ประกันไวรัสโคโรนา
ประกันภัยคุ้มครองไวรัสโคโรนา (COVID-19)
ไวรัสโคโรน่า เริ่มระบาดปลายปี 2019 เดือนธันวาคม และ ระบาดหนักเพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา
อาการ : มีไข้ ไอมีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อย หอบ โรคระบบทางเดินอาหาร ถ่ายเหลว / ภาะแทรกซ้อน ผู้มีโรคประจำตัว
ความรุนแรง : ไข้สูง (38 องศาเซลเซียสขึ้นไป) ปอดอักเสบ ไตวาย เสียชีวิต
การติดต่อ : ไอ จาม สัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อผ่านตา จมูก ปาก
โดยทั่วไปประกันสุขภาพคุ้มครองการรักษาไวรัสโคโรนาอยู่แล้ว ตามวงเงินแผนประกันที่เลือกซื้อไว้ แต่สิ่งที่ต้องรู้ คือ ประกันสุขภาพจะจ่ายต่อเมื่อเป็นการรักษา ดังนั้น ถ้าไปขอตรวจว่าตัวเองติดไวรัสนี้หรือไม่ ซึ่งค่าตรวจก็ค่อนข้างสูง ประกันสุขภาพไม่ครอบคลุม ประมาณ 10,000 บาท แต่ใช้บัตรทองได้ (บัตร30บาท)
อย่างไรก็ตาม ในเงื่อนไขสัญญาประกันสุขภาพ แม้โดยทั่วไปจะคุ้มครอง เฉพาะ IPD แต่ก็จะมีส่วนที่คุ้มครอง กรณี OPD(ผู้ป่วยนอก) ด้วย แต่มีเงื่อนไขการใช้งานค่อนข้างเฉพาะ การจะสามารถใช้ในกรณีนี้ได้ ต้องเป็นการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เอ็กซเรย์ (X-ray) และ ตรวจแลบ (การตรวจทางห้องปฏิบัติการ/ การตรวจทางห้องแลบ / การตรวจแลบ (Laboratory investigation / Lab test) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยขั้น ตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ให้การตรวจในห้องตรวจที่เรียกว่าห้องปฏิบัติการ หรือ ห้องแลบ (Lab/Laboratory)
ซึ่ง หลังตรวจต้องพบโรค เท่านั้นจึงจะทำให้เข้าเงื่อนไข ในข้อ การตรวจผล Lab นั่นเอง เมื่อพบว่าป่วยเป็นไวรัสโคโรนา ก็ต้องรักษาตัว ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้สามารถเบิกเคลมได้ (ต้องรักษาตัวหลังตรวจ ไม่เกิน 30วัน)
ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก วิกฤตที่เลวร้าย
เราจะได้เห็นความเป็นมืออาชีพ และ สปิริต
ของบริษัทประกันภัย ในฐานะผู้ให้บริการด้านประกันภัย
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจอย่างหนึ่งคือ การคืนสู่สังคม อันเป็นการแสดงถึง ความห่วงใยอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ไม่ต้องพูดเยอะ (เราอาจพบว่า บางบริษัทประกันภัยปรากฏข้อความในเว็บไซต์ตัวเอง เราจะอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ก็เป็นเพียงคำที่ใช้ขีดเขียนเพื่อให้ตัวเองดูดีแค่นั้นเอง )
บริษัทที่แสดงความห่วงใยอย่างเป็นรูปประธรรมนี้ ควรที่เราจะให้การสนับธุรกิจของเขาต่อไป
บริษัทประกันชีวิต เพิ่มผลประโยชน์ให้ลูกค้าผู้ซื้อประกันชีวิต (ฟรี)
เอไอเอ
มอบผลประโยชน์พิเศษลูกค้ารายบุคคล-ประกันกลุ่มกว่า 9 ล้านคน ฟรี กรณีติดเชื้อ/เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19
1.เพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ช่วงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 – 15 เมษายน 2563 เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาทต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 30 วัน) รวมสูงสุด 30,000 บาท
2.หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต จากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) วันนี้ ถึง 15 เมษายน 2563 จะจ่ายเพิ่ม 50,000 บาท ให้กับทายาทโดยธรรมของผู้เอาประกันภัย
Call Center 1581 เว็บไซต์ http://bit.ly/AIA_COVID-19 หรือส่งข้อความผ่านกล่องข้อความ (Inbox)ในช่องทาง Official Facebook เอไอเอ ประเทศไทย ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
กรุงเทพประกันชีวิต
เพิ่มคุ้มครองค่าชดเชยรายวันจากไวรัสโควิด-19 ให้กับแบบประกันสุขภาพ ขยายความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลชดเชยรายวันจากไวรัสโควิด-19 สำหรับสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพและ/หรือสัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาลรายวัน ติดเชื้อจากไวรัสวันละ 2,000 บาท นานสูงสุด 15 วัน ให้กับทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ของบริษัท ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ – 31 พฤษภาคม 2563 และไม่คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม (ฟรี) ได้แก่ บีแอลเอ เฮลธ์ พลัส, สุขภาพ 2011, สุขภาพ 2011 (มีความรับผิดส่วนแรก), ค่ารักษาพยาบาลรายวัน แบบปัญจรักษ์, บีแอลเอ รักษ์สุขภาพ, บีแอลเอ เพรสทีจ เฮลธ์, และบีแอลเอ เพรสทีจ เฮลธ์ (พิเศษ)
ลูกค้าที่มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดและลงทะเบียนเข้าแอพพลิเคชันบีแอลเอ แฮ็ปปี้ ไลฟ์ (BLA Happy Life) เพื่อตรวจสอบและดาวน์โหลดรายละเอียดความคุ้มครองได้เองผ่านแอพพลิเคชัน โดยดาวน์โหลดได้ทั้งมือถือระบบ IOS, Android หรือ Google Play Store ได้ หรือคลิกที่ลิงก์นี้ http://bit.ly/HappyLifeApp เพื่อความสะดวกในการดาวน์โหลด
ไม่ต้องดาวน์โหลดก็ได้ เพราะคุ้มครองอัตโนมัติ เขาก็เขียนเอาไว้อย่างนั้นเเหละ ให้คนไปดาวน์โหลดใช้แอฟเขา เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในธุรกิจ
บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ เอไอเอส มอบกรมธรรม์ประกันชีวิตไวรัสโควิด-19 ให้ลูกค้าเอไอเอสฟรี!
– คุ้มครองชีวิต 50,000 บาท 30 วัน ครอบคลุมการเสียชีวิตทุกกรณี
– หากเป็นผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากติดเชื้อไวรัสก็ชดเชยรายได้ 1,000 บาทต่อวัน สูงสุด 15 วัน
ลูกค้าเอไอเอสทั้งระบบรายเดือนและเติมเงิน สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ เพียงกด *638# แล้วกดโทรออก ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย จะได้รับข้อความ SMS พร้อมลิงค์ไปหน้าลงทะเบียนของพรูเด็นเชียลฯ ทำการกรอกข้อมูล และคลิกลงทะเบียน แล้วรอรับ SMS ยืนยัน ลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ตั้งแต่ 18-29 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวนจำกัด 100,000 สิทธิ์ตลอดโครงการ ลูกค้าที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์แล้ว กรมธรรม์จะเริ่มคุ้มครองในวันถัดไปจนถึงวันที่สิ้นสุดความคุ้มครอง 30 วัน
โตเกียวมารีนประกันชีวิต
ให้ความคุ้มครองทันที ไม่ต้องพ้นระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง 30 วัน หากพบว่าผู้ถือกรมธรรม์ป่วยด้วยเชื้อไวรัสโคโรนา(Coronavirus 2019-nCoV) เฉพาะกรมธรรม์ที่อนุมัติรับประกันระหว่าง 1 ม.ค. 63 – 31 มี.ค. 63 และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนา ในช่วง 1 ก.พ. 63 – 30 เม.ย. 63
(ไม่ได้ให้ผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน แค่ไม่ต้องรอ 30วัน กรณีซื้อประกันสุขภาพ – -“)
บริษัทประกันวินาศภัย ซื้อเพิ่ม (ไม่ฟรี)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) และ บมจ.ทิพยประกันภัย (TIP)
กรุงศรีประกันไวรัสโคโรนา (COVID-19) (Krungsri Coronavirus Insurance)
4 แผนประกัน จ่ายเบี้ยเริ่มต้น 150 บาท/ปี รับเงินชดเชยสูงสุดถึง 1,000,000 บาท
รับ อายุ 1 – 99 ปี ให้ความคุ้มครองเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ
1.กรณีเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าหรือ การเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสรับเงินชดเชยสูงสุด 1 ล้านบาท
2.กรณีต้องเข้ารับการรักษาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ประกันคุ้มครองการจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุด 100,000 บาท
Call 1572 และ Facebook: Krungsri Simple
ฟอลคอนประกันภัย + ไดเร็คเอเชีย มอบความคุ้มครองประกันไวรัสโควิด-19 นาน 1 ปีฟรี
บมจ.ฟอลคอนประกันภัย ร่วมกับ บริษัท ไดเร็คเอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายหน้าประกันภัยรถยนต์ มอบ ประกันไวรัสโคโรนา ฟรี แก่ลูกค้าที่ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านไดเร็คเอเชีย หากตรวจพบติดเชื้อ
ทิพยประกันภัย ประกันภัยไวรัสโคโรนา (Coronavirus (2019-nCoV))
อายุ 1-99 ปี ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ต้องไม่โรคเรื้อรังหรือพิการ ไม่คุ้มครองผู้ที่ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรน่ามาก่อนการทำประกันภัย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ กำหนดระยะประกัน 4 กุมภาพันธ์ 2563-31 ธันวาคม 2564
การเจ็บป่วยด้วยภาวะหรือโรคร้ายแรงที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus (2019-nCoV)) การเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า หรือ ภาวะสมองตายและระบบประสาทล้มเหลว หรือ การเจ็บป่วยระยะสุดท้ายซึ่งเป็นการเจ็บป่วยรุนแรงที่แพทย์ลงความเห็นว่า ไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้ และ/หรือ เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตโดยมีสาเหตุหลักมาจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา
(ทำประกันไปแล้วติดเชื้อ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 100,000 บาท หากเป็นการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย จะได้ค่าชดเชยสูงสุด 1,000,000 บาท)
แผน 1 = 100,000
แผน 1 = 100,000
แผน 1 = 500,000
แผน 1 = 1,000,000
2. การรักษาพยาบาลจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus (2019-nCoV)) ต่อปี
แผน 1 = 10,000
แผน 1 = 50,000
แผน 1 = 50,000
แผน 1 = 100,000
เบี้ยประกันภัยรวม (บาท) / คน / ปี
150 250 450 850
เบี้ยเท่ากันทุกคน จำกัดการซื้อ 1 คน ต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่เกิน 1,000,000 บาท
https://www.dhipaya.co.th/insurance/insurance.asp?ID=684&idMenu=636
TQM – ทีคิวเอ็มอินชัวร์รันส์โบรคเกอร์ + BKI – บริษัทกรุงเทพประกันภัยจำกัด (มหาชน) ออกประกันภัยชื่อว่า “ประกันภัยไวรัสโคโรน่าเจอจ่ายจบ”
เบี้ยประกัน 299 บาท
1.ผู้ซื้อประกัน ติดเชื้อ บริษัทประกันจะจ่าย 50,000 บาท
2.เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจ่าย 100,000 บาท
สินมั่นคง
ประกันภัยการติดเชื้อไวรัสโคโรนา Coronavirus (COVID-19)
เจอ จ่าย จบ พร้อมจ่ายเงินชดเชยทันทีที่ตรวจพบว่า ผู้เอาประกันภัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ (มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์) จ่ายเป็นเงินก้อน (เต็มทุนวงเงินคุ้มครอง) สูงสุด 100,000 บาท ผู้เอาประกันภัยที่มีอายุ 1-99 ปี มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่ติดเชื้อหรือถูกสงสัยว่า ติดเชื้อไวรัสโคโรนา มาก่อนการทำประกันภัย
แผน 1 วงเงินคุ้มครอง 50,000 เบี้ยประกันภัยต่อปี (รวมค่าอากรและภาษี) 250
แผน 2 วงเงินคุ้มครอง 100,000 เบี้ยประกันภัยต่อปี (รวมค่าอากรและภาษี) 450
เมื่อพบอาการที่สงสัยว่าจะเป็นไวรัสโคโรนา ให้กักตัวเองไว้ อย่าเข้าใกล้ใคร โทร1422 จากนั้นทางกรมฯจะประสานผู้เกี่ยวข้องให้จัดทีมคุมโรคมารับตัวสู่สถานควบคุมโรค ทุกอย่างฟรี อย่ารอให้อาการเป็นมากขึ้น ถ้ายังอยากมีชีวิตอยู่ต่อ
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
โคโรน่าไวรัส 2019 หรือโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย อันดับที่ 14 (ประกาศ 24 กุมภาพันธ์ 2563) พรบ.นี้ยังให้อำนาจกับ จนท.ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทำหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อร้ายแรง ให้สามารถ บังคับกักกันตัว บังคับตรวจร่างกาย บังคับเก็บตัวอย่าง บังคับรักษา บังคับให้รับวัคซีน ได้ตามกฏหมาย
บทลงโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา สำหรับคนที่ปกปิดหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ควบคุมโรคติดต่ออันตราย
– หากไม่แจ้งข้อมูลตามจริงมีโทษปรับ 2 หมื่นบาท
– ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ทำตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 2 แสนบาท
– สำหรับเจ้าของพาหนะหรือสถานประกอบการ หากปกปิดข้อมูล ไม่ทำตามคำสั่ง มีโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 5 แสนบาท