ควบคุมฉบับใหม่ บริษัทและคนกลางประกันภัย เปิดช่อง นำ Digital Face to Face มาใช้ถาวร
เพิ่มอำนาจ คปภ ในการกำกับดูแลตัวกลางประกันภัย
(คปภ มีอำนาจมากขึ้นในการจัดการ ตัวแทน/นายหน้า)การเสนอขายโดยใช้เสียง หรือเสียงและภาพ โดยให้ถือเสมือนเป็นการพบลูกค้า
(ตัวแทน/นายหน้า ทำงานง่ายขึ้น)ให้ธนาคารสามารถให้บริการนอกสำนักงานหรือสาขาได้
(ธนาคารขายประกันนอกที่ตั้งได้)ผู้เสนอขายต้องมีระบบหรือกระบวนงานเพื่อรองรับการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์
ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทประกันภัย
(ควบคุมกระบวนการ คุณภาพการขาย)
– การพัฒนาและออกกรมธรรม์ประกันภัย
– การคัดเลือกผู้เสนอขายและช่องทางการจำหน่าย
– มาตรฐาน กระบวนการเสนอขาย
– การให้ข้อมูลเพื่อกาารเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัย
– การให้บริการหลังการขาย
– การบริหารจัดการข้อร้องเรียนและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
– บริษัทประกันต้องมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพการขายกรมธรรม์ประกันภัยในทุกช่องทางการขาย
– การบริหารจัดการการดูแล ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลพฤติกรรมในการขายทุกช่องทาง เพื่อให้แน่ใจได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท และกระบวนการขายของผู้เสนอขายในทุกช่องทางได้คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของประชาชนและผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ เช่น การสอบประเมินความพึงพอใจ
ปรับกระบวนการขาย ตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของประชาชนและผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า
ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 มีมติเห็นชอบร่างประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการออก และเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และการดำเนินการของตัวแทนประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และธนาคาร พ.ศ. …. ตามที่สำนักงาน คปภ. เสนอ เพื่อให้มีการปรับปรุงประกาศฯ ฉบับปัจจุบัน ให้เป็นไปตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติประกันชีวิต/วินาศภัย (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแล ลดปัญหา อุปสรรค และภาระของบริษัทประกันภัย ตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การปรับปรุงตามร่างประกาศฯ
วัตถุประสงค์เพื่อให้การกำกับดูแลสอดคล้องกับกฎหมายแม่บทประกันภัยที่มีการแก้ไขแล้ว ยังมีเจตนารมณ์เพื่อให้ประชาชนและผู้เอาประกันภัยได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ จากบริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัย ได้แก่ ตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร
โดยมีการให้บริการด้วยความเป็นธรรมทั้งกระบวนการ ตั้งแต่
– การพัฒนาและออกกรมธรรม์ประกันภัย
– การคัดเลือกผู้เสนอขายและช่องทางการจำหน่าย
– การกำหนดมาตรฐาน กระบวนการเสนอขาย
– การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัย
– การให้บริการหลังการขาย
– การบริหารจัดการข้อร้องเรียนและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
– บริษัทซึ่งเป็นผู้ออกกรมธรรม์ประกันภัย ต้องมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพการขายกรมธรรม์ประกันภัยในทุกช่องทางการขาย
– การบริหารจัดการการดูแล ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลพฤติกรรมในการขายทุกช่องทาง เพื่อให้แน่ใจได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท และกระบวนการขายของผู้เสนอขายในทุกช่องทางได้คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของประชาชนและผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ
ประกาศฯ ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 60 วันนับแต่วันประกาศเป็นต้นไป เพื่อให้บริษัทและผู้เสนอขายมีระยะเวลาเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามที่ร่างประกาศฯ กำหนด ซึ่งประเด็นการแก้ไขที่สำคัญ
1. เพิ่มอำนาจในการกำกับดูแลตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัยหรือผู้เสนอขายโดยตรง จากเดิมที่สำนักงาน คปภ. กำกับดูแลการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัยผ่านทางบริษัท รวมถึงเพิ่มการสั่งพักใช้ใบอนุญาตตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย กรณีตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามประกาศ ซึ่งทำให้สำนักงาน คปภ. กำกับดูแลตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัยหรือผู้เสนอขายได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
2. เรื่อง Digital Face to Face ผู้เสนอขายสามารถเสนอขายโดยใช้เสียง หรือเสียงและภาพ โดยให้ถือเสมือนเป็นการพบลูกค้า ในระหว่างสถานการณ์จำเป็น และได้รับความยินยอมจากลูกค้า โดยนำหลักเกณฑ์ในประกาศ คปภ. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย และธนาคาร ในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563 กรณีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยเฉพาะกิจ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Face to Face มาใช้เป็นการถาวร ขณะที่ยกเลิกประกาศฯ เฉพาะกิจดังกล่าว เพื่อใช้ประกาศฉบับใหม่แทน โดยหลักเกณฑ์ในส่วนนี้จะมีผลบังคับใช้ทันที
3. เพิ่มความคล่องตัวในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยของลูกค้าธนาคาร โดยให้ธนาคารสามารถให้บริการนอกสำนักงานหรือสาขาได้ แต่จะต้องได้รับความยินยอมก่อน เพื่อมิให้เป็นการรบกวนลูกค้า
4. ผู้เสนอขายต้องมีระบบหรือกระบวนงานเพื่อรองรับการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ เช่น ระบบหรือกระบวนงานการจัดเก็บการสนทนา ระบบหรือกระบวนงานการได้มา การเก็บรักษา และการปกป้องข้อมูลลูกค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระบบหรือกระบวนงานการตรวจสอบคุณภาพการขาย เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนและผู้เอาประกันภัยได้รับบริการที่ดีจากผู้เสนอขาย
“หลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับใหม่ จะทำให้มีการกำกับดูแลคนกลางประกันภัยได้โดยตรง และเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวของช่องทางการขายในการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะการเสนอขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Face to Face ซึ่งมีการอนุญาตให้ใช้เป็นการเฉพาะกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 และได้รับการตอบรับอย่างดีจากทั้งภาคธุรกิจประกันภัยและประชาชนผู้ใช้บริการ จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอขายผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบ Digital Face to Face ไว้ในประกาศฉบับใหม่เป็นการถาวร ขั้นตอนต่อไป สำนักงาน คปภ. จะได้เสนอให้ นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานบอร์ด คปภ. ลงนามในประกาศฉบับนี้เพื่อให้มีผลบังคับต่อไป”