ประกันภัย ธรณีพิบัติ
ประกันภัย ธรณีพิบัติ
แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น
แก่ผู้ประสบภัยจากรถกรณีอุบัติภัยร้ายแรงจากแผ่นดินไหว
อุบัติภัยร้ายแรงจากแผ่นดินไหวใน 6 จังหวัดภาคใต้
ในส่วนของผู้ประสบภัยทุกคนที่อยู่ในรถยนต์ จะได้รับความคุ้มครองสำหรับความบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น
กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย จะได้รับ ค่ารักษาพยาบาลตามความเสียหายอันแท้จริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
กรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าปลงศพเป็นจำนวน 35,000 บาท
เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ ผู้ประสบภัยจากรถอันเนื่องจากอุบัติภัยในครั้งนี้
ขอให้เจ้าหน้าที่ของกรมการประกันภัยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัย ในทุกๆด้าน ทั้งการแนะนำเรื่องการเตรียมหลักฐานในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น การพิจารณาจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตลอดจนการประสานงานกับบริษัทที่รับประกัน ภัย โดยถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการรับเรื่อง
1.1 ในกรณีที่มีผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยมาติดต่อ ขอให้สอบถามรายละเอียดเบื้องต้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเป็นผู้ประสบ ภัยจากรถ ขอให้รับเรื่องไว้และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมเอกสารหลักฐานที่จะขอรับ ค่าเสียหายเบื้องต้นค่ารักษาพยาบาลหรือค่าปลงศพต่อไป
1.2 ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เป็นผู้ประสบภัยจากรถอันเนื่องจากอุบัติภัยครั้งนี้หรือไม่ ให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ต่างๆด้วย โดยอาจอาศัยข้อมูลจากโรงพยาบาล ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย หรือหน่วยงานต่างๆ ประกอบกันเพื่อประกอบการพิจารณา
2. ขั้นตอนการเตรียมหลักฐาน
2.1 กรณีผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ
(1) หลักฐานแสดงตน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หลักฐานแสดงตัว กรณีผู้ประสบภัยไม่มีเอกสารดังกล่าว และไม่ปรากฏชื่อผู้ประสบภัยในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เป็นเหตุให้หน่วยงานทางทะเบียนไม่สามารถออกเอกสารได้ ให้เจ้าหน้าที่ แสวงหาและใช้หลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็น ผู้ประสบภัย เป็นเอกสารทดแทน
(2) หลักฐานแสดงว่าประสบภัยจากรถ ได้แก่ สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน ให้แนะนำให้ ผู้ร้องไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน เพื่อขอลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานในการร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น โดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัย และรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ที่ประสบภัย ตลอดจนวันเวลา สถานที่เกิดเหตุ (ทั้งนี้ สำนักงานประกันภัยจังหวัด ควรมีหนังสือขอความร่วมมือไปยังพนักงานสอบสวน ให้ระบุประเด็นที่ชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประสบภัยในการดำเนินการแจ้งความต่อไป)
(3) หลักฐานแสดงความเสียหาย ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล หากเป็นความเสียหายต่อร่างกายของผู้ประสบภัยในช่วงวัน เวลา ที่เกิดอุบัติภัยครั้งนี้ให้สันนิษฐานว่าค่ารักษาพยาบาลทุกรายการตามจำนวน ที่ระบุในหลักฐาน เป็นค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลอันแท้จริงของผู้ประสบภัยจากรถ ในการพิจารณาว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากรถ ให้พิจารณาประกอบเอกสารหลักฐานอื่นๆ ด้วย
2.2 กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต
(1) หลักฐานแสดงตน ให้ใช้ตามข้อ 2.1 (1)
(2) หลักฐานที่แสดงว่าประสบภัยจากรถ ให้ใช้ตามข้อ 2.1 (2)
(3) หลักฐานแสดงความเสียหาย ได้แก่ สำเนามรณบัตร กรณีผู้ประสบภัยไม่ปรากฏชื่อในฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์ เป็นเหตุให้ทางราชการไม่สามารถออกมรณบัตรให้ได้ ให้กองทุนฯ พิจารณาจากหลักฐานของทางราชการที่มีการออกให้ในลักษณะเดียวกับมรณบัตร
(4) หลักฐานที่แสดงการเป็นทายาทโดยธรรม ได้แก่ บัตรแสดงตน สำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร ทะเบียนสมรส เป็นต้น
ในกรณีที่หลักฐานดังกล่าวสูญหาย ให้ใช้หลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ทดแทนได้ และหากเป็นกรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้มิได้อยู่ในฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์ เช่น ชาวต่างชาติ ให้กองทุนฯ แนะนำพร้อมประสานสถานทูตประเทศของชาวต่างชาติซึ่งเป็นผู้ประสบภัยนั้น ให้ออกหลักฐานรับรองเพื่อใช้ประกอบการขอรับเงิน
2.3 กรณีผู้ประสบภัยสูญหาย
ในการพิจารณาอันจะถือได้ว่าผู้ประสบภัยสูญหายโดยยังไม่พบศพ ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ไม่สามารถพบศพได้ ภายในวันที่ 1 เมษายน 2548
(2)มีรายชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของทางราชการว่าเป็นบุคคลสูญหายจากภัยภิบัติครั้งนี้
(3)มีพยานหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดแสดงว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในสถานที่เกิด ภัยพิบัติหรือบริเวณใกล้เคียง ดังนี้
3.1 พยานบุคคลยืนยัน
3.2 พยานเอกสารยืนยัน เช่น หลักฐานการเข้าพักโรงแรม หลักฐานการเดินทาง หลักฐานการใช้โทรศัพท์มือถือ
3.3 พยานวัตถุยืนยัน เช่น รถ โทรศัพท์ เป็นต้น
(4) มีสำเนาบันทึกแจ้งความคนสูญหายต่อพนักงานตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครอง