พรบ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง
เจตนารมย์ของกฏหมายฉบับนี้เพื่อคุ้มครองบุคคล ผู้ถูกกระทำ และ รวมไปถึงผู้กระทำด้วย (แต่ต้องพิสูจน์ความถูกผิด)
1 บาดเจ็บ ชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน
2 ทุพพลภาพ อย่างใดอย่างหนึ่ง บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
3 บาดเจ็บ ตามข้อ1 และต่อมาทุพพลภาพตามข้อ 2 บริษัทจะจ่ายรวมไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
4 เสียชีวิตจะได้รับค่าชดใช้เป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000บาทต่อหนึ่งคน
5 เสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล ตามข้อ 1 จะจ่ายรวมไม่เกิน 65,000 บาท
ความคุ้มครองตาม พรบ. หากเกิดความเสียหายตั้งแต่ 2 คันขึ้นไป
ที่ทำให้ผู้ซึ่งอยู่ในรถไม่ว่าจะเป็นผุ้ขับขี่ ผู้โดยสาร ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้บริษัทประกันภัยรถของแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่บริษัทประกันภัยไว้ แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้อยู่ในรถ ให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราเท่ากัน
เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จาก พรบ.รถยนต์
กรณีบาดเจ็บ
1 ใบเสร็จจากโรงพยาบาล
2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3 กรณีทุพพลภาพให้ขอใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ และบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่ได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ
กรณีเสียชีวิต
1 สำเนาใบมรณบัตร
2 สำเนาบันทึกประจำวันพนักงานสอบสวน
3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ความคุ้มครอง / วงเงินคุ้มครอง( บาท / คน)
1 จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) 30,000
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000
ข้อ 1.1 และ 1.2 ค่าเสียหายรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
คนนั่งในรถฝ่ายผิด จะไม่ถือว่าเป็นคนผิด คนผิดจะนับที่ผู้ขับขี่เท่านั้น
2 ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัย
(จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด)
2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000
2.2 การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000
2.3 สูญเสียอวัยวะ
– นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป 200,000
– สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000
– สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 300,000
2.4 ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาล
ในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน สูงสุดไม่เกิน 4,000
– จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดสำหรับรายการข้อ 2.1, 2.2, 23 และ 2.4 ค่าเสียหายรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
– วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง วงเงินคุ้มครอง 5,000,000 บาทต่อ 1 ครั้งที่ประสบอุบัติเหตุ
– วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง วงเงินคุ้มครอง 10,000,000 บาทต่อ 1 ครั้งที่ประสบอุบัติเหตุพรบ. ให้ความคุ้มครองเฉพาะ ชีวิต อวัยวะ อนามัย ของ ผู้ประสบภัยเท่านั้นแต่ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินใดๆ เช่น ตัวรถยนต์ แต่หากต้องการความคุ้มครองให้รถยนต์ ต้องทำประกันภาคสมัครใจ หรือประกันภัยรถยนต์ ประเภทต่างๆ เช่น ชั้น1 ชั้น2 ชั้น 2+ ชั้น 3+ ชั้น3 เลือกชั้นไหน ให้ดูที่ความคุ้มครองที่เราต้องการ โดยประกันชั้น1 มีความคุ้มครองสูงสุด
– ผู้ขับขี่ที่กระทำละเมิด (ฝ่ายผิด) จะได้รับแค่ ความคุ้มครอง ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
– ผู้ประสบภัย หมายรวมถึง ผู้ขับขี่ที่ถูกละเมิด ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก
– จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย (ดูในกรมธรรม์)
อ่านเพิ่ม
http://www.oic.or.th/th/consumer/สาระสำคัญการประกันภัยรถภาคบังคับ
ข้อยกเว้นต่างๆจะน้อยกว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เช่น เมาขับเกิดเหตุประกัน พรบ ก็จ่าย