INSURANCETHAI.NET
Thu 26/12/2024 16:55:31
Home » ความรู้รถยนต์ » ท่านั่งขับรถยนต์ที่ถูกต้อง\"you

ท่านั่งขับรถยนต์ที่ถูกต้อง

2011/10/03 1026👁️‍🗨️

ท่านั่งขับรถยนต์ที่ถูกต้อง
การนั่งขับรถยนต์ด้วยท่าที่ถูกต้องไม่เพียงแต่ช่วยให้วิศัยทัศน์ในการขับขี่ดีขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถช่วยไม่ให้ท่านเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง หรือแม้กระทั่งอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ ที่ตามมา ถึงแม้ท่านจะขับรถราคาแพง ๆ มีเบาะที่ปรับได้หลากหลายรูปแบบแต่ถ้าท่านั่งขับรถของท่านยังไม่ถูกต้องก็อาจทำให้เกิดผลเสียได้เช่นกัน

1.ระยะนั่ง ..เรื่องสำคัญที่ต้องปรับ
ก่อนอื่นการที่เราจะนั่งได้สบายและถูกต้องนั้น เบาะนั่งไม่ควรจะชิดหรือห่างพวงมาลัยจนเกินไป แต่ควรอยู่ในระยะที่พอเหมาะพอดี ที่พอจะทำให้เราควบคุมพวงมาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับขาที่สามารถเหยียบแป้นได้น้ำหนักพอสมควร

ระยะนั่งที่เหมาะสมนั้น ตามหลักแล้วมีการกล่าวว่าเราควรนั่งห่างจากพวงมาลัย 1 ช่วงแขนพอดี ซึ่งจะทำให้เราสามารถหักเลี้ยวรถได้ง่าย และระยะดังกล่าวนั้น เป็นระยะที่ขาสามารถแตะแป้นเหยียบได้พอดี ในลักษณะกึ่งงอขา ซึ่งจะทำให้สามารถจับน้ำหนักแรงกดได้

ดังนั้น เมื่อคุณขึ้นรถให้สำรวจว่าเบาะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกหรือไม่ โดยเอาข้อมือวางที่พวงมาลัย แล้วปรับเบาะจนแขนตึงพอดี ถือว่าเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

2. นอนขับ…เรื่องนี้เข้าใจผิด
หลัง จากที่ได้ระยะที่ถูกต้องแล้ว สิ่งสำคัญต่อไปที่เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนั้น คงไม่พ้นพนักพิงหลังที่ตัวแปรสำคัญในการขับขี่เลยก็ว่าได้ หลายคนมักเข้าใจสาระสำคัญเกี่ยวกับพนักพิงหลังนี้ผิดไป โดยส่วนใหญ่มักคิดว่า การที่เรานั่งเอนหลังกึ่งนอนถือเป็นท่านั่งขับที่สบายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวกนักซิ่งมักอยากจะเลียนแบบนักขับรถ Formula1

ความจริงแล้ว เราแต่ละคนนั้น มีสรีระไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะแผ่นหลัง ที่เราอาจจะรู้สึกว่า ท่านั่งกึ่งเอนนั้นให้ความสบายแต่ความจริงแล้วมันกับเพิ่มแรงกดไปที่เอว และท้ายสุดคุณจะปวดเอว ส่วนหลังก็เพิ่มความเมื่อยหล้า และส่วนหนึ่งของการกึ่งนอนขับนั้น ก็อาจทำให้คุณหลับคาพวงมาลัยได้เช่นกัน

ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงท่านั่งที่ถูกต้องแล้ว คุณควรจะปรับเบาะให้ตั้งตรงก่อนแล้วเอนหลังลงเล็กน้อยประมาณ 1-2 ล็อค ให้รู้สึกว่าช่วงเอวคุณกระชับ ถือว่าเป็นวิธีนั่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว

3.หัวหมอน ของชิ้นนี้ที่เรามักลืม
ทุกวันนี้เบาะนั่งรถยนต์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเบาะหน้า มักจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวหมอน” พร้อมมาด้วย ซึ่งของชิ้นเล็กนี้แม้อาจดูเหมือนไม่สำคัญ… แต่ความจริงแล้วมันเป็นอะไรที่น่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความปลอดภัย

หน้าที่ของหัวหมอนตามหลักแล้ว มันถูกออกแบบมาให้ลดแรงกระแทก และลดอาการบาดเจ็บที่จะเกิดกับช่วงคอ ที่ถือเป็นช่วงที่มีความละเอียดอ่อนที่สุดของพวกเรา การปรับหัวหมอนให้อยู่กลางหลังศีรษะนั้น จะช่วยลดแรงกระแทกยามเกิดอุบัติเหตุได้ ไม่มากก็น้อย

4. พวงมาลัยปรับนิดเพื่อความมั่นใจ
เมื่อทุกอย่างเข้าที่ก็ควรปรับพวงมาลัยให้อยู่ตำแหน่งที่พอดีมือ โดยมากพวงมาลัยควรอยู่ในลักษณะเชิดหน้าหาคนขับเล็กน้อย ส่วนเวลาขับที่ถูกต้องเราควรวางมือในตำแหน่ง 10-2 เพื่อช่วยในการขับรถให้มีประสิทธิภาพในการควบคุมมากยิ่งขึ้นไปด้วย

ในการขับรถยนต์เป็นเวลานานๆนั้น อาจเกิดความเมื่อยล้าในการขับรถได้ ในการนั่งขับรถท่านั่งที่ถูกต้องนั้นสามารถที่จะบรรเทาการเมื่อยล้า และยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับรถได้อีกด้วย

เริ่มต้นจากการปรับเริ่มจากการปรับเบาะนั่งให้ได้ระยะเหมาะสม ปรับตำแหน่งพวงมาลัย นั่งให้เข่าอยู่สูงกว่าตะโพกเล็กน้อย งอข้อศอกเล็กน้อย ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย และปรับมุมกระจกมองข้าง-มองหลังและปรับกระจก มองหลังให้เห็นกระจกบังลมหลังทั้งบาน จึงคาดเข็มขัดนิรภัย

การปรับระยะเบาะนั่ง
ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็ใช้ฝ่าเท้าเหยียบแป็นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย

ในกรณีที่เป็นรถเกียร์ธรรมดา (เกียร์กระปุก) การปรับเบาะที่นั่งให้เหมาะสมกับการขับ ต้องนั่งให้ชิดพนักพิงแล้วใช้อุ้งเท้าซ้าย เหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด ถ้าเหยียบไม่สุด ให้ปรับเบาะไปทางด้านหน้าจนสามารถเหยียบจนสุด เมื่อเหยียบสุดแล้วเข่าต้องตึง ถ้าเหยียบสุดแล้วเข่าไม่ตึง ให้ปรับเบาะเลื่อนมาข้างหลัง มิฉะนั้นจะเมื่อยเข่าในขณะขับ

การปรับพนักพิงที่ถูกต้อง
การปรับพนักพิงจะต้องไม่เอนมาก หรือน้อยเกินไปซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้ โดยใช้มือขวาจับ
ที่ตำแหน่ง 9-10 นาฬิกา มือขวา 2-3 นาฬิกา ข้อศอกจะงอเล็กน้อย ไม่ตึงและไม่งอมากเกินไป แผ่นหลังจะติดพนักพิงเสมอ ปรับเสร็จแล้วลองเลื่อนมือไปวางไว้บนสุดของวงพวงมาลัย โดยเราต้องสามารถนำ ข้อมือต้องแตะกับพวงมาลัยได้พอดีจึงจะถูกต้อง ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัย แล้วมืออยู่เลยไปถึงกลางฝ่ามือหรือโคนนิ้ว แสดงว่าปรับพนักพิงเอนเกินไป ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัยแล้วมืออยู่ชิดเลยข้อมือเข้ามาแสดงว่า นั่งชิดเกินไป

การปรับหมอนรองศรีษะ
หมอนรองศรีษะให้ปรับเอนศรีษะให้อยู่กลางหมอนรองศรีษะพอดี บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่ามีไว้สำหรับเอาคอมาพิงเพื่อจะนอนได้สะดวก แต่ความเป็นจิงแล้วถ้าทำลักษณะเช่นนั้น จะเกิดอันตรายมากเวลาเกิดอุบัติเหตุ เพราะว่าหมอนรองศรีษะมีหน้าที่ไว้รองศรีษะเวลาเกิดอุบัติเหตุ ไม่ให้ศรีษะเงอหรือสบัดไปทางด้านหลังซึ่งอาจทำให้กระดูกคอ แตกหรือหักได้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

การปรับเข็มขัดนิรภัย (ถ้าปรับได้)
ถ้ารถยนต์สามารถที่จะปรับเข็มขัดนิรภัยให้สูงต่ำได้ ให้ปรับระดับสายเข็มขัดนิรภัย ให้เหมาะสมโดยสาย จะต้องพาดจากบริเวณไหปลาร้าเฉียงลงมาที่สะโพก แล้วก็มาพาดอยู่แถวกระดูกเชิงกราน โดยอย่าให้สายมาพาดที่บริเวรคอ หรือห้อยเลยหัวไหล่ไป

การปรับพวงมาลัยรถยนต์
ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆมีระบบการปรับพวงมาลัย โดยการปรับนั้นจะต้องไม่สูงเกินไปจนทำให้เมื่อยล้า ในการขับระยะทางไกล และไม่ควรต่ำจนติดหน้าขา

การปรับกระจกมองหลัง
ให้ปรับกระจกมองหลังให้เห็นมุมมองกว้างที่สุด ไม่ใช่มีไว้ดูหน้าตัวเอง

การปรับกระจกมองข้าง
ให้ปรับกระจกมองข้างให้มองเห็นตัวถังของรถยนต์เพียงนิดหน่อย แต่อย่าให้เห็นเพียงด้านหลังอย่างเดียว

อันตรายที่คาดไม่ถึง เกี่ยวกับท่านั่งขับรถ
1. เอนนอนขับแบบนักแข่งสบายที่สุด
จริงๆ แล้ว นั่งขับแบบไม่ต้องชะเง้อ ไม่เมื่อยและไม่อันตราย ท่าขับแบบนักแข่งตัวจริง ต่างกับการปรับเบาะเอนนอนขับมาก การนั่งท่านี้จะรู้สึกว่าจะหลุดจากเบาะนั่งทุกครั้งที่เบรกแรงๆ แขนที่เหยียดตึงตลอดเวลา นอกจากจะทำให้เมื่อยล้า ยังต้องยกตัวขึ้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลี้ยว เพราะไม่มีแรงหมุนพวงมาลัย และมองทางข้างหน้าไม่เห็น เช่นเดียวกับเวลาถอยหลังจอด สายเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าการนั่งขับแบบปกติ อาจจะรั้งคอแทนที่จะเป็นไหลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ท่านั่งที่ถูกต้อง ควรเอาหลังพิงพนักจนสนิท แล้วเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่ง ไปวางบนส่วนบนสุด ของพวงมาลัย แล้วตรงกับข้อมือ ขาต้องสามารถเหยียบแป้นคลัทช์จนจม โดยไม่ต้องเหยียดข้อเท้าแบบสุดแบบนักบัลเล่ต์ ส่วนใต้ของขาอ่อนดันกับเบาะนั่งส่วนหน้าจนรูสึกว่าน้ำหนักตัวที่ลงตรงสะโพกพอดี และยังสัมผัสกับพนักพิง

2. นั่งชิดพวงมาลัยเพื่อให้มองเห็นหน้ารถ
เป็นท่านั่งที่อันตราย เพราะตัวอาจกระแทกกับพวงมาลัยบาดเจ็บ ผู้ที่นั่งใกล้พวงมาลัยเกินไป มักเป็นผู้ที่ไม่คอยให้ความสนใจกับรถนัก และได้รับการสอนท่านั่งมาแบบผิดๆ ลำตัวที่อยู่ชิดกับพวงมาลัย นอกจากจะทำให้หมุนพวงมาลัยไม่ถนัดเพราะแขนงอมากเกินไป ยังเพิ่มความเสี่ยง ให้แก่ตัวผู้ขับที่อาจจะบาดเจ็บจากการที่ลำตัวกระแทกกับพวงมาลัย และแรงระเบิดจากถุงลมนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow