INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 12:09:28
Home » ไอเอ็นจีประกันชีวิต » สัญญาเพิ่มเติม โรคร้ายแรงซีไอรายปี (CIYRT) – ING\"you

สัญญาเพิ่มเติม โรคร้ายแรงซีไอรายปี (CIYRT) – ING

2010/12/22 1540👁️‍🗨️

สัญญาเพิ่มเติม โรคร้ายแรงซีไอรายปี (CIYRT) – ING ไอเอ็นจีประกันชีวิต
บริษัทจ่ายเงินผลประโยชน์ 100 % ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยแบบซีไอรายปีตามที่กำหนด ให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์แล้วแต่กรณี เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ใน 41 โรคตามด้านล่าง หรือ
2. เสียชีวิต หรือ
3. ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร

การจ่ายผลประโยชน์ของแบบซีไอรายปีให้แก่ผู้เอาประกันภัย เนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือการทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร เป็นการจ่ายผลประโยชน์จากสัญญาเพิ่มเติมซีไอรายปี และสัญญาเพิ่มเติมแบบซีไอรายปีก็สิ้นผลบังคับทันทีเมื่อจ่ายผลประโยชน์ไปแล้ว ทั้งนี้ไม่มีการลดจำนวนเงินเอาประกันภัยของแบบการประกันภัยหลัก

กรณีผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วย ด้วยโรคร้ายแรง หรือการทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร และเสียชีวิตลงในระหว่างการรอผลการวินิจฉัยจากแพทย์หรือระหว่างรอการพิสูจน์ อาการ บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมแบบซีไอรายปีให้แก่ผู้ รับประโยชน์ ในขณะเดียวกัน ผลประโยชน์กรณีการเสียชีวิตของแบบการประกันภัยหลัก ก็จ่ายให้ผู้รับประโยชน์เต็มจำนวนเช่นกัน

การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง 41 โรค
ผู้เอาประกันภัยต้องได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงดังต่อไปนี้ ตามคำนิยามที่ระบุในสัญญาเพิ่มเติมแบบเอซีไอรายปี และแบบซีไอรายปี เท่านั้น
1. มะเร็ง (Cancer)
2. โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดในสมอง (Stroke)
3. หัวใจวาย (Heart Attack)
4. เส้นเลือดหัวใจอุดตันที่ต้องทำการผ่าตัด (Coronary Artery Disease Requiring Surgery)
5. การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ (Heart Valve Surgery – Repair)
6. การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Heart Valve Surgery –Replacement)
7. การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ (Surgery to the Aorta)
8. การผ่าตัดผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ (Severe Aortic Dissection Requiring Surgery)
9. ภาวะสมองอักเสบ (Encephalitis)
10. เนื้องอกของสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign Brain Tumour)
11. การอักเสบติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมองเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Meningitis)
12. โรคความเสื่อมของระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Motor Neurone Disease)
13. ภาวะการสลายตัวเพิ่มขึ้นของเซลล์ประสาท (Amyotrophic Leteral Sclerosis)
14. การอัมพาตของสมองส่วนที่ต่อกับไขสันหลัง (Progressive Bulbar Palsy)
15. การฝ่อของเซลล์ประสาทในไขสันหลัง (Progressive Spinal Muscular Atrophy)
16. ภาวะหูหนวก (Deafness)
17. ภาวะสูญเสียความสามารถในการพูด (Loss of Speech)
18. แผลไฟไหม้พุพองเป็นบริเวณกว้าง (Major Burns)
19. การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญ (Major Organ Transplant)
20. การเจ็บป่วยระยะสุดท้าย (Terminal Illness)
21. ภาวะไตวาย (Renal / Kidney Failure)
22. ภาวะอัมพาต (Paralysis)
23. ภาวะโคม่า หรือสมองตาย (Coma)
24. ภาวะตับวายระยะสุดท้าย หรือเรื้อรัง (Chronic / End-Stage Liver Disease)
25. โรคปอดเรื้อรังระยะสุดท้าย (Chronic / End Stage Lung Disease)
26. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease)
27. โรคกล้ามเนื้อฝ่อ (Muscular Dystrophy)
28. โรคไขกระดูกฝ่อ (Aplastic Anaemia)
29. โรคการแข็งตัวของเนื้อเยื่อโดยทั่วไป (Multiple Sclerosis)
30. โรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
31. โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
32. ภาวะตับวายเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ (Fulminant Viral Hepatitis)
33. ภาวะที่สมองได้รับอุบัติเหตุรุนแรง (Major Head Trauma)
34. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
35. โรคความดันของเส้นเลือดในปอดสูง (Pulmonary Arterial Hypertension)
36. โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์อย่างรุนแรง (Severe Rheumatoid Arthritis)
37. โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองและโรคไตอักเสบเนื่องจากโรคนี้ (Systemic Lupus Erythematosus with Lupus Nephritis)
38. การผ่าตัดสมอง / เส้นเลือดโป่งพองในสมอง (Brain Surgery / Cerebral Aneurysm)
39. ภาวะสมองตาย / ไม่รู้สึกตัวและไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (Apallic Syndrome / Vegetative State )
40. โรคหัวใจโต และกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (Cardiomyopathy)
41. การสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันแบบไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น (Loss of Independent Existence)

คำนิยาม การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง
เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง หมายถึง การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงซึ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรกจากแพทย์ซึ่ง เป็นที่ยอมรับของบริษัท ทั้งนี้การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ต้องปรากฎอาการเป็นครั้งแรกภายหลังจากพ้นกำหนด 90 วัน นับจากวันที่สัญญาเริ่มมีผลบังคับ (“ วันที่สัญญาเริ่มมีผลบังคับ ” หมายถึง วันทำสัญญาประกันภัย วันทำสัญญาเพิ่มเติมนี้ หรือวันที่บริษัทอนุมัติการต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมนี้ครั้งหลังสุด แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นภายหลัง )

ความหมายของโรคร้ายแรงตาม ข้อ 1 ถึง ข้อ 41 ดังกล่าวข้างต้นให้เป็นไปตามคำนิยามที่ระบุไว้ในสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัย โรคร้ายแรงแบบเอซีไอรายปี และ แบบซีไอรายปี เท่านั้น และการจ่ายเงินผลประโยชน์ บริษัทจะจ่ายให้เมื่อแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยโรคว่าผู้เอาประกันภัยป่วยเป็น โรคที่ได้รับความคุ้มครองตาม ข้อ 1 ถึง ข้อ 41 นี้แล้ว หากผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าหนึ่งโรค บริษัทจะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้เพียงโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น
(หมายเหตุ ตัวแทนต้องชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทำความเข้าใจ คำนิยาม และข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง ในแต่ละโรคที่มีการระบุไว้ในสัญญาประกันภัยโดยชัดเจนด้วย)

การทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร
“ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร” หมายถึงร่างกายทุพพลภาพสิ้นเชิงถึงขนาดที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถประกอบ หน้าที่การงานใดๆ ในอาชีพประจำหรืออาชีพอื่นๆได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป และการทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรนั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 180 วัน นับแต่วันที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร หรือบริษัทยินยอมให้ถือว่าเป็นการทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร

การสูญเสียอวัยวะกรณีหนึ่งกรณีใดดังกล่าวต่อไปนี้ให้ถือเป็นทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรด้วย
1. สูญเสียมือสองข้าง หรือเท้าสองข้าง หรือสายตาสองข้าง หรือ
2. สูญเสียมือหนึ่งข้างและเท้าหนึ่งข้าง หรือมือหนึ่งข้างและสายตาหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้างและสายตาหนึ่งข้าง

“การสูญเสียมือหรือเท้า” หมายถึงการตัดออกตั้งแต่ข้อมือ หรือข้อเท้าขึ้นไป หรือการสูญเสียสมรรถภาพในการใช้งานของอวัยวะนั้นโดยสิ้นเชิงถาวรตลอดไป
“การสูญเสียสายตา” หมายถึงตาบอดสนิทโดยสิ้นเชิงและถาวร และไม่มีทางรักษาให้มองเห็นได้อีกตลอดไป ภาวะตาบอดนี้ ต้องได้รับการยืนยันจากจักษุแพทย์ ทั้งนี้ การทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรและการสูญเสียมือหรือเท้า หรือการสูญเสียสายตา ต้องเกิดขึ้นก่อนวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยครั้งแรกที่ผู้เอาประกันภัยมี อายุครบ 65 ปีบริบูรณ์

เงื่อนไขการรับประกัน
– อายุที่รับประกันภัย 16 ปี ถึง 60 ปี วันเกิดสุดท้าย ต่ออายุได้สูงสุดถึงอายุ 69 ปี
– จำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำ 100,000 บาท
– จำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นสูง
1) ไม่เกิน 3 เท่า ของจำนวนเงินเอาประกันภัยแบบประกันภัยหลักที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบอยู่ (นับรวมแบบเอซีไอรายปี)
2) ไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อผู้เอาประกันภัย 1 ราย ( นับรวม สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยโรคร้ายแรงทุกแบบที่ได้รับความคุ้มครองและมีผล บังคับอยู่กับบริษัท ) ทั้งนี้ยังคงมีกฏเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัยข้ออื่นตามหลักเกณฑ์มาตรฐานของ บริษัท
– จำนวนเงินเอาประกันภัยของแบบซีไอรายปี นับรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยในกฎเกณฑ์การตรวจสุขภาพ
– อนุญาตให้ซื้อสัญญาเพิ่มเติมนี้ได้ภายใน 3 ปีแรกหลังอนุมัติกรมธรรม์

ข้อมูลนี้จัดทำเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเท่านั้น ข้อกำหนด ความคุ้มครอง และเงื่อนไข จะระบุในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow