การต่อภาษีรถยนต์ทางอินเตอร์เน็ต
การต่อภาษีรถยนต์ทางอินเตอร์เน็ต
กรมการขนส่งทางบก เพิ่มความสะดวกให้แก่เจ้าของรถที่ไม่เข้าข่ายต้องตรวจตรอ. สามารถชำระภาษีรถ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่กำหนดระยะเวลา และให้บริการครอบคลุมถึงรถที่ค้างภาษี ไม่เกิน 3 ปีด้วย เพื่อให้การบริการด้วยอินเทอร์เน็ต สามารถบริการประชาชนได้อย่างสะดวก และครอบคลุมจำนวนรถมากยิ่งขึ้น
เดิมกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้รถที่ไม่อยู่ในข่าย ต้องตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. (รถเก๋ง รถตู้ รถปิคอัพ อายุการใช้งาน ไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล อายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ที่ไม่ค้างชำระภาษี) สามารถใช้บริการชำระภาษีรถผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยดำเนินการได้ล่วงหน้า 3 เดือน แต่ต้องก่อนวันสิ้นอายุภาษีรถ ไม่น้อยกว่า 15 วัน ทำให้มีเจ้าของรถหลายรายที่อายุภาษีรถ เหลือไม่ถึง 15 วัน หรือบางรายที่รถสิ้นอายุภาษีแล้ว ไม่สามารถใช้บริการผ่านช่องทางนี้ได้
กรมการขนส่งทางบก จึงได้อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของรถ โดยเปิดโอกาสให้เจ้าของรถ ดังกล่าวข้างต้น สามารถยื่นขอชำระภาษีรถทางอินเทอร์เน็ตได้ล่วงหน้า 3 เดือน ก่อนวันสิ้นอายุภาษี ไปจนถึงวันที่รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 3 ปี โดยเริ่มตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สำหรับรถที่ค้างชำระภาษีเกินกว่า3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับโดยผลของกฎหมาย ซึ่งนอกจากจะไม่สามารถใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว เจ้าของรถยังจะต้องมาชำระภาษีที่ค้าง พร้อมเงินเพิ่ม (ค่าปรับ) กับกรมการขนส่งทางบก หากประสงค์นำรถมาใช้งานอีก จะต้อง นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเพื่อขอจดทะเบียนรถใหม่ โดยจะต้องชำระค่าธรรมเนียมและ ภาษีรถประจำปีใหม่ด้วย
ทั้งนี้ เจ้าของรถที่สนใจใช้บริการชำระภาษีรถทางอินเทอร์เน็ต สามารถ สมัครใช้บริการได้ทางเว็บไซต์ www.dlte-serv.in.th [!] หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0 -2272 – 5498 ในวันเวลาราชการ
ผ่อนรถคันอยู่กับบริษัทไฟแนนซ์อ สามารถต่อภาษีได้ด้วยตนเองได้
หลักฐานสำคัญที่ต้องนำไปแสดง ใช้แค่สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์ + หางพรบ.
ติดต่อได้ที่กรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ รอไฟแนนซ์ต่อให้เสียค่าต่อ
https://www.dlte-serv.in.th/dltWeb/ [!]
การรับชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบธนาคาร อิเล็กทรอนิกส์(e-Banking)
การรับชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
1. วิธีการ
– เข้าเว็บไซค์ www.dlte-serv.in.th [!] หรือ www.dlt.go.th [!]
– ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน
– กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ
– กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ศ.2535 (กรณียังไม่มีสามารถเลือกซื้อบนเว็บไซด์จากบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการได้)
– กรอกหลักฐานหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบฯ กรณีเป็นรถใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG)
– เลือกวิธีชำระเงิน ได้แก่
* หักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ)
* ชำระด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (ต้องเป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , MASTER)
* พิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
– กรมการขนส่งทางบก จะส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และ กรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์
– ท่านเจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปบันทึกได้ ณ หน่วยงานทะเบียน กรมการขนส่งทางบก ทั่วประเทศ
2. รถที่จะใช้บริการ
– รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
– รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี
– รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี
– เป็นรถจดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้
– รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 3 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน
3. ค่าบริการ
– ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 40 บาท
– ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
– ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) ร้อยละ 2 รวม Vat 7% ของค่าธรรมเนียม
4. ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
– บริการหักบัญชีออนไลน์ ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ยูโอบี
– บริการชำระด้วยบัตรเครดิตออนไลน์ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา
– บริการรับชำระตามใบแจ้งชำระภาษีรถ
* ที่เคาน์เตอร์ธนาคารบริการ ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.กรุงเทพ , ธ.นครหลวงไทย , ธ.ก.ส ,ธ.ไทยธนาคาร , ธ.กรุงศรีอยุธยา , ธ.ทหารไทย , บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส
* ชำระที่ตู้ ATM ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.นครหลวงไทย , ธ.กรุงเทพ , ธ.ทหารไทย และ ธ.ไทยธนาคาร
– บริการรับชำระทางโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ ทรู มันนี่ เซอร์วิส
กรมการขนส่งทางบก เตรียมเปิดให้ประชาชนชำระภาษีรถทางอินเทอร์เน็ต พิมพ์ใบแจ้งหนี้ชำระผ่าน “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” 19 มีนาคมนี้ โดยเริ่มจากรถที่ไม่ต้องตรวจสภาพกับตรอ.ก่อน ซึ่งเจ้าของรถใช้บริการได้ที่ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น และจุดบริการภายในห้างสรรพสินค้า รวมกว่า 6,500 แห่ง ทั่วประเทศ
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่กรมการขนส่งทางบก ได้เปิดให้บริการรับชำระภาษีรถทางระบบอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ใบแจ้งหนี้ชำระ ผ่านธนาคารนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้สะดวกยิ่งขึ้น ประชาชนที่ชำระภาษีรถผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สามารถพิมพ์ใบแจ้งหนี้ชำระผ่านจุดบริการ “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” ในร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น และห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีอยู่กว่า 6,500 แห่ง ทั่วประเทศ โดยจะมีพิธีลงนามความร่วมมือ ระหว่าง กรมการขนส่งทางบก กับ บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด และเปิดโครงการเพื่อให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ) ในวันที่ 19 มีนาคมนี้ ณ กรมการขนส่งทางบก จตุจักร
สำหรับบริการรับชำระภาษีรถผ่านจุดบริการ “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” จะช่วยให้เจ้าของรถไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาชำระภาษีรถยังหน่วยงานของกรมการ ขนส่งทางบก และสามารถใช้บริการได้แม้ในวันหยุดราชการหรือหลังเวลาเลิกงาน เพียงเข้าไปพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถผ่านระบบอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ www.dlte-serv.in.th [!] จากนั้นนำไปชำระยังจุดบริการ “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” ในร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ซึ่งมีอยู่ จำนวน 4, 880 สาขา ทั่วประเทศ อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,488 สาขา และในต่างจังหวัดอีก 2,392 สาขา นอกจากนี้ ยังมีจุดให้บริการภายในห้างสรรพสินค้า หรือแหล่งชุมชนต่างๆ เช่น ห้างเซ็นทรัล เดอะมอลล์ บิ๊กซี คาร์ฟูร์ หรือ ร้านจิฟฟี่ ภายในปั๊มน้ำมัน ปตท. รวมอีก 1,700 แห่ง ทั่วประเทศ
ทั้งนี้เจ้าของรถที่ไม่มี พ.ร.บ. หรือความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เดิม ไม่ครอบคลุมถึงวันสิ้นอายุภาษีรถสามารถซื้อ พ.ร.บ. จากระบบได้ด้วย โดยในระยะแรก จะเปิดให้บริการเฉพาะรถที่ไม่อยู่ในข่ายต้องตรวจสภาพกับ ตรอ. ได้แก่ รถเก๋ง รถปิกอัพ รถตู้ ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ อายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ใช้บริการได้ล่วงหน้า 3 เดือน ก่อนวันสิ้นอายุภาษี จนถึงสิ้นอายุภาษีแล้วไม่เกิน 3 ปี ซึ่งหลังจากได้รับค่าภาษีรถเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะจัดส่งเครื่องหมายการเสียภาษี (ป้ายวงกลม) และกรมธรรม์ พ.ร.บ. ให้แก่เจ้าของรถทางไปรษณีย์ลงทะเบียน