INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 14:47:30
Home » การประกันภัย ประกันรถยนต์ » การประกันภัยรถภาคบังคับ = พรบ\"you

การประกันภัยรถภาคบังคับ = พรบ

2018/10/22 2070👁️‍🗨️

การประกันภัยรถภาคบังคับ

การประกันภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
หมายถึงการประกันภัยรถประเภทที่กฎหมายให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับ ผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการประเภทการประกันภัยรถ โดยรัฐบาลมีเจตจำนงเพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนที่ประสบภัยเป็นสำคัญ

ต่อไปนี้ในบทความจะใช้ พรบ แทน พ.ร.บ.

ประกันภัยรถภาคบังคับ หรือ พรบ รถยนต์ , พรบ รถมอเตอร์ไซค์
เหตุผลหลักที่ต้องมีการบังคับให้ทำ เพื่อให้คุ้มครองคนเป็นสำคัญ
ประกันรถยนต์ภาคบังคับจึง ไม่ได้คุ้มครอง ตัวรถ หรือ ทรัพย์สินใด ให้ความคุ้มครองหลักแสน ทั้งค่ารักษา และ กรณีเสียชีวิต และเบี้ยประกันถูกมาก

รถยนต์ส่วนบุคคล (รหัส 110) พรบ ปีละ 645 บาท รวม vat

การจ่ายสินไหม แยกเป็น 2 step
step1 จ่ายทันที ไม่ต้องสน ใครจะผิดถูก
step2 หากเป็นฝ่ายถูกและได้รับคามเสียหาย ก็จะได้รับการจ่ายสินไหมให้เพิ่มเติม

พรบ ของรถจักรยานยนต์หรือ มอเตอร์ไซค์ ที่ใช้งานทั่วไป จ่ายเบี้ยประกันปีละประมาณ 300 บาท
คิดตามซีซี

ขนาดเครื่องยนต์ ไม่เกิน 75 CC พรบ รถจักรยานยนต์ 161.57 บาท
ขนาดเครื่องยนต์ เกิน 75 CC ถึง 125 CC พรบ รถจักรยานยนต์ 323.14 บาท
ขนาดเครื่องยนต์ เกิน 125 CC ถึง 150 CC พรบ รถจักรยานยนต์ 430.14 บาท
ขนาดเครื่องยนต์ เกิน 150 CC พรบ รถจักรยานยนต์ 645.21 บาท

ถ้าไม่ได้ต่อ พรบ มาหลายปี ต้องจ่ายย้อนหลังหรือไม่?
ไม่ต้องจ่าย เพราะ พรบ เป็นการซื้อปีต่อปี ให้ซื้อในวันที่นึกได้นั้นเลย (ถ้าขาดอยู่นะ)
ซึ่งขณะที่ขาดอายุอยู่นั้น เสี่ยงถูกตรวจจับปรับ หรือ กรณีเกิดอุบัติเหตุ ชนคน แล้วไม่มีพรบ

การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต
เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว

ประเภทรถที่ต้องทําประกันภัย พรบ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พรบ ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร เป็นรถที่เจ้าของมีไว้ใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ

การที่มีรถบางประเภท กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นแล้วก็จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พรบ ด้วย

ประเภทรถทได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พรบ

รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์
รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และส่วนราชการท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัย พรบ

ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถและผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กฎหมายกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน บาท

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พรบ

ผู้ประสบภัย หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พรบ นี้

ผู้มีหน้าที่รับประกันตาม พรบ

ผู้มีหน้าที่ต้องรับประกันภัย คือ บริษัทประกันวินาศภัยที่รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ ประชาชนสามารถทำประกันภัยตาม พรบ ได้ที่บริษัทประกันภัยข้างต้น รวมถึงสาขาของบริษัทนั้นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ มีสาขาให้บริการทุกจังหวัดทั่วประเทศ บริษัทใดฝ่าฝืนไม่รับประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาท

อัตราเบี้ยประกันภัย พรบ

ic.or.th/th/consumer/อัตราเบี้ยประกันภัย-พรบ

กรณีรถตั้งแต่ 2 คันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหาย

เป็นเหตุให้ผู้ซึ่งอยู่ในรถไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต
1.ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่ บริษัทรับประกันภัยไว้
2.หากผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้อยู่ในรถคันใดคันหนึ่งให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน

การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น

ผู้ประสบภัยต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้น กับบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยใช้หลักฐาน ดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บ
1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับ การรักษาพยาบาล

1.2 สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือสำเนาหนังสือเดินทางหรือหลักฐานอื่นใดที่ ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย

กรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บต่อมาทุพพลภาพ นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม ข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ พร้อมทั้งสำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจาก
การประสบภัยจากรถ เพิ่มเติมด้วย

2. กรณีเสียชีวิต

3. สำเนามรณะบัตร

4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

5. สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือ เดินทางหรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พรบ

ค่าสินไหมทดแทน (ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น)
oic.or.th/th/consumer/ค่าสินไหมทดแทน-ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น

การสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน และค่าปลงศพ

ในกรณีรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประสบอุบัติเหตุชนกับรถอื่น ซึ่งมีการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทจะสำรองจ่าย ให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งโดยสารมาในรถ หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ดังนี้

ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับกรณีได้รับบาดเจ็บ
ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร
ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนหรือค่าปลงศพ รวมกันไม่เกิน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยอื่นจะร่วมกันสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนหรือค่าปลงศพ โดยเฉลี่ยฝ่ายละเท่าๆ กัน

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

กรณีรถไม่ทำประกันภัยไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย

เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
หากฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยแล้วรถคันดังกล่าวไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย เจ้าของรถต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ถ้าผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บเจ้าของรถต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือถ้าเสียชีวิตต้องรับผิดชอบค่าปลงศพอย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนที่กฎหมาย กำหนดไว้ (กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงไม่เกิน 30,000 บาท ๅ/ เสียชีวิต 35,000 บาท ) หากน้อยกว่านี้ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยยังคงมาขอรับส่วนที่ยังขาดอยู่ได้จาก กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เมื่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายไปแล้วกฎหมายกำหนดให้นายทะเบียนตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่เรียกเงินตามจำนวนที่ได้จ่ายไปคืนจากเจ้าของรถรวม ทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเพื่อเข้าสมทบ อีกต่างหากภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากนายทะเบียน

ระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พรบ

กฎหมายกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ประสบภัยต้องร้องขอภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 ทวิ บัญญัติให้จัดตั้ง “ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ” ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ เพื่อให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องขอและการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามพระราช บัญญัตินี้ แทนบริษัทประกันภัยต่าง ๆ เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยที่ไม่ สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทที่รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความ เสียหายได้ เนื่องจากบริษัทกลางฯ มีสาขาให้บริการอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

14 เมษายน 2542 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้บริษัทกลางฯ รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ได้
ทำหน้าที่เป็นสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติ (Thai National Bureau of Insurance)
บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
เลขที่ 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทร 0-2100-9191 แฟ็กซ์ 0-2643-0293-4






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow