ้ำแผลเดิมและเสียหายมากกว่า ถ้าเสียหายไม่มากเห็นควรรับผิดชอบค่าซ่อมฝ่ายละ 50% แต่ถ้าความเสียหายชิ้นนั้นต้องเปลี่ยนอะไหล่
ทางบริษัทรับผิดชอบในส่วนของค่าอะไหล่ แต่ค่าทำสีทางผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเองหรือร่วมรับผิดชอบ 50% แล้วแต่ระดับความเสียหายของแต่ละกรณี

16. การเบิกเงินค่าซ่อม ต้องดำเนินการอย่างไร ระยะเวลาในการเบิกเป็นอย่างไร
โดยปกติการซ่อมกับอู่ในเครือของบริษัทฯ ทางอู่จะเป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด เนื่องจากอู่เป็นคู่สัญญากับบริษัทฯอยู่แล้ว แต่หากเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันได้สำรองจ่ายค่าใช้จ่าย บางอย่างไป หรือการเข้าซ่อมอู่นอกเครือ ทางผู้เอาประกันสามารถเบิกค่าซ่อมคืน โดยการนำรถประกัน เอกสารรายละเอียดการซ่อม การอนุมัติราคา พร้อมเอกสารประจำตัว มาติดต่อที่สาขาของบริษัทฯ และหากเป็นการมอบอำนาจอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการ ต้องนำรถประกันพร้อมเอกสารต่อไปนี้ ติดต่อที่สำนักงานหรือสาขาของบริษัทฯ

– สำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกัน
– สำเนาใบอนุญาตขับขี่ ผู้ขับขี่รถประกัน
– หนังสือมอบอำนาจ
– สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
– สำเนาทะเบียนรถ
– สำเนากรมธรรม์(กรณีเป็นรถคู่กรณี)
– ภาพถ่ายความเสียหาย
– ภาพถ่ายขณะซ่อม
– ภาพถ่ภาพถ่ายซากอะไหล่
– ภาพถ่ายซ่อมเสร็จ

โดยระยะเวลาในการเบิก ค่าใช้จ่ายคืนเป็น ดังนี้
– ค่าซ่อม จ่ายคืนอู่ จ่ายคืนภายใน 35 วัน
– ค่าใช้จ่ายต่างๆ จ่ายคืนผู้เอาประกันหรือชื่อบุคคล จ่ายคืนภายใน 15 วันทำการ

ทั้งนี้ในกรณีค่าซ่อม น้อยกว่า 5,000 บาท ทางผู้เอาประกันภัยหรือเจ้าของรถสามารถเบิกค่าซ่อมหรือค่าใช้จ่ายคืนเป็น เงินสดได้ โดยดำเนินการเช่นเดียวกับข้างต้น แต่ทั้งนี้ต้องเป็น การจ่ายคืน ผู้เอาประกันหรือเจ้าของรถเท่านั้น และหากเป็นกรณีการมอบอำนาจ ต้องระบุให้ชัดเจนในหนังสือมอบอำนาจว่าให้รับเป็นเงินสดได้

17. ค่ายกลากรถประกัน
กรณีรถประกันเสียหายมาก ต้องทำการยกลากเข้าอู่ซ่อม ค่าใช้จ่ายในการยกลาก หากผู้ขับขี่ได้สำรองจ่ายไปก่อน สามารถเบิกคืนจากบริษัทฯได้ แต่ทั้งนี้จะไม่เกิน 20% ของค่าซ่อม สาเหตุที่ต้องกำหนดว่าไม่เกิน 20% เพื่อให้เกิดความชัดเจน กรณีมีการยกลากโดยไม่จำเป็น

18. ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองหรือไม่ อย่างไร
กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองต่อค่ารักษาพยาบาลทั้งในส่วนของผู้บาดเจ็บใน รถประกันเองและบุคคลที่อยู่ภายนอกรถประกันด้วย กรณีรถประกันเป็นฝ่ายผิดในอุบัติเหตุครั้งนั้นๆ โดยคุ้มครองสูงสุดตามที่ระบุในกรมธรรม์ และทางผู้เสียหายใช้สิทธิ์ตามกฏหมายในการเรียกร้องค่าเสียหายอื่นๆเพิ่มเติม จากค่ารักษาพยาบาล ทางบริษัทฯจะจัดเจ้าหน้าที่ ตลอดจน ทนายความ เพื่อร่วมในการเจรจาค่าเสียหายและรับผิดชอบความเสียหายดังกล่าว ทั้งนี้ จะต้องเป็นค่าเสียหายที่สามารถพิสูจน์ได้และประเมินเป็นจำนวนเงินได้

19. การติดต่อเบิกค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ จะต้องดำเนินการอย่างไร
การเบิกค่ารักษาพยาบาล จะแยกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ จำนวน 50,000 บาทแรก จะคุ้มครองด้วยกรมธรรม์ภาค
บังคับหรือ พ.ร.บ. และส่วนเกินจากนี้ จะคุ้มครองด้วยกรมธรรมภาคสมัครใจ

เมื่อมีการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และมีกรมธรรม์ พ.ร.บ.คุ้มครองอยู่ ทางโรงพยาบาลจะเบิกค่ารักษาฯ เบื้องต้น จำนวน 15,000 บาท จากบริษัทที่รับประกัน พ.ร.บ. ฉบับนั้นๆโดยอัตโนมัติ โดยส่วนที่เกินจากนี้ ทางผู้บาดเจ็บต้องรับผิดชอบค่ารักษาฯ เอง แต่หากผลคดีชัดเจน ทางฝ่ายผิดของอุบัติเหตุนั้นๆจะรับผิดชอบต่อค่ารักษาฯนี้ ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองสูงสุดตามกรมธรรม์

กรณีที่ผู้เอาประกันหรือผู้บาดเจ็บได้ สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไป สามารถติดต่อเบิกคืน โดยแนบเอกสารดังนี้ไปนี้เพิ่มเติมจากกรณีเบิกค่าซ่อม ได้แก่ บันทึกประจำวัน และใบรับรองแพทย์

20. ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ หรือการนำรถเข้าซ่อมในอู่ สามารถเบิกได้หรือไม่ อย่างไร
กรมธรรม์รถยนต์ให้ความคุ้มครองมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อตัวรถประกัน การสูญหาย การถูกไฟไหม้ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และความคุ้มครองเพิ่มเติมตามเอกสาร แนบท้ายกรมธรรม์อีก แต่ไม่ได้คุ้มครองค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ อย่างไรก็ตามหากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุครั้งนั้นๆ สามารถใช้สิทธิ์ทางกฏหมายในการเรียกร้อง ค่าเสียหาย โดยตรงจากทางคู่กรณีได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นค่าเสียหายที่สามารถพิสูจน์ได้และประเมินเป็นจำนวนเงินได้

claim2-car






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow