INSURANCETHAI.NET
Mon 30/12/2024 21:41:29
Home » ประกันภัยงานก่อสร้าง » ประกันความเสี่ยงภัยสำหรับผู้รับเหมา หรือ Contractors All Risks (CAR) Insurance\"you

ประกันความเสี่ยงภัยสำหรับผู้รับเหมา หรือ Contractors All Risks (CAR) Insurance

2016/01/18 10014👁️‍🗨️

ประกันความเสี่ยงภัยสำหรับผู้รับเหมา (Contractors All Risks (CAR) Insurance)

ประกันภัย CAR บางครั้งอาจหมายรวมถึง Erection All-Risk (EAR) หรือ Contractor Work Insurance (CWI)

ไม่ว่าจะเรียกอะไร ให้เข้าใจว่า ประกันภัยลักษณะนี้จะคุ้มครองความเสี่ยงภัยเหมือนกัน ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยแบบ ภัยทุกอย่าง หรือ All Risk นั่นเอง

งานต่างๆ ไม่ว่าจะเป๋็น งานก่อสร้าง งานต่อเติม งานปรับแต่ง เช่น ตกแต่งห้อง ต่อเติมอาคาร ทาสี ฉาบปูน งานขุดร่องระบายน้ำ งานวางท่อ งานเจาะอุโมงค์ งานขุดบ่อ งานวางระบบไฟ ระบบน้ำ ระบบรักษาคามปลอดภัยในอาคาร ฯลฯ

ผู้รับเหมา หรือ ผู้รับจ้าง จำเป็นต้องทำสัญญาประกันภัย ประเภทนี้ เพราะเป็นสัญญาข้อตกลงหนึ่งของผู้ว่าจ้าง
เหตุผลที่ต้องมีการประกันความเสี่ยง เนื่องจาก ระหว่างการทำงาน ของผู้รับจ้างสามารถจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน ของผู้ว่าจ้างได้ เช่น ระหว่างทาสี สีอาจจะตกใส่รถยนต์ของผู้อื่น เป็นต้น ในบางกรณีอาจครอบคลุมถึงความล่าช้าของงานด้วย

โดยความคุ้มครองหลัก ของประกันภัยประเภทนี้ มี 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนของตัวงาน และ ส่วนของการประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Public Liability Insurance) ทั้งร่างกาย และทรัพย์สิน

ผู้ที่ต้องการประกันภัยประเภทนี้มักจะเป็นงาน มีความเสี่ยงสูง และ ทำประกันเพื่อคุ้มครอง ตัว PL อย่างเดียว แต่บริษัทประกัน มักจะไม่รับ ภัยที่มี PL อย่างเดียว เพราะ เสี่ยงมาก

หลายท่านอาจจะไม่เข้าใจว่า เสี่ยงแค่ไหน?

เบี้ยประกันของประกันภัยตัวอยู่ เรทปกติอยู่ที่ ล้านละ 1,000- 1,500 บาท หรือ 0.01 %- 0.015%

ตัวอย่าง สมมติว่ามีงานทาสี มูลค่างาน 1,500,000 บาท เบี้ยประกันอยู่ที่ 1,500 บาท
ระหว่างที่ทาสีอยู่ ทันใดนั้นสีก็ร่วงปลิวไปตามสายลม ตกลงไปบนหลังคารถยนต์ของชาวบ้าน!!
ความเสียหายที่เกิดมากมายกว่า เบี้ยประกัน 1,500 บาท หลายเท่า เป็นต้น

ประเภทของความเสี่ยงภัย CAR / EAR  (Types of construction risks)

การผลิตกระแสไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภค
น้ำมันก๊าซและปิโตรเคมี
สารเคมีและยา
อุตสาหกรรมการผลิตและกระบวนการ
ที่อยู่อาศัย
เชิงพาณิชย์
รัฐบาล
ด้านอุตสาหกรรม
งานโยธาและโครงสร้างพื้นฐานที่มีน้ำหนักมาก (ทางหลวงทางรถไฟสะพานเขื่อนคลองอุโมงค์น้ำและการระบายน้ำ ฯลฯ )

รายละเอียดของความคุ้มครอง อาจจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ประเภทของงาน ประเภทความเสี่ยง และ ภัยที่ต้องการคุ้มครอง และ ผลประโยชน์และความคุ้มครองทั้งหมดเป็นไปตามข้อกำหนดเงื่อนไขและข้อยกเว้นของนโยบายและขีดจำกัด ที่ระบุไว้ในแผนประกัน หรือ ซึ่งจะกลายมาเป็นกรมธรรม์ต่อไป ดังนั้น ผู้ทำประกันภัยจึงควรอ่านและทำความเข้าใจเรื่องความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนที่จะตัดสินใจ

เบี้ยประกันภัย เท่าไร?

ค่าเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ

  1. มูลค่าในสัญญา
  2. ขอบเขตการทำงาน
  3. ความคุ้มครองส่วนขยายและข้อตกลงเพิ่มเติม
  4. ระดับความเสี่ยง
  5. ประสบการณ์ของผู้รับเหมา
  6. ระยะเวลาของการรับประกัน

ฯลฯ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow