ประกันภัยงานวิศวกรรม
ประกันภัยงานวิศวกรรม หมาย รวมถึง Contractors All Risks (CAR) / Erection All Risks (EAR) รองรับความเสี่ยงภัยแทน เจ้าของโครงการ / ผู้รับเหมา เมื่อโครงการก่อสร้างเกิดอุบัติเหตุ
สิ่งที่ประกันภัยงานวิศวกรรมรับประกันภัย
งานก่อสร้างต่างๆ ทุกอย่าง
อาคาร เช่น โรงแรม โรงพยาบาล พักอาศัย, สำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า, สนามกีฬา, โรงงาน
อื่นๆ เช่น ถนน, ทางรถไฟ, สนามบิน, อุโมงค์, สะพาน, อู่ต่อเรือ
ประกันภัยก่อสร้าง Contractors All Risks (CAR)
ให้ความคุ้มครอง 2 ส่วน
– ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
– ความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก
บางตำรา ประกันงานก่อสร้าง หรือ ที่เรียกว่า กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดของผู้รับเหมา (All Risk) แบ่งความคุ้มครองเป็น 3 ส่วน
1.ส่วนทรัพย์สิน ระหว่างก่อสร้าง
ตัวอาคาร, โครงสร้างต่างๆ รวมถึงสามารถขยายความคุ้มครองต่อตัวอาคาร หรือทรัพย์สินเดิมของผู้ว่าจ้างที่สร้างเสร็จแล้วที่อยู่ในโครงการ ซึ่งความคุ้มครองจะเป็นประเภทความเสี่ยงภัยทุกชนิดแต่จะระบุเป็นข้อยกเว้นต่างๆเช่น การเสื่อมสภาพของตัวทรัพย์สินเอง การหมดอายุ เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ สนิม การออกแบบ ผิดพลาด ความเสียหายจากฝีมือแรงงาน สงคราม การก่อการร้าย เป็นต้น
2. เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ของ ผู้รับเหมา
3. ความรับผิดตามกฏหมายของผู้รับเหมาต่อบุคคลภายนอก (public liability)
ที่ได้รับความเสียหายจากการก่อสร้าง ทั้งทรัพย์สินและสุขอนามัย ชีวิต
ความคุ้มครองมาตรฐาน ของ ประกันภัยงานวิศวกรรม
1. มูลค่างาน / มูลค่างานโครงการ / มูลค่าก่อสร้าง
รวมถึง วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง,อุปกรณ์, เครื่องมือเครื่องจักร,และความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม (Third party) ที่มีสาเหตุมาจาก
1.1 ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ, น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, ไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ระเบิด
1.2 ความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของคนงาน, การขาดความชำนาญ, การใช้วัสดุไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
2.คุ้มครองความรับผิดตามกฏหมายของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก (PL= public liability)
สำหรับการเสียชีวิตและบาดเจ็บต่อร่างกาย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดในการดำเนินงานของผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างผู้เอา ประกันภัย
ความคุ้มครองพิเศษประกันภัยงานวิศวกรรม ที่ซื้อเพิ่มได้
1. Extended Maintenance Clause
การขยายระยะเวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องของงานก่อสร้าง
2. Cross Liability Clause ข้อรับผิดระหว่างบุคคล
3. Debris Removal Clause
ข้อกำหนดเคลื่อนย้ายซากทรัพย์ – ข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่กำหนดให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้จ่ายค่ารื้อถอนและเคลื่อนย้ายซากทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากอัคคีภัยออกไปจากที่เดิม
Removal of Debris Clause ความหมาย คือ ความคุ้มครองค่าขนย้ายซากปรักหักพัง กรณีที่เกิดอุบัติเหตุต่องาน
4. 20% Expending Cost Clause etc. 20% ค่าใช้จ่ายข้อ ฯลฯ
etc
ข้อยกเว้นของ ประกันภัยงานวิศวกรรม
– การกระทำโดยเจตนาหรือ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
– ภัยสงคราม, ภัยนิวเคลียร์
– ความเสียหายสืบเนื่องทุกชนิด เช่น ค่าปรับ, ค่าเสียเวลา ค่าสูญเสียงานสัญญา, งานล่าช้า
– ความเสียหายเชิงกลหรือเชิงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง
– ค่าใช้จ่ายในการทำใหม่, ซ่อมแซม, ปรับปรุงแก้ไขสำหรับวัสดุที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา
– ความเสียหายจากการออกแบบผิดพลาด
ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องการ ในการทำข้อเสนอ ประกันภัยงานวิศวกรรม
นอกจากนี้แล้วข้อเสนออาจจำเป็นต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม แตกต่างกันไป เนื่องจากมีลักษณะงานที่แตกต่างกันไป รวมถึงความเสี่ยงซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกัน สำหรับ อัตราเบี้ยประกันภัย จะขึ้นอยู่กับการรับพิจารณาของฝ่ายรับประกันภัย ของบริษัทประกัน
1. ชื่อโครงการหรืองานที่รับเหมา
2. ชื่อผู้ว่าจ้าง
3. ชื่อผู้รับเหมาหรือผู้รับเหมาช่วงแต่ละราย
4. รายละเอียดของงานก่อสร้างโดยสังเขป
5. มูลค่าโครงการรวมและมูลค่าย่อยของแต่ละงาน
6. ระยะเวลาก่อสร้าง
7. ข้อกำหนดการคุ้มครองถ้าผู้รับเหมาต้องการ(ถ้ามี)
8. สำเนาสัญญาจ้างงาน(ถ้ามี)
9. กำหนดการก่อสร้าง
10. แผนผังสถานที่ก่อสร้าง
11. แปลนการก่อสร้าง รูป/ลักษณะอาคาร ที่จะก่อสร้างทุกด้าน
12.จำนวนเงินเอาประกันภัย ตามมูลค่าของสัญญา (ค่าวัสดุ,ค่าแรง,กำไร etc.)
เอกสารประกอบการทำประกันภัยการก่อสร้าง
– ภ.พ. 20
– สำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างฉบับเจ้าของโครงการ
– แผนที่แสดงสถานที่ก่อสร้าง
– แบบแปลนการก่อสร้างตามสัญญาว่าจ้าง
– ภาพถ่ายงานก่อสร้าง (กรณีงานเริ่มต้นก่อสร้างไปบางส่วน)
– อื่นๆ
ผู้รับเหมาสามารถโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกันภัยโดยจะรับผิดชอบเฉพาะความรับผิดส่วนแรก (Deductible) เท่านั้น และสามารถนำผู้รับเหมาย่อยทุกราย และ/หรือผู้ว่าจ้างรวมเป็นผู้เอาประกันภัยด้วยกันได้ (รวมกันทำประกันภัย)
กรมธรรม์ประกันภัย All Risks ออกแบบมาให้คุ้มครองทรัพย์สินต่างๆรวมถึงเครื่องจักรจากความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ หรืออุบัติเหตุที่เกิดจากปัจจัยภายนอก
ตัวอย่าง เครื่องจักร เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแรงดันไอน้ำ หม้อแปลงไฟฟ้า ปั๊มลม เครื่องมือ อุปกรณ์ ส่วนควบที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
กรณีเครื่องจักรหยุดชะงัก ที่เป็นสาเหตุจาก ตัวของมันเอง ถือเป็นข้อยกเว้นความคุ้มครอง
สาเหตุจากภายใน ของเครื่องจักรเช่น การใช้วัสดุที่มีคุณภาพต่ำไม่สมบูรณ์ หรือเกิดจากความประมาทเลินเล่อ การกลั่นแกล้ง การระเบิดในทางฟิสิกส์ การแยกจากกันด้วยกำลังเหวี่ยงจากศูนย์ถ่วงความเสียหายเนื่องจากอุปกรณ์ชำรุด การหมดอายุการรับประกันของผู้ผลิต การใช้งานผิดพลาด โดยมิได้ตั้งใจของผู้ปฏิบัติ ควบคุมเครื่อง การบกพร่องของระบบหล่อเลื่อน ระบบหล่อเย็น ไฟฟ้าลัดวงจร การเดินเครื่องเกินกำลัง การใช้งานผิดวิธี ขาดความระมัดระวัง
ข้อยกเว้น
การหยุดชะงักของเครื่องจักรที่มีผลจากภายใน เช่น ไฟลัดวงจร
การเสื่อมสภาพด้วยตัวเอง การเป็นสนิม ผุพัง กัดเชาะ
การจงใจกระทำให้เกิดความเสียหาย การประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
การออกแบบผิดพลาด
ความเสียหายเนื่องจากผิดสัญญา
ความเสียหายต่อเนื่องทางธุรกิจ
ความเสียหายที่อยู่ในระหว่างเครื่องจักรได้รับการรับประกันจากผู้ผลิต
สงคราม นิวเคลียร์ การแผ่รังสี
การชดใช้สินไหม ของ กรมธรรม์เครื่องจักรหยุดชะงัก
ความเสียหายบางส่วน (Partial Loss)
บริษัทประกันภัยอาจชดใช้เป็นค่าซ่อมชดเชยในราคาที่แท้จริงในราคาใหม่แทนเก่า (Replacement Value) หากความเสียหายไม่อาจซ่อมได้ต้องชดใช้ทั้งเครื่องจักรนั้นๆ
ความเสียหายทั้งหมด (Total Loss)
บริษัทประกันภัยจะใช้หลักการประเมินราคาโดยใช้ราคาที่แท้จริง (Actual Value) โดยคำนวณราคาหักค่าเสื่อม
ข้อยกเว้นหลักในกรมธรรม์
ไฟไหม้, ฟ้าผ่า, การระเบิด, โจรกรรม หรือลักทรัพย์ ,นิวเคลียร์ การแผ่รังสี
น้ำท่วม แผ่นดินไหว การเลื่อน เคลื่อนตัวของดิน การชนของยานพาหนะต่างๆ
การเสื่อมสภาพด้วยตัวเอง การเป็นสนิม ผุพัง กัดเชาะ
สงคราม การจลาจล นัดหยุดงาน ประท้วง
การจงใจกระทำให้เกิดความเสียหาย การประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ความเสียหายที่เกิดก่อนหรือหลังกรมธรรม์มีผลคุ้มครอง
ความเสียหายที่อยู่ในระหว่างเครื่องจักรได้รับการรับประกันจากผู้ผลิต