ความเข้าใจผิด เรื่อง “วันคุ้มครอง” และ “วันออกเอกสารกรมธรรม์”
เรื่องของ ความเข้าใจผิด เรื่อง “วันคุ้มครอง” และ “วันออกเอกสารกรมธรรม์”การสมัครทำประกันภัย ไม่ว่าจะประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ ฯลฯ
“วันคุ้มครอง” คือ วันที่การสมัครทำประกันนั้นๆ เป็นผลเเล้ว แม้เอกสารจะยังไม่เรียบร้อย เนื่องจาก ต้องส่งต่อไปยังแผนกพิมพ์เล่ม
การพิจารณาใบสมัครประกันภัย เมื่อพิจารณา อนุมัติเเล้วก็จะเข้าสู่ระบบซึ่งสามารถตรวจสอบได้ อาจจะโดยการโทรไปถาม ที่บริษัทฯ
เมื่ออนุมัติความคุ้มครองเเล้ว เเล้วขั้นตอนต่อไป ทางบริษัทฯจะส่งไปแผนกออกกรมธรรม์ สำหรับจัดทำพิมพ์รูปเล่มกรมธรรม์ เพื่อจัดส่งต่อไป
ดังนั้น “เล่มกรมธรรม์ ” (เอกสารกรมธรรม์) กับ วันที่คุ้มครอง (วันที่อนุมัติความคุ้มครอง) จึงไม่ตรงกัน เพราะเป็นคนละขั้นตอนกัน
เนื่องจากขั้นตอนการออกกรมธรรม์ เป็นขั้นตอนต่อจากอนุมัติความคุ้มครอง
มันเป็นคนละเรื่องเดียวกัน แม้เเต่ตัวของพนักงานบริษัทประกันภัยเองก็ใช้คำเหล่านี้สับสนกัน
ตัวอย่าง กรณีการสมัครทำประกันรถยนต์
1. ตัวเเทน/นายหน้าเเจ้ง ไปยังบริษัท
2. บริษัทรับเเละตรวจสอบเบื้องต้น หากเงื่อนไขการสมัครครบถ้วน บริษัทออก “เลขเเจ้ง”
3. บริษัทออกเลขที่กรมธรรม์ (ถือว่าคุ้มครองโดยสมบูรณ์เเล้ว) หลังจาก ตรวจสภาพรถยนต์ผ่าน (กรณีทำประกันภัยรถยนต์ประเภทหนึ่ง หรือ ที่ต้องมีการตรวจสภาพรถก่อนทำประกัน)
4. เข้าสู่กระบวนการออกเล่มกรมธรรม์ (อาจจะใช้เวลาการพิมพ์เล่ม)
5. ดำเนินการ จัดส่งเอกสาร
บริษัทที่บริการดีๆ และพัฒนาระบบที่ดีเเล้ว จะสามารถส่งกรมธรรม์นั้น ตรงไปลูกค้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นช่องทาง ผ่านตัวเเทน/นายหน้า เท่านั้น
บางบริษัทฯ ประกัน ขาดวิสัยทัศน์ อย่างมากเกี่ยวกับ กระบวนการจัดส่งเล่มกรมธรรม์ เนื่องจาก กำหนดช่องทางการส่งมีเพียงเเค่ การส่งผ่านตัวเเทน/นายหน้า หรือ ให้ตัวเเทนนายหน้าเเวะไปรับที่บริษัท เท่านั้น
ถ้าคุณเป็นตัวเเทน/นายหน้า และมีความจำเป็นต้องเดินทางบ่อย เช่น ไปต่างจังหวัด ไปต่างประเทศ ด้วยระบบการจัดส่งเอกสารที่จำกัดขาดความยืดหยุ่นของบริษัทประกันภัยดังกล่าว จะสร้างปัญหาให้คุณได้มากเเค่ไหน!
จากการสอบถามบางบริษัท ทราบว่า … เหตุผลแท้จริงที่ทำให้บริษัท ประกัน เหล่านั้น เลือกใช้วิธีการดังกล่าว เพราะ เอกสารถูกตีกลับมาค่อนข้างมาก เนื่องจากที่อยู่ไม่อัพเดท ที่อยู่มีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่มีคนรับ เเล้ว ตัวเเทน/นายหน้า เหล่านั้นไม่ได้แจ้งไปยัง บริษัทฯ ประกัน ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการทำงานที่ไม่รอบคอบ ของตัวเเทนเหล่านั้น
บริษัทดังกล่าว แก้ปัญหาแบบง่ายๆ (ต้องใช้คำว่า แก้ปัญหาแบบ “มักง่าย”) โดยจัดส่งกรมธรรม์ ให้ตัวเเทน/นายหน้า เท่านั่น!
ทำให้ ตัวเเทน/นายหน้า ที่ไม่ได้สร้างปัญหานั้นด้วย ได้รับผลกระทบตามไปด้วยต่อกรณีดังกล่าว ทั้งที่ในความเป็นจริงเเล้ว บริษัทควรหามาตรการ ลงโทษ ปรับ หรือมีเงื่อนไข ให้คิดค่าใช้จ่าย ค่าเสียเวลา , กรณีการร้องขอให้จัดส่งเอกสารตรงไปยังลูกค้าเเต่มีการตีกลับเอกสารมา ซึ่งก็อยู่ในวิสัยที่ทำได้ เเละยุติธรรม
เนื่องจากสร้างปัญหาให้บริษัท ถือเป็นบทลงโทษ แต่ก็แปลก ที่บริษัทประกันฯ บางเเห่งเลือกที่จะยกเลิกช่องทางการส่งกรมธรรม์ตรงไปหาลูกค้าซะงั้น
บริษัทจัดส่งเล่มกรมธรรม์ให้==> ตัวเเทน/นายหน้า ==> ส่งต่อให้ลูกค้า
ล่าช้า เสี่ยงต่อการสูญหาย เปลืองค่าใช้จ่าย
ที่น่าผิดหวังกว่านั้น คือ บางบริษัทประกันฯ ไม่รับฟังความคิดเห็นของ ตัวเเทน/นายหน้า
ตัวอย่างของระบบการส่งกรมธรม์ที่ยอดเยี่ยม
จากการได้ใช้บริการ ได้สัมผัสการทำงานร่วมกันมาหลายปี เช่น บริษัท กรุงเทพประกันภัย (มหาชน) จำกัด
กรุงเทพประกันภัย สามารถจัดส่งเล่มกรมธรรม์ตามที่ร้องขอได้ ส่งโดยพนักงานส่งเอกสารก็ได้
ด้วยนโยบายดังกล่าว สร้างความสะดวกอย่างมากให้กับลูกค้าเเละตัวเเทน/นายหน้า นี่ต่างหากคือ บริการที่เกิดจาก วิสัยทัศน์ที่ดีจริงๆ