ยางรถยนต์ ควรเปลี่ยนเมื่อไร?
อายุการใช้งานของยางรถยนต์ จริงๆ แล้วควรเปลี่ยนเมื่อไร? เท่าที่ทราบ จากการบอกต่อๆ จนเชื่อกันทั่วไปว่ายางรถยนต์ใช้ได้ 2 หรือ 3 ปี หรือ 4-5 หมื่นกิโลเมตร หรือ 2 ปี ยางรถยนต์หมดอายุ เร็วขนาดนั้นจริงหรือ?
เรื่องอายุการใช้งานของยางรถยนต์ ตัวเลขที่ได้ฟังบ่อยๆ ที่แนะนำกันผิดๆ ต่อเนื่องกันในวงกว้าง คือ ยางจะใช้ได้แค่ 2 ปีหรือ 4 หมื่นกม.เท่านั้น ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าทิ้งยางเร็วเกินไป อายุการใช้งานของยางรถยนต์กับคนไทย หลายคนเปลี่ยนทิ้งเร็วเกินไป ด้วยเหตุผลที่อ้างขึ้นมาว่า ยางรถยนต์เปรียบเสมือนรองเท้าของคน ต้องหมุนตลอดเวลาที่รถแล่น หลายคนจึงกลัวว่ายางเก่าจะระเบิดและเกิดอุบัติเหตุ
บางคนตั้งประโยคขึ้นมาว่า ยางรถยนต์เส้นละไม่กี่พันบาทเปลี่ยนเพื่อรักษาชีวิตไว้ดีกว่า อย่าไปเสียดายแนวคิดหรือประโยคเหล่านั้น ก็มีส่วนจริง แต่ถ้าทิ้งยางเร็วไป ก็เสียเงินเร็วโดยใช่เหตุ ยางรถยนต์เราควรจะเลือกใช้ยางที่มีคุณภาพเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของเราและเปลี่ยนเมื่อหมดอายุจริงๆ หลายสิบเปอร์เซนต์ของผู้ใช้รถในเมืองไทยที่เปลี่ยนยางเร็วกว่ากำหนดโดยมาจากการแนะนำที่ผิดๆ ต่อเนื่องกันมา ทั้งจากร้านยางที่อยากขายยางเร็วกว่ากำหนด และความกลัวของผู้ใช้รถเอง รวมถึงสื่อต่างๆ ที่แนะนำต่อเนื่องกันมาจนกลายเป็นตัวเลขลอยๆ ว่ายางรถยนต์ใช้งานได้แค่ 2 ปี หรือ 4 หมื่นกิโลเมตร
แต่เมื่อสอบถามไปยังบริษัทยางและเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับยางต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ กลับบอกว่ายางรถยนต์สามารถใช้งานได้จนดอกยางสึกเหลือความลึกของร่องดอกยางประมาณ 1.6 มิลลิเมตร (ประมาณก้านไม้ขีดแนวนอน) โดยไม่มีการบอกระยะทาง หรือปีที่หมดอายุตายตัวว่าใช้ได้กี่ปี
เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วมีปรากฏเอกสารของบางบริษัทยางรายใหญ่ พิมพ์ออกมาบอกว่ายางเรเดียลที่ใช้กันอยู่ในยุคนั้น มีอายุการใช้งาน 6-8 หมื่นกิโลเมตร นั่น 10 ปีที่แล้วนะ! แล้วตอนนี้มาเชื่อกันผิดๆ ลดเหลือ 4 หมื่นกม. ได้ยังไง !?
สรุป ยางรถยนต์สามารถใช้งานได้นานกว่าที่เชื่อกัน ตีคร่าวๆ ว่า ถ้าดอกยังไม่หมด ยางยังไม่แตกร้าว ก็ใช้ต่อไปได้เรื่อยๆ และมีโอกาสที่จะใช้ได้เกิน 5 หมื่นกิโลเมตร หรือ 3 ปี หลังจากแถวๆ 5 หมื่นกม. หรือ 3 ปี ถ้าจะใช้งานต่อโดยที่ดอกยังเหลือ หรือร่องยางยังไม่ตื้นกว่า 1.6 มิลลิเมตร ก็สามารถใช้งานต่อได้ โดยให้ดูสภาพโดยรวมของยางบ่อยๆ ว่าแตกลายงา ร้าว ปริหรือไม่ แข็งกระด้างจนรับไม่ได้หรือไม่ , 40,000 กิโลเมตรหรือ 2 ปี ไม่ใช่ตัวเลขจากบริษัทยาง
บริษัทยางบอกว่ายางรถยนต์ทนทานกว่านั้นมาก (ทั้งๆ ที่เขาน่าจะอยากขายยางใหม่มาก ) ,ในแง่ผู้บริโภค จึงไม่ควรเปลี่ยนยางรถยนต์เร็วกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเสียดายทรัพยากรของประเทศโดยรวมที่จะต้องเสียไปกับส่วนนี้ และยางรถยนต์เก่าถือเป็นมลพิษอย่างหนึ่งของโลก ถ้าไม่ถูกรีไซเคิล หรือนำไปใช้งานด้านอื่นที่เหมาะสม สรุปว่ายางรถยนต์สามารถใช้ได้จนดอกเหลือเตี้ย 1.6 มิลลิเมตร โดยไม่มีกำหนดระยะทางหรือระยะเวลาตายตัว แต่ในช่วงหลังจากเกิน 3 ปี หรือ 5 หมื่นกม. ให้ดูสภาพและความแข็งของยางประกอบกันด้วยว่า สมควรใช้ต่อจนดอกเกือบหมดหรือไม่
ยางที่ดีที่สุดในทุกด้าน ยางรถยนต์ที่ดีที่สุดในแต่ละประเภทและดีทุกด้าน ไม่มี, ผู้ผลิตยางและผู้บริโภคล้วนฝันถึงยางดีเลิศเช่นนั้นเสมอ ยางรถยนต์มีคุณสมบัติมากมายที่ใครๆ ก็อยากให้ได้ดี เช่น เกาะถนนแห้ง เกาะถนนเปียก เสียงเงียบ นุ่มนวล ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน มีตั้ง 6-7 ข้อที่คาดหวังกัน
บริษัทยางอยากผลิตยางทุกรุ่นให้มีทุกคุณสมบัติเด่นครบๆ แต่ไม่สำเร็จ ได้อย่างเสีย 2 อย่าง ได้ 2 อย่าง เสีย 3 อย่าง เป็นธรรมดา อาจจะเกาะถนนเรียบดี แต่การรีดน้ำเกาะถนนเปียกไม่ค่อยดีนักแต่ก็พอรับได้ เสียงดังแต่นิ่ม หรือนิ่มแต่สึกหรอเร็ว อายุการใช้งานสั้น ดอกหมดเร็ว ยางรถยนต์ที่ดีที่สุดในแต่ละประเภทไม่มี, บริษัทยางฝันจะทำให้มี ผู้ซื้อฝันจะให้มี แต่ไม่มีเกิดขึ้น พิสูจน์ได้จากยางประเภทเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน ก็ยังมีหลายรุ่นให้เลือก
ยางแต่ละรุ่นก็มีคุณสมบัติย่อยแตกต่างกันออกไป เด่นด้อยแตกต่างกันออกไป ยางรถเก๋งในขนาดเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน แต่ต่างรุ่น รุ่นหนึ่งเหมาะสำหรับขับเรื่อยๆ เน้นเงียบ ราคาไม่แพง ส่วนอีกรุ่นหนึ่งขนาดเดียวกัน แต่ลวดลาย โครงสร้างแตกต่างกัน เน้นการเกาะแห้งที่ดี การรีดน้ำที่ดี แต่อาจมีเสียงรบกวนขณะใช้งานมากหน่อย หรือสึกหรอเร็วหน่อย เพราะดอกยางนิ่ม ดอกยางเป็นแท่งใหญ่ ไม่มียางที่ดีที่สุดในแต่ละประเภทในทุกๆ ด้าน ต้องทำใจว่าคุณจะเลือกยางให้เด่นด้านไหน ให้ตรงใจคุณ ตรงลักษณะการใช้งานของคุณ
วิธีการอ่านข้อมูลที่แก้มยางรถยนต์
ที่แก้มของยางรถยนต์จะบอกขนาดของยาง, ผู้ผลิต, รุ่น, อัตราสูงสุดของการเติมลม, ความสามารถในการรับน้ำหนัก, ความเร็วสูงสุดที่สามารถรับ(วิ่ง)ได้, วันที่ผลิต(สัปดาห์/ ปี ค.ศ.), และข้อความเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆ
ตัวอย่างเช่น P185/75 R14 82S DOT 0500
P หมายถึง ถูกออกแบบให้ใช้กับรถยนต์นั่ง (passenger car)
185 หมายถึง หน้ากว้างของยาง (section width) ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร
75 หมายถึง ความกว้างของแก้มยาง มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบสัดส่วนกับหน้ากว้างของยาง
R หมายถึง เป็นยางเรเดียล ซึ่งยางเกือบทั้งหมดเป็นยางเรเดียลอยู่แล้ว ในบางโอกาสอาจจะเห็นอักษรตัวอื่น ซึ่งมีอยู่น้อยมาก เช่น D หรือ B ซึ่งแสดงถึงว่าเป็นยางแบบ bias ply tire (ห้ามใช้ยางแบบเรเดียล และ bias ply tire) ผสมกัน
14 หมายถึง เส้นผ่าศูนย์กลางของกะทะล้อ มีหน่วยวัดเป็นนิ้ว
82 หมายถึง ดรรชนีน้ำหนักบรรทุก (load index) ซึ่งกำหนด โดยผู้ผลิตยาง (Rubber ManufacturersAssociation)
S หมายถึง ความสามารถในการทำความเร็วสูงสุด (Tire’s maximum speed rating)
Q ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 160 กม./ชม. (99 mph)
S ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 180 กม./ชม. (112 mph)
T ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 190 กม./ชม. (118 mph)
H ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 200 กม./ชม. (124 mph)
V ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 240 กม./ชม. (149 mph)
Z ความเร็วสูงสุดมากกว่า 240 กม./ชม. (149 mph)
(ข้อ ควรระวัง อย่าเลือกใช้ยางที่ความสามารถในการทำความเร็วต่ำกว่าที่รถรุ่นนั้นๆกำหนด และอย่าใช้ยางที่ความสามารถในการทำความเร็วต่างกันใช้ร่วมในรถคันเดียวกัน)
0500 หมายถึง วันที่ผลิต
ตัวเลขหลังตัวอักษร DOT เป็นเลข 3-4 หลัก จะบอกถึงวันที่ผลิต
ตัวเลข 2 ตัวแรก 05 บอกถึงสัปดาห์ที่ทำการผลิตในที่นี้คือ สัปดาห์ที่ 5 ของปี
ตัวเลข 2 ตัวหลัง 00 บอกถึงปีที่ผลิต ในที่นี้คือปี ค.ศ. 2000
อายุการใช้งานยางรถยนต์
ยางรถยนต์ กับ อายุการใช้งาน มีแต่การบอกเล่าต่อๆ กันมา ใช้ได้ไม่เกิน 40,000 Km บ้าง ไม่เกิน 1 ปี บ้าง
ความเป็นจริง ไม่มีบริษัทผลิตยางรถยนต์กำหนดอายุการใช้งานยางรถยนต์แบบตายตัว มันขึ้นอยู่กับสภาพที่นำเอาไปใช้งาน ข้อมูลเกี่ยวกับยางรถยนต์ ทั้งในและต่างประเทศ บอกว่า..ยางรถยนต์สามารถใช้งานได้จน…ดอกยางสึกเหลือความลึกของร่องดอกยางประมาณ 1.6 มิลลิเมตร (1.6 มิลลิเมตร ประมาณก้านไม้ขีดแนวนอน) โดยไม่มีการกำหนดระยะทาง หรือระยะเวลาที่หมดอายุตายตัว ว่าใช้ได้กี่ปี ได้กี่กิโลเมตร
ยางรถยนต์แต่ละเส้น จะมี “สะพานยาง” (Tread Wear Indicators) คือ ปุ่มยางสูงประมาณ 1.6 มิลลิเมตรอยู่ในร่องดอกยางบนหน้ายางรถยนต์ ให้สังเกตุดูที่รอบๆ แก้มยางรถยนต์จะมีเครื่องหมายรูปสามเหลี่ยม ชี้จุด สะพานยาง บนหน้ายางรถยนต์ ถ้าดอกยางอยู่ในระดับเดียวกับสะพานยาง ควรเปลี่ยนยางรถยนต์ได้แล้ว
จะรู้ได้อย่างไรว่า…ยางรถยนต์เราหมดสภาพการใช้งาน
1.ประเมินด้วยสายตา
-ดู”สะพานยาง”(Tread Wear Indicators) ความลึกของร่องดอกยางไม่ควรต่ำกว่า 1.6 มิลลิเมตร
-ดูโครงสร้างยางรถยนต์ว่าผิดรูปหรือไม่? ยางบวม ยางบิด ยางเบี้ยว หรือเปล่า?
(หมายเหตุ>>>ยางรถยนต์บางยี่ห้อ ใช้ไปหลายหมื่นKm ดอกยางสึกน้อยมาก ต้องดู Tread wear ประกอบด้วย)
2.ประเมินด้วยความรู้สึก
2.1 เสียง เวลาที่เรานั่งอยู่ในรถยนต์ขณะเคลื่อนที่ เสียงหน้ายางบดกับถนนเริ่มดังรบกวนผิดปกติ
2.2 ความนุ่มนวล การโยน การให้ตัวของรถยนต์ ขณะเข้าทางโค้ง หรือขึ้นสะพาน เริ่มไม่นุ่มนวลเหมือนเดิม อาการเหินน้ำ ดูสภาพเนื้อยาง
ยางรถยนต์ ควรตรวจสอบความดันลมอย่างสม่ำเสมอ
อายุยางรถยนต์ส่วนมากจะอยู่ได้ 6 ปี นับจากวันที่ผลิต หรือใช้จนยางถึง mark ที่ทางผู้ผลิตกำหนดมา แล้วแต่ว่าอย่างไหนถึงก่อนกัน แต่จะเปลี่ยนก่อน ก็ไม่มีปัญหาเพราะยางรถยนต์ใช้ๆ ไป ก็จะแข็งกระด้างขึ้นเรื่อยๆ
แม้การเก็บยางอย่างถูกวิธีจะชะลอการหมดอายุลงได้ และไม่หมดอายุเร็วเท่ากับการใช้งานบนถนนจริง แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยางเก่าเก็บ ซึ่งผู้ผลิตหลายรายบอกว่า 2-3 ปีก็ยังใช้ได้ แต่ในแง่ของผู้บริโภคแล้ว ยิ่งใหม่เท่าไรก็ยิ่งดี
ถ้าเป็นยางนำเข้าหรือยางผลิตในประเทศ ที่มีทั้งการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก จะมีตัวเลข 3-4 หลักอยู่ในวงรี บอกสัปดาห์และเลขตัวท้ายๆ ของปี ค.ศ. ที่ผลิตยางเส้นนั้นไว้แบบลบไม่ได้ เพราะ เป็นเนื้อยางที่อยู่บนแก้มยาง หล่อออกมาจากแม่พิมพ์เลย และเป็นมาตรฐานเดียวกันที่ใช้ทั่วโลก ตัวเลขนั้นอยู่ในวงรีแนวโค้งเดียวกับแก้มยาง อาจอยู่ใกล้กับตัวอักษร DOT และอาจมีเพียงข้างเดียวในยาง 1 เส้น ยางรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี 2000 จะเป็นเลข 3 หลัก เช่น 449 หรือ 328 โดยเลข 2 ตัว แรกบอกสัปดาห์ที่ผลิต และตัวเลขท้ายสุด คือ ตัวเลขสุดท้ายของปี ค.ศ. ที่ผลิต เช่น 127 ก็เป็นยางที่ผลิตสัปดาห์ที่ 12 ของปี 1997
พอมาถึงปี 2000 และตั้งแต่ปัจจุบันนี้เป็นต้นไป มีการเปลี่ยนมาเป็นเลข 4 หลัก เพื่อป้องกันความสับสนกับยางที่ผลิตก่อนปี 2000 และค้างสต็อกอยู่ ตัวอย่าง 1300, 3500, 4100 เลข 2 ตัวแรกบอกสัปดาห์ที่ผลิต และ 2 ตัวท้าย คือ เลข 2 ตัวสุดท้ายของปี ค.ศ. ที่ผลิต เช่น 3600 เป็นยางที่ผลิตสัปดาห์ที่ 36 ของปี 2000 ส่วนยางบางยี่ห้อที่ผลิตจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย เช่น บริดจสโตนบางรุ่น ในเนื้อยางบริเวณแก้มก็มีรหัสระบุถึงวันที่ผลิต แต่ไม่เหมือนกับข้างต้น เพราะเป็นรหัสเฉพาะ เช่น L0Y3A ต้องเปิดตารางเทียบ ซึ่งผู้ผลิตไม่เปิดเผย
ในเมื่อผู้ซื้ออ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็เลยมีการทดแทนด้วยการปั๊มหมึกสีอ่อนไว้บนแก้มยาง เป็นรูปวงกลมขนาดเล็กแบ่งครึ่งบนล่าง ครึ่งบนบอกเดือน และปี พ.ศ. เช่น 11 43 ส่วนครึ่งล่างไม่ต้องสนใจ เพราะเป็นตัวเลขรหัสประจำตัวของผู้ตรวจยางเส้นนั้น บางร้านพอยางเก่าเก็บ ก็จะลบหมึกวงกลมนี้ออก เพื่อไม่ให้ทราบวันผลิตจริง ถ้าเจออย่างนั้น ควรหลีกเลี่ยง
ถ้าเป็นยางนำเข้า หากยังไม่แกะออกจากห่อ ที่ตัวห่อหรือสติกเกอร์ที่ติดไว้ อาจมีรายละเอียดวันที่ผลิตระบุไว้ด้วย ถ้าหาที่แก้มยางไม่เจอ ให้ลองหาที่ตัวห่อก็อาจเจอดอกยางไม่ได้มีไว้เกาะถนนแต่มีไว้รีดน้ำ
ยังมีความเข้าใจผิดและพูดกันผิดๆ ต่อเนื่องกันในวงกว้าง ว่าดอกยางหรือยางที่มีร่องๆ เป็นลวดลาย มีไว้ให้ยางเกาะถนน หรือถ้ายางดอกหมดแล้วจะลื่น ซึ่งตามหลักการจริงนั้น ผิด !
ตามความหมายของคนทั่วไป ยางที่ยังมีร่องอยู่บนหน้ายาง หมายถึง ยางมีดอก แต่ถ้าหน้ายางเรียบ ไม่มีร่องบนหน้ายาง ทั้งจากการสึกหรอหรือยางสำหรับรถแข่งทางเรียบ หมายถึง ยางดอกหมด ยางหัวโล้นยางโล้น หรือยางไม่มีดอก
จริงๆ แล้วตัวแท่งๆ บนหน้ายาง เรียกว่า ‘ดอกยาง’ ส่วนช่องว่างระหว่างดอกเรียกว่า ‘ร่องยาง’ ประเด็นสำคัญที่บอกว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คือ การคิดว่ายางโล้น ยางไม่มีดอก ไม่เกาะถนน เพราะการยึดเกาะของยางกับถนนเกิดจากหน้ายางที่กดแนบลงกับพื้น ยิ่งมีหน้าสัมผัสมาก ก็ยิ่งเกาะมากขึ้น ร่องยางซึ่งแทรกอยู่ระหว่างดอกยาง ก็มีแค่อากาศ ไม่ได้มีเนื้อยางกดลงบนพื้นแต่อย่างไร
ดังนั้นถ้าหน้ายางมีความกว้างเท่ากัน ยางไม่มีดอก ไม่มีร่อง หรือยางหัวโล้น ย่อมมีพื้นที่สัมผัสถนนมากกว่ายางที่มีร่องระหว่างดอกยาง แล้วทำไมยางรถยนต์ทั่วไป จึงมีดอกหรือมีร่อง ทั้งที่ผลิตยากกว่าแบบเรียบ และต้องเสียหน้าสัมผัสกับพื้นถนนตรงช่วงที่เป็นร่องไป ?
เพราะยางหน้าเรียบเกาะถนนดีบนถนนเรียบแห้งเท่านั้น แต่ถ้าถนนเปียกจะลื่นมาก เพราะหน้ายางที่แบน กว้าง จะไม่สามารถกดรีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นตามปกติได้ น้ำเลยกลายเป็นชั้นฟิล์มคั่นอยู่ระหว่างยางกับผิวถนน ก็เลยลื่นหรือมีอาการเหิรน้ำ หน้ายางที่กว้างประมาณสิบเซ็นติเมตรขึ้นไป เมื่อกดลงบนพื้นถนนที่เปียกน้ำ ย่อมไม่สามารถรีดน้ำออกจากหน้าสัมผัสได้ เสมือนเอาฝ่ามือที่นิ้วมือชิดกัน กดแรงๆ ลงบนพื้นที่เปียกน้ำ
การแบ่งหน้าสัมผัสออกเป็นบล็อกเป็นดอกด้วยร่องยาง ทำให้การกดรีดน้ำออกจากหน้ายางทำได้ดีขึ้น เพราะเท่ากับเป็นการรีดน้ำออกจากพื้นที่ย่อยๆ ที่แคบลง และมีร่องลึกอยู่รายรอบ เพื่อให้น้ำที่ถูกรีดแทรกตัวเข้าไปได้ และถ้าร่องต่อกันก็จะช่วยให้สลัดน้ำออกด้านข้างได้ดีขึ้นไปอีก เปรียบเทียบได้กับการกางนิ้วมือออก แล้วกดมือลงบนพื้นเปียกนั่นเอง ดอกหรือร่องยางจึงลดอาการลื่นของยาง เมื่อต้องขับรถยนต์ลุยฝนหรือบนถนนลื่น โดยต้องยอมเสียหน้าสัมผัสพื้นถนนบางส่วนให้เป็นร่องยางแทน
ดังนั้นการบอกลอยๆ ว่า ยางดอกหมด ยางหัวโล้น แล้วจะลื่นนั้น ผิดเพราะที่ถูกต้อง น่าจะบอกว่า ยางดอกหมด ยางหัวโล้น จะลื่นบนถนนเปียก ส่วนบนถนนแห้งสนิทนั้นเกาะถนนดีกว่ายางมีดอก (ทั้งยางรถแข่งและรถยนต์ทั่วไป) แล้วทำไมเมื่อดอกหมดแล้วต้องรีบเปลี่ยนยางชุดใหม่ ทั้งที่ไม่ใช่หน้าฝน ? เพราะรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ผู้ขับคงไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะเจอถนนเปียกเมื่อไร ขับไปแล้วอาจเจอโดยไม่ได้ตั้งตัว เพราะไม่มีทีท่าว่าฝนจะตก หรือพื้นถนนเปียกจากน้ำรดต้นไม้ ถ้ายางไม่มีร่อง หรือมีแต่ไม่ลึกพอให้น้ำเข้าไปแทรกอยู่ได้ ก็จะลื่นไถลได้ง่ายมาก ส่วนรถแข่งทางเรียบนั้น ถ้าฝนตกหรือผิวสนามลื่น ก็มักรู้ตัวก่อนและค่อยๆ ประคองรถเข้าพิต เพื่อเปลี่ยนเป็นยางมีดอก แล้วออกไปแข่งต่อ
ปัจจุบันมีผู้ผลิตยางบางราย เริ่มผลิตยางรุ่นที่เน้นสำหรับการขับหรือแข่งบนทางเรียบแบบสมัครเล่น โดยออกแบบให้มีหน้าสัมผัสกับถนนมากๆ เป็นหลัก คือ มีร่อง แต่น้อยและแคบ และอยู่ห่างกันมาก เพื่อให้สามารถขับบนถนนเปียกได้บ้าง ไม่ถึงกับลื่นไถล แต่ก็ไม่สามารถรีดน้ำได้ดีเท่ากับยางทั่วไปที่มีร่องรีดน้ำมากกว่า
เมื่อไหร่ดอกยางจะหมด
เมื่อดอกยางจุดที่เตี้ยที่สุด มีร่องลึกน้อยกว่า 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งตัวเลข 1.5-2 มิลลิเมตรนี้ รวบรวมมาจากคำแนะนำของผู้ผลิตยางหลายยี่ห้อ จึงไม่สามารถสรุปเป็นตัวเลขตายตัวได้เป๊ะๆ ในความเป็นจริง ก็ไม่ค่อยมีใครหยิบไม้บรรทัดมาวัดหรือหาอะไรมาแหย่เพื่อวัดความลึกของร่องยาง เพราะไม่สะดวก และจริงๆ แล้วก็ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการวัด ดังนั้นส่วนใหญ่จึงดูด้วยสายตา และ ประเมินเอาว่าดอกยางหมดหรือยัง
ในขั้นตอนการออกแบบและผลิต ผู้ผลิตยางได้อำนวยความสะดวกในการดูว่ายางดอกหมด หรือร่องตื้นเกินกว่าที่จะใช้งานบนถนนได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดโดยในร่องยางบางจุดจะนูนขึ้นจากปกติประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร แต่มิได้นูนขึ้นมาจนเท่ากับหน้ายางตอนที่ยังใหม่ๆ สมมุติตอนใหม่ๆ ร่องลึก 8 มิลลิเมตรเท่ากันตลอด ก็จะมีในบางจุดที่ร่องลึกแค่ 6-6.5 มิลลิเมตรเสมือนมีเนินเตี้ยๆ อยู่ก้นหลุม ซึ่งเมื่อดอกยางสึกมากเข้า ก็จะเรียบเท่ากับยอดเนินเตี้ยๆ ที่ก้นหลุมนั้น เป็นการบอกว่าดอกยางเตี้ยเกินไป หรือร่องโดยรวมตื้นเกินไปแล้ว หรือดูง่ายๆ
สำหรับดอกยางที่มีลวดลายของร่องเป็นแนวตรงโดยรอบ ปกติแล้วร่องจะต่อกันตลอดแนว แต่พอดอกยางสึกลงไปจนบางส่วนเท่ากับเนินนั้น จนทำให้ร่องยางไม่ต่อกัน แสดงว่ายางเหลือร่องรีดน้ำเตี้ยเกินไปแล้วการหาว่าจุดไหนของร่องยาง มีเนินเตี้ยๆ อยู่กันหลุมหรือที่ฐานของร่อง ไม่ต้องเดาหรือเสียเวลานาน เพราะมีจุดสังเกตได้จากขอบของแก้มยางบริเวณใกล้ๆ กับขอบริมของหน้ายาง จะมีตัวอักษร TWI หรือ สัญลักษณ์รูป 3 เหลี่ยมขนาดเล็ก ชี้เข้าหาหน้ายาง
โดยปกติแล้วจะมี 6 จุดในแก้มยางแต่ละด้าน แบ่งห่างเท่าๆ กัน ในมุม 60 องศาของวงกลม แต่ในยางบางยี่ห้ออาจห่างไม่เท่ากัน หรือไม่ได้มี 6 จุด แต่ก็มีหลายจุดในแต่ละด้าน ยางในบางยี่ห้ออย่างมิชลิน ก็ใช้สัญลักษณ์ตัวบีเบนดั้มขนาดเล็ก เป็นจุดสังเกตแทนรูป 3 เหลี่ยม สัญลักษณ์เหล่านี้ ไม่ได้มีไว้บอกการสึก หรือดูว่าเมื่อไรสัญลักษณ์นี้ลบแล้วแสดงว่ายางสึกแต่อย่างไร เพราะอยู่บริเวณแก้มยางซึ่งไม่สัมผัสพื้นจึงไม่สึก (แต่ถ้าเข้าโค้งแรงๆ จนขอบของแก้มยางเอนแนบลงกับพื้นถนน สัญลักษณ์ก็อาจสึกได้) เมื่อเจอสัญลักษณ์ข้างต้นที่ริมนอกของแก้มยางแล้ว ก็ให้มองในแนวเดียวกันไล่ขึ้นไปที่หน้ายาง และมองลึกลงไปที่ร่องยาง ก็จะพบกับเนินเตี้ยๆ ที่ร่องยาง เมื่อไรที่ดอกสึกไปถึงยอดเนินนั้น แสดงว่าดอกหมดหรือร่องตื้นและไม่ควรใช้ต่อ (ไม่ใช่ต้องสึกจนหมดเนินหรือหมดร่อง)
สาเหตุที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้จนเหลือแค่ร่องตื้นๆ ไม่ใช่หมดร่อง ทั้งที่ดูแล้วร่องนั้นน่าจะยังพอช่วยในการรีดน้ำได้
เพราะจริงๆ แล้ว ร่องตื้นๆ นั้น มีช่องว่างให้น้ำที่ถูกรีดไล่ออกจากหน้ายางแทรกตัวอยู่ได้น้อยมาก ส่งผลให้หน้ายางไม่สามารถรีดน้ำได้อย่างต่อเนื่อง
เรื่องความสูงของเนินขนาดเล็กในร่องยาง ว่าแต่ละยี่ห้อสูงเท่าไร ? พบว่าในแต่ละยี่ห้ออาจไม่เท่ากันแต่อยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกัน คือ 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งผู้ใช้ก็ไม่ต้องดิ้นรนหาตัวเลขนั้นว่าเป็นเท่าไร เอาเป็นว่าผู้ผลิตได้ทดสอบหาความเหมาะสมมาแล้วว่า ยางรุ่นนั้น ควรเหลือดอกยางสูงไม่ต่ำกว่าเท่าไร แล้วยังใช้งานได้ดี และออกแบบทำเนินให้สูงตามนั้น ผู้ใช้ก็แค่ใช้จนดอกสึกลงไปเท่ากับยอดเนินก็ควรเปลี่ยนยางชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ยางรถยนต์ก็สามารถหมดอายุได้แม้ดอกยังไม่หมด เช่น ยางเก่าเก็บ รถยนต์ใช้งานไม่มาก จอดมากกว่าขับ ทำให้หน้ายางไม่ค่อยสึก แต่ยางก็หมดอายุได้ จากการหมดสภาพทั้งของโครงสร้างภายใน และความแข็งของเนื้อยาง เพราะโดยพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท จะแข็งตัวขึ้นเรื่อยๆ ตามความร้อนและเวลาที่ผ่านไป เนื้อยางที่แข็ง ย่อมมีแรงเสียดทานน้อยลงหรือลื่นขึ้นนั่นเอง
โดยเฉลี่ยแล้ว แม้ดอกยางยังไม่หมด ก็ไม่ควรใช้งานเกิน 3 ปี ถ้าจะใช้เกิน ควรพิจารณาความแข็งการแตกลายงา หรือการแตกปริของเนื้อยางอย่างละเอียด
ถ้าช่างที่อู่เปลี่ยนยางเปอร์เซ็นต์ให้ท่าน แล้วยืนยันกับท่าน ว่าใช้ได้อีก forever อย่าไปเชื่อ
“ยางเปอร์เซ็นก็คือยางเปอร์เซ็นต์” ขึ้นอยู่กับกี่เปอร์เซ็นต์ที่เหลือให้ท่านได้ขับอย่างปลอดภัยเท่านั้น ตังค์ไม่กีพัน….. จ่ายไปเต๊อะอออ