INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 2:40:40
Home » ความรู้รถยนต์ » น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ,กึ่งสังเคราะห์ ต่างกันอย่างไร\"you

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ,กึ่งสังเคราะห์ ต่างกันอย่างไร

2011/11/25 16894👁️‍🗨️

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ กับ กึ่งสังเคราะห์ ต่างกันอย่างไร

น้ำมันเครื่องธรรมดาเปลี่ยนที่ 10000 กม. หรือ 6 เดือน
กึ่งสังเคราะห์เปลี่ยนที่ 15000 กม. หรือ 8 เดือน
สังเคราะห์เปลี่ยนที่ 20000 กม. หรือ 1 ปี
รถใหม่ป้ายแดงใช้เบอร์  * W 30 เช่น mobil 1 5w-30
เครื่องหลวม ควันขาวแล้วค่อยเพิ่มเบอร์ W40,W50 ตามลำดับ

20W 50 10W 40 5W 30 5W 50 5W 40
ตัวหลังw คือการบอกถึงความหนืด และ ความข้นใส แต่ไม่ใช่เยอะๆก็ดีนะ ป่าวเลย ต้องดูอย่างพวกที่ ค่า “ไวคอสซิตี้” Vicosity (ความหนืด) มันมีการบอกเป็นนัยๆว่า น้ำมันตัวนี้ มีความหนืดสูง หรือต่ำ ถ้าเครื่องยนตยังใหม่กิ๊ง
การจะใช้น้ำมันที่มีค่าความหนืดสูงมากๆ ไม่เหมาะสมเท่าไร เพราะเครื่องยังฟิต ทำให้ระยะห่างหรือ Clearlance ยังน้อย ,โมเลกุลของน้ำมันเครื่องที่มีค่า ความหนืดสูง(เลขตัวหลัง) จะทำให้ไม่สามารถแทรกซึมได้เท่าที่ควร

คราวนี้ถ้าเครื่องมาใหม่ๆ ไปใส่น้ำมันหนืดๆแล้ว ซัด อาจทำให้ “งานเข้า” และ “เน่าใน” ได้ เพราะมันจะมีโอกาสที่จะเกิดริ้วรอยในเสื้อสูบก่อนวัยอันควร เพราะการหล่อลื่นยังไม่มากพอมันก็ฝืด แล้วพอเสียดสีมากๆมันก็ร้อนจนทำให้ทนมะไหวแล้ว ทำให้มีการขยายตัวของโลหะ และเกิดความร้อนสะสมมากขึ้นเรื่อยๆแล้วก็ “แอ๊ก แกร๊กๆๆๆ แคร่กๆ ปุก”   สูบติด ชัดเจนป่ะ!  ดังนั้น กับเครื่องที่ทำมาใหม่หรือรถใหม่กิ้บเก๋ ล่ะก็ ตัวเองเอาแค่ 30 หรือ 40 ก็ได้

ส่วนตัวหน้า คือความสามารถ ในการ คงสภาพในอุณหภูมิหนาวเย็นๆ
ง่ายๆคือมันยังไม่หนืดเป็นไข มันยังเป็นน้ำมันเหลวๆอยู่ ถ้ามันมีค่า ตัวหน้าที่ต่ำมากเท่าไรก็แปลว่ามันรับอุณหภูมิความเย็นได้ดีเท่านั้น ดังนั้น รถรุ่นเดียวกัน ดูแลเหมือนกัน คันนึงเติม 20W 50 อีกคันเติม 5W -10W/ 40 ถ้าสตราทเช้าๆอากาศเย็นเยือกล่ะก้อ พวกที่มีค่าความทนต่ออุณหภูมิหนาวได้ต่ำกว่า ก็จะไม่ค่อยมีควันออก หรืออกน้อยกว่า

engine-oil

engine-oil

ตัวอย่าง
เกียร์ออโต้ 2 หมื่นกิโลเมตร ประมาณ 1 ปี  แต่อย่าลืมให้ช่างเช็คซีลน้ำมันเกียร์ด้วย เพราะถ้าเสื่อมเมื่อไร น้ำมันจะเยิ้ม วิ่งไปแม็กเลอะไป แต่นั่นไม่เท่าวิ่งหน้าฝนแล้วลุยน้ำท่วม ถ้าซีลเกียร์ออโต้เสื่อมพอดี ก็จองคิวรื้อเกียร์ได้เลย ไปถ่ายออกจากห้องเกียร์

น้ำมันเครื่องที่ผลิตออกมาสู่ตลาดมีด้วยกันมากมายหลายบริษัท แต่ละบริษัทจะบ่งบอกประเภทของน้ำมันเครื่องไว้ ดังนี้

แบ่งตามประเภทความหนืด และ แบ่งตามคุณภาพ

แบ่งตามประเภทความหนืด จะมีอักษรคำว่า SAE ย่อมาจาก Society of Automotive Engineers แปลว่า สมาคมวิศวกรยานยนต์ ที่ภาชนะบรรจุจะประทับ คำว่า SAE หน้าดัชนีความหนืดของน้ำมัน ตามด้วยค่าดัชนีความหนืด ยกตัวอย่าง เช่น 10w-30 หรือ 15W-40 หรือ 20W-50 หมายถึง เป็นน้ำมันเครื่องแบบเกรดรวม เพราะความหนืดของน้ำมัน จะไม่เปลี่ยนแปลงมักนักตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จึงสามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

แบ่งตามคุณภาพ จะมีอักษรคำว่า API ย่อมาจาก AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE แปลว่า สถาบันปิโตรเลี่ยมของสหรัฐอเมริกา ที่ภาชนะบรรจุจะประทับคำว่า API และตามด้วย ตัวอักษร SA , SB ,SC , SD , SC , SH หรือ SJ อันนี้จะเป็นของเครื่องยนต์เบนซิน แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ดีเซล จะเป็น CA , CB , CC , CD , CE, หรือ CF

น้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์เบนซินจะขึ้นต้นด้วยตัว S และมีอักษรตามหลังยิ่งไกลจากตัว A มากเท่าไหร่ คุณภาพจะดียิ่งขึ้น

น้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ดีเซลก็เช่นกันจะขึ้นต้นด้วยตัว C และจะมีอักษรตามหลังยิ่งไกลจากตัว A มากเท่าไหร่ คุณภาพจะยิ่งดีขึ้น แต่ภาชนะที่บรรจุของน้ำมันเครื่องดีเซลตัวเลขหลังตัวอักษรด้วย เช่น CF-4 ตัวเลข 4 หมายถึง เครื่องยนต์ 4 จังหวะ

น้ำมันเครื่องที่ดี ควรจะมีประสิทธิภาพตรงตามมาตรฐานของ API และ SAE ดังนั้น การเลือกใช้น้ำมันเครื่องจะต้องใช้อย่างถูกชนิด ถูกประเภท ปัจจุบันได้มีการพัฒนาในเรื่องของน้ำมันเครื่องให้ดียิ่งขึ้น ทุกบริษัทต่างฝ่ายต่างคิดค้นและพัฒนาคุณภาพของน้ำมันเครื่อง

หน้าที่ของระบบหล่อลื่น

ก่อนจะรู้จักกับน้ำมัน เรามาทำความรู้จักกับระบบหล่อลื่นของเครื่องยนต์กันก่อนดีกว่า ระบบหล่อลื่นจะมีหน้าที่หลักๆ ก็คือ

1.ลดความเสียดทานระหว่างชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่
2.ระบายความร้อน
3.ผนึกแหวนลูกสูบและกระบอกสูบ
4.ทำความสะอาด

เมื่อ ต้องมีหน้าที่ทั้ง 4 ประการอย่างที่บอกมาแล้ว น้ำมันที่ได้มาจากการขุดเจาะตามแหล่งน้ำมันตาม ธรรมชาติแม้ว่าจะมีคุณสมบัติใน การหล่อลื่นอยู่แล้ว แต่เมื่อต้องนำมาใช้กับเครื่องยนต์ก็มีความจำเป็นต้องนำสารเพิ่มคุณภาพต่างๆ หรือสารเติมแต่งเข้าไป ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายอย่างแล้วแต่ความจะเป็นในการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น แต่ละประเภท สำหรับน้ำมันเครื่อง สารเติมแต่งที่เติมเข้าไปก็จะมี

– สารต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจน
– สารป้องกันสนิม
– สารต้านทานการกัดกร่อน
– สารชะล้างทำความสะอาด
– สารกระจายเขม่าตะกอน
– สารเพิ่มดัชนีความหนืด
– สารต้านทานการเกิดฟอง
– สารต้านทานการสึกหรอ
– สารลดแรงเสียดทาน

ส่วน น้ำมันหล่อลื่นประเภทอื่นอย่างเช่นน้ำมันเกียร์ หรือน้ำมันไฮดรอลิค ก็จะมีการเติมสารเพิ่มคุณภาพที่ต่างออกไปแล้วแต่ความจำเป็น การแยกประเภทน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องที่มีวางตามท้องตลาดขายกันหลายราคา ทั้งถูกทั้งแพงมีให้เลือก นั่นก็เพราะมีการแยก
ประเภทของน้ำมัน ออกตามคุณภาพของการใช้งาน ซึ่งจะแบ่งย่อยเป็นอีก 3 ประเภท

1.น้ำมันธรรมดา (Minaral Oil)
2.น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic)
3.น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% Full-Synthetic

ที่ เรียงให้ดูนี่ก็ตามลำดับราคาจากถูกไปหาแพงด้วยนะครับ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น นั่นก็เพราะว่าในน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ หรือฟูลลี่ซินเธติคนั้น การเรียงตัวของโมเลกุลในน้ำมันจะสม่ำเสมอราบเรียบกว่าน้ำมันเครื่องเกรด ธรรมดา ทำให้มีความได้เปรียบกว่าน้ำมันเครื่องเกรดธรรมดาหลายประการ คือ ใช้งานได้ยาวนาน , การหล่อลื่นดีกว่า , ดัชนีความหนืดสูง ใช้งานได้ดีทุกอุณหภูมิ , อัตราการระเหยต่ำ ไม่กินน้ำมันเครื่อง ด้วยคุณสมบัติที่เหนือกว่าเหล่านี้ทำให้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์มีราคาสูง กว่าน้ำมันเครื่องเกรดธรรมดาหลายเท่าตัว ส่วนน้ำมันเครื่องเกรดกึ่งสังเคราะห์ก็จะอยู่กึ่งกลางทั้งราคาและคุณภาพ ปกติเวลาที่โฆษณาขายน้ำมันเครื่องแต่ละตัวนั้น ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์หรือสังเคราะห์ 100% ส่วนมากจะเน้นคำโตเชียวแหละครับ

การใช้งานและอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่อง

ถ้ามีรถอยู่สองคัน รถ A กับรถ B รถ A ใช้งานต่างจังหวัดเป็นหลัก วิ่งทีไกลๆ ไม่ค่อยจอด กับรถ B ใช้งานในเมือง
ขี่ ไม่ไกลแต่ติดไฟแดงมันทุกวัน เดี๋ยววิ่งเดี๋ยวจอด ถามว่ารถคันไหนใช้งานหนัก คุณจะเลือกคันไหนครับคำตอบคือรถ B ครับ การใช้งานเครื่องยนต์โดยมีความแตกต่างของการใช้กำลัง จากเครื่องยนต์บ่อยๆ อย่างการขับขี่ในเมืองที่ต้องเร่งแล้วมาเบรกไฟแดง แล้วก็ต้องมาเร่งอีกครั้งเพื่อไปชะลอที่เนินหลังเต่า เร่งอีกทีเพื่อมาจอดไฟแดงเดินเบาอีกสี่ห้านาที ไอ้อย่างนี้แหละครับเครื่องยนต์จะต้องรับงานหนักกว่าพวกที่ออกรถทีเดียวแล้ว บิดคันเร่งยาวๆ รวดเดียวถึงที่เสียอีก ดังนั้นนอกจากจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะที่กำหนด แล้วก็จะต้องนำเรื่องของความหนักหนา มาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันด้วย อีกอย่างที่มีผลต่อระยะทางในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องต่อครั้งคือเกรดของ น้ำมันเครื่องที่เราเลือกใช้ อย่างน้ำมันเกรดธรรมดาอาจจะใช้งานได้ 4000 กม. แต่ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ก็อาจจะถึง 6000 กม. ยิ่ง เป็นเกรดสังเคราะห์ 100% อาจจะใช้งานได้นานกว่าน้ำมันเกรดธรรมดาถึงเท่าตัว คือ 8000 กม. คุ้มค่ากับราคาที่แพงกว่าหรือเปล่าก็แล้วแต่จะคิด

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% มีคุณภาพคุ้มกับราคาหรือไม่?
ขออธิบายจุดเด่น ของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์กันก่อนนะครับ คือ

ข้อดีประการแรกของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% คือ การมีความหนืดต่ำที่อุณหภูมิต่ำ จึงมีผลทำให้น้ำมันเครื่องไหลไปหล่อลื่นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ขณะเย็นจัด เช่น ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส (ซึ่งสภาวะเช่นนี้มีเฉพาะบนเขาสูง ในหน้าหนาวเพียงไม่กี่วันเท่านั้นในประเทศไทย)

ข้อดีประการที่ 2 คือ ทนต่อความร้อนสูงที่หัวลูกสูบส่วนบน และผนังกระบอกสูบได้ดี จึงมีอัตราการระเหยเป็นไอน้อยกว่าน้ำมันเครื่อง “ธรรมดา” อัตราการสิ้นเปลือง น้ำมันเครื่องจึงน้อยกว่า

ข้อดีประการที่ 3 คือ การมีค่าดัชนีความหนืดสูง โดยไม่ต้องใส่สารปรับดัชนีความหนืดในปริมาณมากเท่าน้ำมันเครื่องธรรมดา ว่ากันแบบง่าย ๆ ก็คือ สารปรับดัชนีความหนืด เป็นตัวช่วยไม่ให้น้ำมันเครื่องใส หรือข้นน้อยเกินไปเมื่อถูกความร้อน แต่สารนี้จะเสื่อมสภาพเมื่อถูกความร้อนสูง และแรงเฉือนในเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่อง “ธรรมดา” จึงรักษาความข้น หรือความหนืดขณะร้อนจัดได้ไม่ดีเท่าตอนที่น้ำมันเครื่องยังใหม่ ๆ อยู่ ส่วนน้ำมันเครื่องสังเคราะห์นั้น มีโมเลกุลขนาดใกล้เคียงกันคงเส้นคงวาตลอด ไม่ค่อยมีความ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จึงไม่ต้องการสารปรับดัชนีความหนืดมาก เหมือนน้ำมันเครื่องธรรมดา อายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงสูงกว่ามาก “ว่ากันอย่างไม่ต้องอ้างอะไรให้ยุ่งยาก อย่างน้อยก็ 2 เท่าของน้ำมันเครื่องธรรมดาครับ”

แต่ถ้าเปรียบเทียบราคาน้ำมัน เครื่องสังเคราะห์ กับราคาน้ำมันเครื่องธรรมดาระดับน้ำมันเครื่องสูงสุด น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ จะมีราคาสูงกว่า 2-3 เท่า ทำให้ไม่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มที่นักว่าคุ้มกว่าการใช้น้ำมันเครื่อง ธรรมดาหรือไม่ นอกเสียจากข้อมูลดังต่อไปนี้ที่คนทั่วไปนำมาเป็นหลักคิดครับ

ผู้ ที่ต้องการดูแลเครื่องยนต์เป็นพิเศษ , ผู้ที่ต้องการถนอมให้เครื่องยนต์สึกหรอน้อยที่สุด และต้องการให้รถของเรามีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ซึ่งปัจจัยนี้เป็นปัจจัยหลัก ที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเลย

ผู้ที่ชอบของแพง ถ้าอยู่ในฐานะที่สามารถซื้อหาได้ โดยไม่ได้ทำให้ใครต้องเดือนร้อน
ผู้ที่ใช้รถประมาณวันละ 100 กม.ขึ้นไป ไม่ว่าจะใช้ในเมืองหรือขับทางไกลก็ตาม โดยสามารถยึดระยะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องจากที่กำหนดไว้ได้อีก 5,000 ถึง 10,000 กม. เพื่อชดเชยราคาที่สูงกว่า โดยไม่ต้องกังวลว่าน้ำมันเครื่องจะเสื่อมสภาพหรือไม่ จึงทำให้หมดห่วงไปได้ในเรื่องของน้ำมันเครื่อง การใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพต่ำแต่เปลี่ยนบ่อยดีกว่าหรือไม่?

ฟันธงได้เลยว่า “เป็นวิธีที่ไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง” เพราะน้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำนั้น จะทำให้เครื่องยนต์สึกหรอตั้งแต่แรกที่เติมแล้วครับ เปลี่ยนไปใช้น้ำมันเครื่องที่สูงกว่า ราคาอาจสูงกว่าแต่เรื่องคุณภาพจะดีกว่ามาก ๆ ครับ จะได้ประหยัดเงินในส่วนของค่าใช้จ่าย ในการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ไปได้อีกเยอะครับ แต่มีข้อสำคัญนิดนะว่า อย่าแน่ใจจากรูปแบบการบรรจุ และข้อความด้านข้างเท่านั้น เพราะตอนนี้มีน้ำมันของปลอมออกมาขายกันเยอะครับ โดยไม่มีใครตั้งใจจะปราบปรามอย่างจริงจัง ทำให้ผู้บริโภคโดนเอาเปรียบอยู่เสมอมา และไม่สามารถไปเรียกร้องกับใครได้ ให้เราคิดเสียว่าของดี ราคาถูก ไม่มีในโลก ถึงจะแพงแต่คับด้วยคุณภาพ อย่างนี้น่าคบกว่าเยอะ

การเลือกซื้อน้ำมันเครื่อง
ก่อนอื่นเลยก็ต้องเลือกที่ “ยี่ห้อ”และตัวแทนที่มีมาตรฐาน แล้วจึงค่อยเลือกระดับความหนืด และคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เช่น น้ำมันเครื่องโดยทั่ว ๆ ไปจะมีค่าดังต่อไปนี้ครับ 10W-40 , 15W-40 , 15W-50 , 20W-50 ส่วนค่าตัวเลขในชุดหลังนั้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 40 (ความหนืด) นะครับ ยกเว้นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ถ้าใช้รถในที่หนาวเย็นบ่อยควรเลือกเบอร์แรก ๆ ไว้ก่อนครับ เช่น 10W-40 หรือ 15W-40 จะดีที่สุด

แล้วน้อง Jazz เราจะใช้แบบไหนดี?
เครื่องยนต์ใหม่ สามารถใช้น้ำมันเครื่องความหนืด SAE 30,SAE 40 ใสหน่อยได้ เพราะชิ้นส่วนยังไม่มีช่องว่างห่างมากนัก ไม่กินน้ำมันเครื่องมาก ผมขอแนะนำให้ใช้ SAE 40 ครับ เหตุผลเนื่องจาก SAE 40 มีความหนืดน้อยกว่ากว่า จึงสามารถไหลได้ดีกว่า และช่วยประหยัดเชื้อเพลิงกว่า SAE 50 ซึ่งจะหน่วงข้อเหวี่ยงมากกว่า

ส่วน เครื่องยนต์เก่า ควรใช้ความหนืด SAE 50 หรือ หากเลือกใช้เองเป็นความหนืด SAE 40 ให้ดูด้วยว่ามีการ”กินน้ำมันเครื่องมากผิดปกติไหม” (ไม่ควรเกิน 2,000-3,000 กิโลเมตรต่อน้ำมันเครื่อง 0.5-1 ลิตร) และมีควันสีขาวอมฟ้าจากการเผาไหม้น้ำมันเครื่องที่เล็ดลอดเข้าห้องเผาไหม้ ผสมออกมากับไอเสียหรือไม่ ถ้าผิดปกติให้เปลี่ยนไปใช้ความหนืด SAE 50

สำหรับ น้ำมันเครื่องเกรดรวมที่เหมาะใช้ในบ้านเรา ให้ดูที่เลขตัวหลังครับ เพราะเลขตัวหน้าความหนืดวัดที่ -18 องศาเซลเซียส ส่วนเลขตัวหลังวัดความหนืดที่ 100 องศาเซลเซียส จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิในบ้านเราไม่เคยติดลบถึง -18 องศาเซลเซียส ผมไม่ให้ความสำคัญกับเลขตัวหน้าครับ อุณหภูมิร้อนที่สุดในบ้านเราอยู่ที่ จ.ตาก 43.76 องศาเซลเซียส คงที่อยู่ 2-3 ชั่วโมง เมื่อ 29 มี.ค. 47 แต่อุณหภูมิร้อนเฉลี่ยในวันนั้น 39 องศาเซลเซียส ผมคิดว่าใช้ SAE 40 เหมาะสมแล้วครับ เช่น 0W40, 5W40,10W40

ตัวอย่าง
ส่วนน้ำมันเครื่องเลือก Mobil 1 ตัว Top, Full-Synthetic ราคา 4 ลิตร 2,600 บาท (ซื้อตามเว็บไซต์น่าจะไม่ถึง 2 พัน) ใส้กรองน้ำมันเครื่อง K&N ตัวละ 660 บาท ใช้ของดีๆหน่อย 10,000 กิโลเมตรเปลี่ยนอีกที สำหรับรถที่ขับน้อย 10,000 กิโลเมตร ก็ประมาณอีก 1 ปี

ตัว Mobile 1 เกรด API SM ซึ่งน่าจะเป็นเกรดที่สูงที่สุดในตลาดตอนนี้ครับ ส่วน 0W40 ก็ถือว่าเหมาะกับรถใหม่ ไม่ข้นจนเกินไป

mobil-0w40-api-sm

mobil-0w40-api-sm

โมบิล 1 0W-40 น้ำมันเครื่องสูตรสังเคราะห์สมรรถนะก้าวล้ำยุค ช่วยรักษาเครื่องยนต์ให้สะอาดอย่างยอดเยี่ยม, ปกป้องการสึกหรอและสมรรถนะทั่วไป อย่างอื่น น้ำมัน โมบิล 1 0W-40 สูตร สำหรับรถยนต์ในยุโรป (EU) และสูตรสำหรับการปกป้อง (NA) ที่เหนือกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรมและผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ สำหรับยานยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้ น้ำมันเบนซินและดีเซล เทคโนโลยีของโมบิล 1 0W-40 จึงได้รับการรับรองจากสนามแข่ง และเป็นทางเลือกของสนามแข่ง NASCAR โมบิล 1 0W-40 ใช้ได้กับยานพาหนะทุกประเภทในโลกได้อย่างดีเยี่ยมและมีสมรรถนะสำรองในการปก ป้องในขณะที่น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา ไม่สามารถตอบสนองได้ น้ำมันชนิดนี้จึงเป็นทางเลือกอันดับแรกของโรงงาน ผลิตรถยนต์สมรรถนะสูงระดับโลก เช่น Mercedes-Benz AMG, Porsche และ Aston Martin

ส่วนกรองน้ำมันเครื่องใช้ของ K&N (ที่ดังเรื่องกรองอากาศ)  ใช้ได้ถึง 25,000 กิโลเมตร ตัว Body อย่างหนา กันหินกระเด็นมาโดนแล้วรั่ว

oil-filter

oil-filter

ตัวอย่างอื่นๆ

PTT Performa Super Synthetic 0W-30 , API SN with Resource Conserving , ILSAC GF-5
Viscosity
@40C cSt  53.7  (cal)
@100C cSt  10.3
@120C cSt  7.1  (ASTM D341)
Viscosity Index  185

Mobil1 0W-40 , API SM  (thai version)
Viscosity
@40C cSt  78.3
@100C cSt  14.0
@120C cSt  9.5  (ASTM D341)
Viscosity Index  186

ดูที่ค่า Viscosity Index ตัวนี้ยิ่งมากยิ่งดี บ่งบอกในเรื่องของการคงสถานะของน้ำมันเครื่อง
จากข้อมูล แล้วไม่ได้ด้อยไปกว่า Mobile 1 นะครับ และ PTT API SN ผ่าน ILSAC-GF5 เรื่องของการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ที่สำคัญราคา 1300 แถมมือถือ Samsung





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow