คดีตัดนิ้ว 16 ล้าน จุดชี้ขาด‘ใบคำขอ-บาดแผล’ (ปี 2007)
คดีตัดนิ้ว 16 ล้าน จุดชี้ขาด‘ใบคำขอ-บาดแผล’ ปี 2007
คดี “ตัดนิ้ว” เมื่อบริษัทประกันภัยกว่า 30 บริษัท ได้รวมตัวกันยื่นร้องต่อกองปราบปรามให้ตรวจสอบการเอาประกันภัยของนายพิเชษฐ์ พรตันติพงศ์ ข้อหาไม่สุจริตใจในการทำประกันภัยเนื่องจากเอาประกันภัย
ด้วยทุนสูงถึง 68 ล้านบาท
จำนวนกรม ธรรม์ 60 ฉบับ
กับบริษัทประกันภัยกว่า 30 บริษัท
เฉพาะในปี 2549 ปีเดียวมี 53 ฉบับ ทุนประกัน 57 ล้านบาท
ก่อนที่จะมาเกิดอุบัติเหตุนิ้วหัวแม่มือซ้ายขาดเมื่อปีที่ผ่านมาและเรียกเคลมจากบริษัทประกันภัยจนกลายเป็นข่าวค รึกโครมพาดหัวไม้หน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์หัวสีเกือบทุกฉบับ ในตอนนี้
หลังจากก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ “สยามธุรกิจ” เคยนำเสนอข่าวนี้มาครั้งหนึ่งแล้วติดต่อกันหลายฉบับในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา โดยการนำเสนอข่าวในตอนนั้นทางบริษัทประกันภัยยืนยันปฏิเสธไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัย ซึ่งหากเป็นนิ้วซ้ายขาดลักษณะนี้ต้องจ่าย 25% ของทุนประกันหรือประมาณ 16 ล้านบาท เนื่องจากพบพิรุธว่าไม่ใช่อุบัติเหตุเป็นการตัดนิ้วตัวเองเพื่อหวังิเงินประกันิและยกประเด็นิแถลงข้อเท็จจริงิไม่ครบมาบอกล้า งสัญญากรมธรรม์เป็นิโมฆียะ ก่อนที่เรื่องจะเงียบหายไปจนฉาวขึ้นอีกครั้ง
นายถนัด จีรชัยไพศาล ประธานคณะอนุกรรมการประกันภัยเบ็ดเตล็ด สมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องแจ้งความกับกองปราบปรามเพราะหลังจากคณะทำงานบริษัทร่วมรับประกันภัยได้ร่วมกันพิจารณาตามข้อมูลที่ มีแล้วพบว่านายพิเชษฐ์มีพฤติกรรมการทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล(พีเอ) เป็นพิรุธจริงเพราะหากพิจารณาในแง่การขอเอาประกันภัยผิดปกติอย่างมากโดยเริ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ตระเวนซื้อกรมธรรม์จากบริษัทประกันภัยหลาย 10 บริษัทในจังหวัดภูเก็ตอย่างต่อเนื่องทุกเดือน จนมาถึงการซื้อกรมธรรม์ฉบับสุดท้ายเมื่อวันที่ 6ตุลาคม 2549 ก่อนจะเกิดเหตุการณ์นิ้วขาดในวันที่ 11 ตุลาคม 2549 หรือหลังทำประกันฉบับสุดท้ายเพียง 5 วัน
3-4 ปีก่อนหน้านี้นายพิเชษฐ์ทำประกันพีเอมาก่อนเริ่มจากปี 2537 มีทุนประกัน 1.5 ล้านบาท ก่อนที่จะเพิ่มทุนประกันเป็น 2.9 ล้านบาทในปี 2548 และเริ่มผิดปกติในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2549 เพราเริ่มทำประกันด้วยทุนประกันสูงขึ้นตลอดเป็น 20.9 ล้านบาทและซื้อประกันเพิ่มให้ตัวเองติดต่อกันอีกทุกเดือนคือตั้งแต่กุมภาพันธ์จนถึงตุลาคม 2549 มีกรมธรรม์ทั้งสิ้น 53ฉบับ ทุนประกันรวม 57 ล้านบาท
ซึ่งเมื่อดูลักษณะของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้วส่งสัยว่าหวังผลจากการเอาประกันภัยโดยมิชอบ อีกทั้งเงินค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทต้องจ่ายเป็นเงินจากเบี้ยที่ผู้เอาประกันรายอื่นจ่าย ถ้าหากมีผู้เอาประกันภัยรายใดได้รับการชดใช้ค่าสินไหมโดยมิชอบจะส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยรายอื่นอาจจะต้องชำระเบี้ยเ พิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะนี้บริษัทร่วมรายอื่นๆได้ทยอยเข้าแจ้งความกับกองปราบปรามแล้ว
นายกิตติ เศรษฐฉัตรกุล ที่ปรึกษาสำนักนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า หลังจากดูฟิล์มตลอดจนภาพถ่ายบาดแผลที่ผู้เอาประกันภัยถ่ายไว้และจำลองภาพเหตุการณ์ตามที่ผู้เอาประกันภัยบอกลัก ษณะของภาพไม่ใช่ลักษณะธรรมชาติของการใช้มือหยิบจับสิ่งของ อีกทั้งเวลาตัดนิ้ว นิ้วจะไม่หลุดในทันทียังมีกระดูกติดค้างอยู่ ต้องมีคนดึงออกจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะกระเด็กตกลงไปในหม้อตามที่ผู้เอาประกันภัยบอกไม่ใช่เป็นอุบัติเหตุธรรมดา
นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา คณะทำงานบริษัทร่วมรับประกันภัย กล่าวเสริมว่า เนื่องจากผู้เอาประกันภัยเคยเป็นตัวแทนบริษัทประกันชีวิตมาก่อนจึงรู้ขั้นตอนการเคลมและเอกสารที่ต้องใช้คือใบรับรองแ พทย์ซึ่งหลังจากไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลภูเก็ตใช้เวลารักษาบาดแผลอยู่ 2 ชั่วโมงได้ขอให้แพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้ทันที ซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่า ขณะใช้มีดสับกระดูกเพื่อปรุงอาหารเกิดตกใจเนื่องจากเพื่อนทำหม้อตกทำให้สับพลาดโดนนิ้วหัวแม่มือซ้ายขาดและนิ้วกระ เด็นตกลงไปในเตาไฟจนไหม้เกรียมไม่สามารถต่อได้เพราะเซลส์ตายหมด
ผู้เอาประกันภัยรายนี้เป็นเจ้าของหอพักอยู่ภูเก็ตและเปิดร้านเสริมสวยให้ภรรยาดูแลโดยเป็นหุ้นส่วนกับเพื่อน 30:70 ซึ่งจากการตรวจสอบประวัติพบว่ามีการเปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมา ขณะที่สถานสมรมแต่ละครั้งระบุไม่ตรงกัน ซึ่งหลังจากเกิดเคลมทางบริษัทร่วมรับประกันภัยได้ตรวจสอบข้อมูลการรับประกันภัยพบว่าในใบคำขอไม่ได้แถลงเท็จจริง ทั้งหมดคือไม่ได้ระบุว่าก่อนทำประกันภัยกับบริษัทนี้มีประกันภัยกับบริษัทใดมาก่อนแล้วบ้าง อาทิ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด ซื้อทุนประกัน 200,000บาทวงเงินไม่มากเพราะผู้เอาประกันอ้างว่ามีรายได้ปีละ 1 ล้านบาทหากแถลงว่ามีประกันที่อื่นมาก่อนบริษัทอาจจะระมัดระวังในการรับประกันภัยมากกว่านี้อาจจะไม่พิจารณารับประกั นก็ได้
และเมื่อรวบรวมข้อมูลพร้อมย้อนไปดูประวัติการทำประกันภัยของผู้เอาประกันภัยรายนี้ยิ่งพบความไม่ชอบมาพาก ลเริ่มทำประกันชีวิตเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2537 กับบมจ.ศรีอยุธยา จาร์ดีน ซีเอ็มจีประกันชีวิต ทุน 500,000 บาท ก่อนจะซื้อประกันกับบริษัทอื่นเพิ่มมาตลอดตั้งแต่ปี 2537-2548 มีประกันวงเงินทั้งสิ้น 2.9 ล้านบาทถือว่าไม่เยอะตลอด 10 ปีหลังจากนั้นไม่เคยซื้อประกันเลย
เพิ่งมาซื้อประกันอีกครั้งเมื่อปี 2549 เริ่มจากวันที่ 27 ก.พ.ทำประกันพีเอรวดเดียวถึง 6 ฉบับกับหลายบริษัทเฉลี่ยกรมธรรม์ละ 2 ล้านบาททุนประกันรวม 11 ล้านบาทถัดมาอีก 1 วันทำพีเออีก 4 ฉบับวงเงิน 7 ล้านบาท เฉพาะเดือนก.พ.เดือนเดียวซื้อ 10 กรมธรรม์ 10 บริษัท ทุนประกันทั้งสิ้น 18 ล้านบาท ถัดมารุ่งขึ้นหรือ 1 มี.ค.ซื้อประกันอีก 6 บริษัท ทุนประกันรวม 9.5 ล้านบาทรวมตลอดเดือนมี.ค.ซื้อประกันอีก 14 กรมธรรม์ ทุนประกันรวม 16.9 ล้านบาทเฉพาะในช่วง 2 เดือนนี้น่าสังสัยมากเพราะเพิ่มทุนเร็วมาก
แม้เดือนเม.ย.จะน้อยเพราะซื้อแค่ 3 ฉบับทุนประกันรวม 1.9 ล้านบาทแต่พ.ค.ก็ตระเวณซื้อล็อตใหญ่อีกยกรวม 14 ฉบับ ทุนประกัน 14.35 ล้านบาท เฉพาะเดือนก.ย.-เม.ย.ซื้อไปถึง 41 กรมธรรม์ ทุนประกันรวม 51.15 ล้านบาท ที่น่าสังเกตุคือเบี้ยประกันภัยก็จ่ายเพิ่มขึ้นตลอดเช่นกันดือนก.พ.จ่าย 64,000 ล้านบาท มี.ค. 5-80,000 บาท เม.ย. 32,000 บาท พ.ค. 90,900 บาท ทั้งที่ผู้เอาประกันภัยมีรายได้แค่ปีละ 1 ล้านบาท เท่ากับมีรายได้ตกดือนละ 83,000 บาท แต่กลับซื้อประกันเกินกว่า 50% ของรายได้ในแต่ละเดือน ทั้งที่การซื้อประกันภัยปกติทั้งประกันชีวิตและประกันพีเอวงเงินเอาประกันต่อคนไม่ควรเกิน 5-10 เท่าของรายได้ต่อปี เช่น มีรายได้ 1 ล้านบาทควรซื้อไม่เกิน 10 ล้านบาทตามฐานานุรูป ซึ่งการซื้อประกันปกติปีหนึ่งไม่ควรเกิน 10 กรมธรรม์
เมื่อดูจากพฤติกรรมการทำประกันภัยและลักษณะการเกิดอุบัติเหตุมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ขณะที่พฤติกรรมการแจ้งการเคลมของเขาไม่ได้แจ้งอย่างเป็นทางการเพราะแจ้งด้วยวาจาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคมหลังเกิดเหตุ 7 วัน ตอนนั้นเริ่มตรวจสอบพบข้อพิรุธแต่ยังไม่ทำอะไรรอเอกสารให้ครบก่อนประมาณ 24-29 ตุลาคมหลังจากนั้นเมื่อเริ่มตรวจสอบลึกลงไปส่งเซอร์เวเยอร์ลงไปดูพบความผิดปกติหลายอย่างหลายบริษัทจึงปฏิเสธการ จ่ายสินไหมและทยอยบอกล้างกรมธรรม์เป็นโมฆียะพร้อมคืนเบี้ยประกันภัย ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์บอกว่าการปฏิเสธสินไหมต้องมีหลักฐานยืนยันจึงคุยกับทางตำรวจมีข้อมูลมากกว่านี้มั๊ย ตำรวจเลยลงมาดูเรื่องให้และบอกว่าเคสนี้มีอะไรไม่ปกติจึงเข้าแจ้งความกับกองปราบฯ
สำหรับบริษัทที่ผู้เอาประกันภัยรายนี้ซื้อทุนประกันไว้มากที่สุดคือบริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด จำนวน 9 กรมธรรม์ วงเงิน 6 ล้านบาท รองลงมาคือบริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด(มหาชน) ทุนประกัน 5 ล้านบาท 4 กรมธรรม์และบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด(มหาชน) ทุนประกัน 5 ล้านบาท จำนวน 2 กรมธรรม์
หากผู้เอาประกันภัยจะฟ้องร้องคงต้องไปพิสูจน์กันกันในศาลว่าเป็นอุบัติเหตุจริงหรือไม่ การที่เราแจ้งความกับกองปราบปรามใช่เป็นการชิงจังหวะกลัวผู้เอาประกันภัยไปแจ้งความก่อนเพราะบริษัทปฏิเสธไม่จ่ายค่ าสินไหมแต่เราทำเพราะรวบรวมหลักฐานได้ครบแล้ว ขณะที่กรมฯเรามีหนังสือแจ้งไปยังท่านอธิบดีตั้งแต่เกิดเหตุแล้วว่าเราปฏิเสธการจ่ายสินไหมเพราะสงสัยว่าทุจริต กรมฯยังไม่เคยเรียกเราไปคุยเลยเพราะเท่าทราบผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้ไปทำเรื่องร้องเรียนกับทางกรมฯมีแค่ขอปรึกษาไ ปเท่านั้น ในอดีตเคยเจอเคสทุจริตใหญ่ๆวงเงินเป็น 100 ล้านบาททั้งประกันพีเอ ประกันอัคคีภัย
นายพนัส สุขเจริญ ประธานชมรมประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ สมาคมประกันวินาศภัยกล่าวว่า แนวโน้มของคดีนี้จะดูหลักฐานข้อเท็จจริงเป็นหลัก ซึ่งจากหลักฐานที่มีอยู่พิจารณาได้ว่า การกระทำดังกล่าวไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองเพราะไม่ใช่อุบัติเหตุ อีกทั้งผู้เอาประกันภัยยังปกปิดสาระสำคัญในการทำประกันภัยเปิดเผยข้อมูลการทำประกันภัยไม่ครบเพราะแม้พื้นที่ในใบคำ ขอจะมีน้อยแต่หากมีเจตนาบริสุทธิ์สามารถใส่จำนวนบริษัทประกันภัยที่ทำประกันไว้ลงไปได้ ซึ่งขณะนี้เชื่อว่าทุกบริษัทได้บอกล้างสัญญากรมธรรม์เป็นโมฆียะไปหมดแล้วพร้อมกับคืนเบี้ยประกันเต็มจำนวนที่จ่ายมาคื อกว่า 300,000 บาท
อย่างไรก็ดี นายถนัดกล่าวว่า จากเคสประวัติศาสตร์นี้ ทางคณะอนุกรรมการฯได้เตรียมมาตรการป้องกันเบื้องต้นโดยสร้างระบบฐานข้อมูลขึ้นมาให้บริษัทสมาชิกที่รับประกันพีเอว งเงินเกิน 3 ล้านบาทต่อกรมธรรม์ส่งรายชื่อผู้เอาประกันภัยเข้ามายังฐานข้อมูลเพื่อให้บริษัทสมาชิกสามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลการ ทำประกันภัยผู้เอาประกันภัยแต่ละรายได้มีจำนวนกรมธรรม์กับบริษัทใดบ้างและทุนประกันเท่าไร
ฟากสมาคมประกันชีวิตไทย โดยนางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนว่า ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้นก็ตามหากมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ผิดปกติบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยจะ ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆก่อน หากพบว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยปกติหรือธรรมชาติหรืออุบัติเหตุ โดยผู้เอาประกันภัยไม่มีเจตนาปิดบังข้อเท็จจริงหรือทุจริตบริษัทจะจ่ายค่าสวินไหมทดแทนให้ โดยผู้เอาประกันภัยต้องกรอกใบคำขอเอาประกันภัยตามความเป็นจริงและครบถ้วนสมบูรณ์ แต่เคสนายพิเชษฐ์ หลังจากบริษัทได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆแล้วพบว่ามีข้อสังเกตุที่ผิกปกติหลายประการ ทางบริษัทจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่าผู้เอาประกันภัยรายนี้ตัดนิ้วหัวแม่มือตนเองหรือไม่เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมสูงถึง 16 ล้านบาท
นายอำนวย สุภเวชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกรมการประกันภัยกล่าวว่า หากผู้เอาประกันภัยจะเลือกต่อสู้คดีด้วยการฟ้องร้องสามารถทำได้โดยอาจจะยื่นฟ้องกับอนุญาโตตุลาการของกรมการประ กันภัยก็ได้ โดยการต่อสู้คดีในศาลมี 2 ประเด็นคือ 1.เป็นอุบัติเหตุหรือไม่ หากไม่ใช่อุบัติเหตุเป็นการฉ้อฉลเคลมเป็นความผิดทางอาญา และ 2.สัญญากรมธรรม์เป็นโมฆียะหรือไม่ ซึ่งตามคำพิพากษาของศาลฎีกาว่า การที่ไม่บอว่ามีประกันภัยอยู่แล้ว แสดงว่ามีเจตนาไม่สุจริตมีคำพิพากษาว่าสัญญากรมธรรม์เป็นโมฆียะ
หากผู้เอาประกันภัยจะฟ้องร้องคงต้องไปพิสูจน์กันกันในศาลว่าเป็นอุบัติเหตุจริงหรือไม่ การที่เราแจ้งความกับกองปราบปรามใช่เป็นการชิงจังหวะกลัวผู้เอาประกันภัยไปแจ้งความก่อนเพราะบริษัทปฏิเสธไม่จ่ายค่ าสินไหมแต่เราทำเพราะรวบรวมหลักฐานได้ครบแล้ว ขณะที่กรมฯเรามีหนังสือแจ้งไปยังท่านอธิบดีตั้งแต่เกิดเหตุแล้วว่าเราปฏิเสธการจ่ายสินไหมเพราะสงสัยว่าทุจริต กรมฯยังไม่เคยเรียกเราไปคุยเลยเพราะเท่าทราบผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้ไปทำเรื่องร้องเรียนกับทางกรมฯมีแค่ขอปรึกษาไ ปเท่านั้น ในอดีตเคยเจอเคสทุจริตใหญ่ๆวงเงินเป็น 100 ล้านบาททั้งประกันพีเอ ประกันอัคคีภัย
นายพนัส สุขเจริญ ประธานชมรมประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ สมาคมประกันวินาศภัยกล่าวว่า แนวโน้มของคดีนี้จะดูหลักฐานข้อเท็จจริงเป็นหลัก ซึ่งจากหลักฐานที่มีอยู่พิจารณาได้ว่า การกระทำดังกล่าวไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองเพราะไม่ใช่อุบัติเหตุ อีกทั้งผู้เอาประกันภัยยังปกปิดสาระสำคัญในการทำประกันภัยเปิดเผยข้อมูลการทำประกันภัยไม่ครบเพราะแม้พื้นที่ในใบคำ ขอจะมีน้อยแต่หากมีเจตนาบริสุทธิ์สามารถใส่จำนวนบริษัทประกันภัยที่ทำประกันไว้ลงไปได้ ซึ่งขณะนี้เชื่อว่าทุกบริษัทได้บอกล้างสัญญากรมธรรม์เป็นโมฆียะไปหมดแล้วพร้อมกับคืนเบี้ยประกันเต็มจำนวนที่จ่ายมาคื อกว่า 300,000 บาท
อย่างไรก็ดี นายถนัดกล่าวว่า จากเคสประวัติศาสตร์นี้ ทางคณะอนุกรรมการฯได้เตรียมมาตรการป้องกันเบื้องต้นโดยสร้างระบบฐานข้อมูลขึ้นมาให้บริษัทสมาชิกที่รับประกันพีเอว งเงินเกิน 3 ล้านบาทต่อกรมธรรม์ส่งรายชื่อผู้เอาประกันภัยเข้ามายังฐานข้อมูลเพื่อให้บริษัทสมาชิกสามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลการ ทำประกันภัยผู้เอาประกันภัยแต่ละรายได้มีจำนวนกรมธรรม์กับบริษัทใดบ้างและทุนประกันเท่าไร
ฟากสมาคมประกันชีวิตไทย โดยนางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนว่า ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้นก็ตามหากมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ผิดปกติบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยจะ ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆก่อน หากพบว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยปกติหรือธรรมชาติหรืออุบัติเหตุ โดยผู้เอาประกันภัยไม่มีเจตนาปิดบังข้อเท็จจริงหรือทุจริตบริษัทจะจ่ายค่าสวินไหมทดแทนให้ โดยผู้เอาประกันภัยต้องกรอกใบคำขอเอาประกันภัยตามความเป็นจริงและครบถ้วนสมบูรณ์ แต่เคสนายพิเชษฐ์ หลังจากบริษัทได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆแล้วพบว่ามีข้อสังเกตุที่ผิกปกติหลายประการ ทางบริษัทจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่าผู้เอาประกันภัยรายนี้ตัดนิ้วหัวแม่มือตนเองหรือไม่เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมสูงถึง 16 ล้านบาท
นายอำนวย สุภเวชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกรมการประกันภัยกล่าวว่า หากผู้เอาประกันภัยจะเลือกต่อสู้คดีด้วยการฟ้องร้องสามารถทำได้โดยอาจจะยื่นฟ้องกับอนุญาโตตุลาการของกรมการประ กันภัยก็ได้ โดยการต่อสู้คดีในศาลมี 2 ประเด็นคือ 1.เป็นอุบัติเหตุหรือไม่ หากไม่ใช่อุบัติเหตุเป็นการฉ้อฉลเคลมเป็นความผิดทางอาญา และ 2.สัญญากรมธรรม์เป็นโมฆียะหรือไม่ ซึ่งตามคำพิพากษาของศาลฎีกาว่า การที่ไม่บอว่ามีประกันภัยอยู่แล้ว แสดงว่ามีเจตนาไม่สุจริตมีคำพิพากษาว่าสัญญากรมธรรม์เป็นโมฆียะ
เสี่ยปฏิเสธ ตัดนิ้วตัวเอง เอาประกัน16ล.
เสี่ยหอพักโต้เปล่าตัดนิ้วตัวเองเอาประกันภัย 16 ล้าน แต่เกิดจากอุบัติเหตุจริงๆ ยันทำประกันภัยไว้หลายกรมธรรม์เป็นเรื่องปกติ ประชาชนมีสิทธิทำได้ ทางด้านตัวแทนบริษัทประกันภัยรุดแจ้งความกองปราบฯ แล้วให้ดำเนินคดี โดยจะมีอีกกว่า 30 บริษัทประกันมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ทางด้านกองปราบฯ ตั้งคณะกรรมการสอบสวน 13 นาย เตรียมเรียกตัวเสี่ยจากภูเก็ตมาให้ปากคำ แฉเสี่ยทำประกันไว้ถึง 34 บริษัท 57 กรมธรรม์ ทุนประกัน 67.15 ล้าน หากได้รับเงินจากเหตุการณ์นี้ก็จะเป็นเงินถึง 16 ล้าน
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 21 พ.ค. ที่กองปราบปราม นางอุพรรัตน์ บุญวงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ รับมอบอำนาจจากบริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) เดินทางเข้าพบพ.ต.อ.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ รอง ผบก.ป. รักษาการ ผบก.ป. และพ.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ผกก.5 บก.ป. เพื่อร้องทุกข์ให้สอบสวนกรณีเสี่ยเจ้าของหอพักแห่งหนึ่งในจ.ภูเก็ต ผู้เอาประกันจากบริษัท ได้เกิดอุบัติเหตุขณะใช้มีดปังตอสับหมูแต่เกิดพลาดไปถูกนิ้วโป้งมือซ้ายของตัวเองจนขาด และได้ยื่นเรื่องขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท แต่ทางบริษัทไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ไม่เชื่อว่าเป็นอุบัติเหตุจริง
พ.ต.อ.พงศ์พัฒน์ กล่าวว่า เรื่องการตัดนิ้วกรณีนี้เป็นคดีที่น่าสนใจ เพราะเป็นคดีสมัยใหม่ เพราะฉะนั้นคงต้องใช้ความรู้ในการสืบสวนสอบสวนแบบใหม่ และใช้วิทยาศาสตร์ประยุกต์เข้ามาคลี่คลายเรื่องนี้ ซึ่งในวันนี้ทางบริษัทไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัยมายื่นเรื่องขอให้ดำเนินคดีกับผู้เอาประกันรายนี้ และจะมีบริษัทประกันภัยบริษัทอื่นๆ ที่ผู้เอาประกันรายนี้ทำไว้ซึ่งมีอีกกว่า 30 บริษัทที่จะเข้ามาพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วย ส่วนผลการสอบสวนจะเป็นประการใดนั้น พนักงานสอบสวนจะต้องเร่งรัดทำหน้าที่เพื่อให้กรณีนี้กระจ่างชัดโดยเร็วที่สุด ส่วนขั้นตอนต่างๆ ที่จะต้องทำก็คือการเรียกตัวผู้ต้องสงสัยมาสอบปากคำตามขั้นตอนของกฎหมาย อย่างไรก็ตามพนักงานสอบสวนยังไม่ได้สรุปหรือปรักปรำในทันที แต่ได้รับรายงานจากพนักงานสอบสวนว่ามีความน่าเชื่อถือว่าควรจะต้องทำการสอบสวน
“เราเริ่มทำการสอบสวนมาประมาณ 4 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ได้เชิญตัวผู้ต้องสงสัยมาสอบสวน ส่วนรายละเอียดที่ว่าคดีมีความน่าเชื่อถืออย่างไรนั้นคงไม่สามารถเปิดเผยได้ ทั้งนี้ในการสอบสวนสมัยใหม่นี้หากมีการกระทำผิดเกิดขึ้นจริง ผู้กระทำผิดนั้นรอดเงื้อมมือกฎหมายยากขึ้น” พ.ต.อ.พงศ์พัฒน์ กล่าว
นางอุพรรัตน์ กล่าวว่า ผู้เอาประกันรายนี้ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าได้ทำกรมธรรม์ไว้เป็นจำนวนมากถึง 30 กว่าบริษัท ซึ่งในบริษัทต่างๆ ได้มีการประชุมร่วมกันและมีมติในที่ประชุมว่าจะให้กองปราบปรามสืบสวนข้อเท็จจริงให้ ทั้งนี้ลักษณะกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันรายนี้ทำไว้นั้นเป็นกรมธรรม์อุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นการจ่ายเบี้ยประกันแบบปีต่อปีซึ่งไม่แพงมาก โดยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่บริษัทมีกรณีแบบนี้ โดยผู้เอาประกันแจ้งว่าเกิดอุบัติเหตุกับนิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายทั้งสองข้อนิ้ว จากนี้ไปเป็นหน้าที่ของตำรวจตรวจสอบว่าเหตุที่เกิดขึ้นมาจากอุบัติเหตุหรือไม่
สำหรับทุนประกันทั้งหมดที่ทำไว้กับทางบริษัทเป็นเงิน 5 ล้านบาท ซึ่งตามสัญญาที่กำหนดไว้ในกรณีนี้ บริษัทจะต้องจ่ายสินไหมทดแทน จำนวน 25 เปอร์เซ็นต์ของทุนประกัน คือประมาณ 1.2 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับที่เกิดขึ้นนี้ถ้าคดีมีมูลก็จะเข้าข่ายความผิดในข้อหาผู้ใดพยายามโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกหรือบุคคลที่สาม ผู้นั้นกระทำผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 และ 80 ต้องระวางโทษสองในสามของโทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภายหลังพ.ต.อ.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ รอง ผบก.ป. รักษาการ ผบก.ป. รับเรื่องร้องทุกข์ไว้แล้ว จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนที่ 82/2550 ความว่า ด้วยเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา นางอุพรรัตน์ บุญวงศ์ ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้มาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายพิเชษฐ์ พรตันติพงศ์ อายุ 38 ปี ผู้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลของบริษัทยื่นหนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่เอาประกันภัยอ้างว่าประสบอุบัติเหตุฟันนิ้วหัวแม่มือตนเองขาด แต่จากการตรวจสอบพบว่า ผู้เอาประกันภัยรายนี้ได้ทำประกันภัยในลักษณะเดียวกันกับบริษัทประกันภัยอื่นๆ กว่า 30 บริษัท มีวงเงินประกันสูงกว่า 60 ล้านบาท มีความสงสัยตามสมควรว่าอุบัติเหตุตามที่อ้างเป็นการอำพรางเพื่อหวังเงินประกันภัยดังกล่าว จึงขอให้สืบสวนข้อเท็จจริงหากพบว่าเป็นความผิดอาญาก็ประสงค์ให้ดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องทุกคน ทุกฐานความผิด
กองปราบปรามเห็นว่าคดีดังกล่าวประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจ มีทุนทรัพย์สูง ผลการสืบสวนพบมูลความผิดตามที่ร้องเรียน โดยมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน มุ่งหวังเงินประกันภัยอุบัติเหตุจำนวนมากที่เอาประกันไว้ เพื่อให้การสืบสวนสอบสวนเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายจึงตั้งข้าราชการตำรวจรับผิดชอบสืบสวนคดีนี้ทั้งสิ้น 13 นาย มีพ.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ผกก.5 บก.ป. เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน และพ.ต.ท.สมควร พึ่งทรัพย์ รอง ผกก.4 บก.ป. เป็นรองหัวหน้า
นายพิเชษฐ์ พรตันติพงศ์ อายุ 38 ปี เสี่ยเจ้าของหอพัก ที่ถูกกล่าวหาตัดนิ้วตัวเองเอาเงินประกัน ชี้แจงทางโทรศัพท์ว่า หลังเกิดอุบัติเหตุกับนิ้วมือตัวเองได้รีบเข้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ถ่ายภาพไว้ทั้งหมด และตนได้ติดต่อเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันมาสำรวจเหตุที่เกิดขึ้นด้วย ได้ให้ข้อมูลไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทุกอย่างในเรื่องนี้ พร้อมให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เป็นกลางมาตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
นายพิเชษฐ์ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำกรมธรรม์ไว้หลายฉบับนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะเท่าที่ทราบมีบางคนที่ทำประกันไว้มากกว่าตนด้วยซ้ำ เรื่องนี้เป็นสิทธิที่ประชาชนทั่วไปทำได้ แต่ไม่ทราบว่าเหตุใดทางบริษัทจึงมองว่าตนมีเจตนาส่อพิรุธ ขอยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอุบัติเหตุจริงๆ และไม่เคยมีเจตนาฉ้อฉลเพื่อขอรับสินไหมทดแทน อย่างไรก็ตาม จะไม่ขอพูดอะไรมาก เพราะต้องเตรียมพยานหลักฐานให้ทนายความเพื่อมาต่อสู้หักล้างข้อกล่าวหาของทางบริษัทประกันภัย และอยากขอพึ่งกระบวนการยุติธรรมให้ความเป็นธรรมกับตนด้วย
เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวเดินทางไปยังบ้านเลขที่ 30/193 หมู่ 1 ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นบ้านของนายพิเชษฐ์ ปรากฏว่าเป็นบ้านสองชั้นสองหลังหันหน้าเข้าหากันทาสีบ้านด้วยสีเขียว ตบแต่งอย่างสวยงาม หน้าบ้านเขียนป้ายว่า “บ้านพลอยสวย” พร้อมห้ามบุคคลภายนอกเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
นายพิเชษฐ์ กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ไม่อยากพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นโดยได้มีการมอบหมายให้ทางทนายความส่วนตัวไปดำเนินการหมดแล้ว โดยตนเองจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด เป็นเรื่องของทนายที่จะไปดำเนินการ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าใครถูกใครผิด และขณะนี้ยังไม่พร้อมที่จะให้สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูลใดๆ ขอให้คดียุติก่อนถึงจะให้สัมภาษณ์และตนเองก็ไม่ได้หลบหนีไปไหน ยังคงทำงานธุรกิจของตนตามปกติอยู่ในจ.ภูเก็ต และมั่นใจว่าไม่ได้ทำผิดอะไรจึงไม่จำเป็นจะต้องหลบหนีไปไหน อีกอย่างตนมีธุรกิจหลายอย่างที่จะต้องทำและดูแลจึงไม่ทราบว่าจะหนีไปเพื่ออะไร
ทางด้านนางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยถึงกรณีที่บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย แจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจ กล่าวหาลูกค้ามีพฤติกรรมหลอกลวงกรณีนิ้วขาดว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อน จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่าบุคคลดังกล่าวมีการทำประกันภัยกับบริษัท แบ่งออกเป็นบริษัทประกันวินาศภัย (อุบัติเหตุส่วนบุคคล) จำนวนประมาณ 27 บริษัท และบริษัทประกันชีวิต 7 บริษัท คิดเป็นจำนวนกรมธรรม์ทั้งสิ้น 57 กรมธรรม์ โดยมีทุนประกันรวมทั้งสิ้น 67.15 ล้านบาท หากนิ้วขาดจะได้รับค่าสินไหมประกันภัยสูงถึง 16 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่าบุคคลดังกล่าวทำประกันไว้กับหลายบริษัทมาก แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่บริษัทประกันภัยจะรับทำประกันภัย แต่ละบริษัทจะมีแบบฟอร์มให้ลูกค้าที่จะทำประกันภัยกรอกรายละเอียดอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้บริษัทรับรู้ได้ว่าลูกค้าคนดังกล่าวมีการทำประกันชนิดเดียวกันนี้มาก่อนหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความบริสุทธ์ใจของลูกค้าในการกรอกข้อมูลด้วย
“กรณีนี้บริษัทประกันภัยเองก็ไม่ได้มีการตรวจสอบหรือเช็กข้อมูลระหว่างกันก่อนว่าลูกค้ารายนี้เคยทำประกันภัยที่ไหนมาบ้าง ทำให้ลูกค้ารายนี้ทำประกันภัยไว้หลายบริษัท ซึ่งหากเช็กกันก่อนคงไม่เกิดกรณีนี้ เพราะซื้อประกันครั้งละหลายๆ บริษัทนี้ถือว่าเป็นเรื่องน่าแปลก ซึ่งกฎหมายประกันภัยก็เปิดช่องให้บริษัทสามารถปฏิเสธการทำประกันภัยได้ถ้าลูกค้ามีการปกปิดข้อมูล เช่นทำไว้กับหลายบริษัทแล้วแต่บอกยังไม่ได้ทำ กรมคงไม่มีมาตรการพิเศษอะไรเข้าไปช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ บริษัทประกันภัยคงต้องร่วมมือกันเรื่องของการแลกเปลี่ยนข้อมูลมากขึ้น อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัทประกันภัยกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยจะต้องรอดูผลพิสูจน์ทางนิติวิทยาว่าเป็นอุบัติเหตุหรือไม่ หากเป็นอุบัติเหตุบริษัทต้องจ่าย แต่หากไม่ใช่ผู้เอาประกันจะต้องถูกดำเนินคดี” นางจันทรากล่าว
นายถนัด จิรชัยไพศาล ประธานคณะอนุกรรมการประกันภัยเบ็ดเตล็ด และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส หัวหน้ากลุ่มประกันภัย บริษัทไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด กล่าวว่า เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว สมาคมประกันวินาศภัยได้จัดทำระบบฐานข้อมูลให้บริษัทสมาชิกแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าที่มีทุนประกันเกินกว่า 3 ล้านบาทมายังศูนย์กลาง เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการพิจารณารับทำประกันภัย ซึ่งจะช่วยป้องปรามได้ในระดับหนึ่ง โดยคณะอนุกรรมการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จะเข้ามาช่วยพิจารณาเรื่องนี้
กรณีดังกล่าวเคยเกิดขึ้นแต่ไม่บ่อย 3 ปีครั้ง แต่กรณีนี้ที่เกิดความผิดพลาดขึ้น ก็เนื่องจากผู้ทำประกันมีการปกปิดข้อมูลที่กรอกลงแบบคำขอรับทำประกันภัย โดยระบุว่าเคยทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลมาเพียง 1-2 บริษัท ทั้งๆ ที่มีการทำประกันกับหลายบริษัท