INSURANCETHAI.NET
Thu 21/11/2024 20:19:11
Home » ประกันรถยนต์ » การขอรับค่าเสียหาย กรณีประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์\"you

การขอรับค่าเสียหาย กรณีประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์

2012/08/07 2584👁️‍🗨️

1. ทำอย่างไร เมื่อมีผู้ประสบภัยจากรถ
อย่าลืมว่า ทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถ หรือเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ ขอให้รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือคลินิกที่ใกล้และสะดวกที่สุดเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว โดยแจ้งกับกับเจ้าหน้าที่ว่าผู้บาดเจ็บได้รับอุบัติเหตุจากรถ และถ้ามีเวลาพอ ช่วยกรุณาตรวจดูเครื่องหมายสี่เหลี่ยมที่ติดอยู่ที่กระจกรถด้วย ว่ารถคันดังที่เกิดเหตุมีประกันภัยหรือไม่ กับบริษัทอะไร เครื่องหมายสีอะไร เครื่องหมายเลขที่เท่าใด เพื่อจะแจ้งโรงพยาบาลและบริษัทได้ถูกต้อง

2. การขอรับค่าเสียหาย
ประสบภัยจากรถ หรือทายาท มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้จาก บริษัทประกันภัย โดยผู้ประสบภัยอยู่ในรถคันใด จะได้รับค่าเสียเบื้องต้น จากบริษัทที่รับประกันภัยรถคันนั้น แต่หากรถ 2 คัน ไปก่อให้ให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล เช่น คนข้าม กรณีนี้บริษัทที่รับประกันภัยรถทั้งสองคัน จะร่วมกันเฉลี่ยชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่าเสียหายส่วนที่เกินจากกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์ความถูกผิดเรียบร้อยแล้ว กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น และเฉพาะในบางกรณีเท่านั้น ผู้ประสบภัยหรือทายาท จะต้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

3. การขอรับค่าเสียหาย
ผู้ประสบภัยจากรถหรือทายาท จะยื่นขอรับค่าเสียหายด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้สถานพยาบาล/โรงพยาบาล เป็นผู้รับแทนก็ได้ขณะนี้ ในส่วนของค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งผู้ประสบภัยมีสิทธิได้รับภายใน 7 วัน นับจากวันร้องขอ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความถูกผิด ผู้ประสบภัยหรือทายาทสามารถขอรับแบบคำขอได้ที่โรงพยาบาลทั่วไป หรือที่สำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมการประกันภัยจากรถกรมการประกันภัย สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยทั้ง 4 เขต ที่สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่บริษัทประกันภัยและสาขาทั่วประเทศ

claim-car-accident

4. แบบคำขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
ขณะรี้กำหนดไว้รวม 4 แบบด้วยกัน แยกตามประเภท ผู้จ่ายและผู้ร้องขอ ประกอบด้วย
ก. กรณีขอรับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย มี 2 แบบ คือ
แบบ บต. 1 ใช้ในกรณีผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรม เป็นผู้ร้องขอ
แบบ บต. 2 ใช้ในกรณีโรงพยาบาล/สถานพยาบาล เป็นผู้ร้องขอ
ข. กรณีขอรับจากบริษัทประกันภัยมี 2 แบบ คือ
แบบ บต. 3 ใช้ในกรณีผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรม เป็นผู้ร้องขอ
แบบ บต. 4 ใช้ในกรณีโรงพยาบาล/สถานพยาบาล เป็นผู้ร้องขอ

4.1 แบบ บต. 1 (1)
กรณีผู้ประสบภัยหรือทายาท ร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทนฯ ต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ในแบ บต. 1 เช่น สถานที่อยู่ วันที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ หมายเลขทะเบียนรถตันที่เกิดเหตุ ชื่อบริษัทผู้ประกันรถคันนั้น แลละเลขที่กรมธรรม์ พร้อมทั้งระบุกรณีที่จะทำให้มีสิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนฯ และต้องแนบหลักฐานประกอบดังนี้ คือ
ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้ของโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานแสดงตัวอื่น ๆ เช่น สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน และในกรณีเสียชีวิตต้องมี สำเนาใบมรณบัตร

4.2 แบบ บต. 1 (2)
ในแบบ บต. 1 นั้น หากผู้ร้องขอเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ผู้ร้องขอก็ต้องแนบหลักฐาน ประกอบคำร้องขอด้วย นอกเหนือจากหลักฐานของผู้ประสบภัย หลักฐานของทายาทผู้ร้องขอ ประกอบด้วยสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานแสดงตัวอื่น ๆ เช่น ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาทะเบียนบ้าน

4.3 แบบ บต. 2
ใช้ในกรณีผู้ประสบภัย มอบอำนาจให้โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล เป็นผู้ร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทนฯ แทนผู้ประสบภัย ลักษณะข้อความในแบบ บต. 2 จะคล้ายคลึงกับแบบ บต. 1 และหลักฐานประกอบคำขอ ก็จะเป็นสำเนาหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ประสบภัยเช่นเดียวกัน

4.4 แบบ บต. 3
เป็นคำขอรับค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยหรือทายาท ร้องขอรับจากบริษัทประกันภัย รายละเอียดต่างๆ ประกอบด้วย ชื่อ ที่อยู่ วันที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ หมายเลขทะเบียนรถที่เกิดเหตุ ชื่อบริษัทรับประกันภัย และเลขที่กรมธรรม์ รวมถึงจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น ฯลฯ และต้องแนบหลักฐานต่อไปนี้ ประกอบคำขอด้วย คือ
(1) ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการแจ้งหนี้ของโรงพยาบาล/สถานพยาบาล
(2) สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดท่าทางราชการเป็นผู้ออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานเป็นผู้ประสบภัย แล้วแต่กรณี และในกรณีเสียชีวิต ต้องมี
(3) สำเนามรณบัตรและ
(4) สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่า ผู้นั้นถึงแก้ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถด้วย ในส่วนหลักฐานของทายาทซึ่งผู้ร้องขอ ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวของทายาทด้วย

4.5 แบบ บต. 4
หากผู้ประสบภัยหรือทายาท ไม่สะดวกที่จะยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากบริษัทประกันภัย ก็สามารถมอบอำนาจให้โดรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเป็นผู้ขอรับแทน ในกรณีนี้โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล ต้องกรอกแบบคำขอที่เรียกว่า แบบ บต. 4 พร้อมหลักฐานประกอบเช่นเดียวกับกรรีอื่น ๆ

4.6 แบบ สม. 5
เมื่อบริษัทได้รับคำขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากผู้ประสบภัยแล้ว บริษัทจะต้องออกหลักฐานให้แก่ผู้ประสบภัย แล้วบริษัทจะต้องออกหลักฐานให้แก่ผู้ประสบภัย เรียกว่า แบบ สม. 5

5. ผู้สุจริตได้รับความคุ้มครอง ผู้ทุจริตกฎหมายลงโทษ
ผู้ประสบภัย หรือทายาทผู้ใด ยื่นคำขอรับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยทุจริต หรือแสดงหลักฐาน อันเป็นเท็จเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ร.บ. นี้มีความผิดมีโทษทางอาญา คือ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. อย่ารับค่าเสียหายเบื้องต้น 2 ต่อ
คำร้องเรียนที่กรมการประกันภัย ได้รับในปัจจุบันซึ่งเกี่ยวข้องกับ การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท ก็คือ ผู้ประสบภัย หรือทายาทได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จากเจ้าของรถที่เป็นผู้ก่อเหตุเรียบร้อยแล้ว และยังใช้สิทธิไปขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ที่ตนทดรองจ่ายไปก่อน ต่อบริษัทเช่นเดียวกัน กรณีเช่นนี้ ขอย้ำความเข้าใจว่า ในกรณีค่าเสียหาย ที่ได้รับจากเจ้าของรถที่ก่ออุบัติเหตุ มีหลักฐานระบุชัดเจนว่า เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ที่เจ้าของรถจ่ายแทนให้บริษัทไปก่อน ผู้ประสบภัยไม่มีสิทธิไปขอรับจากบริษัท หรือกองทุนทดแทนฯ อีก

7. ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด ได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น
กฎหมายนี้ให้ความคุ้มครองทุกคน ที่ประสบภัยจากรถแม้แต่ผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ขับขี่และเป้นฝ่ายต้องรับผิด ในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ก็ยังมีส่วนได้รับการบรรเทาความเดือดร้อน โดยจะได้รับการชดใช้ เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง หรือค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล ตามที่จ่ายจริง หรือเป็นค่าปลงศพแล้วแต่กรณี

แต่หากจะคิดไปถึงว่า เป็นการส่งเสริมให้ผู้ขับขี่ประมาทมากขึ้น กว่าเดิมหรือไม่ คำตอบก็คือการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ผู้กระทำละเมิดจะต้องรับผิดตามกฎหมายอยู่แล้ว ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ไม่มีผลให้ผู้ละเมิดพ้น จากความรับผิดตามกฎหมายอาญาแต่อย่างใด

8 ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น
ความคุ้มครองรวมที่ผู้ประสบภัย จะได้รับจากกรมธรรม์ประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ ขณะนี้กำหนดไว้ไม่เกิน 50,000 บาท/คน สำหรับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย และ 80,000 บาท/คน สำหรับความเสียหายต่อชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพลภาพถาวร

โดยส่วนหนึ่งจะเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ที่ผู้ประสบภัยจะได้รับภายใน 7 วัน นับจากวันร้องขอ โดยไม่ต้องรถพิสูจน์ความผิด สำหรับส่วนที่เกินกว่าความเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับโดยเร็ว หลังจากมีการพิสูจน์ความผิดเรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทประกันภัย ที่เป็นผู้รับประกันภัย รถคันที่ผิดจะเป็นผู้จ่ายค่าเสียหาย ส่วนนี้แก่ผู้ประสบภัย

9. ใครรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ส่วนที่เกินกว่าความคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย
ถ้าเจ้าของรถได้ทำประกันภัย ไว้ในวงเงินคุ้มครอง ที่สูงกว่าที่กฎหมายคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถกำหนด บริษัทประกันภัย จะเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินนั้น แต่ทั้งนี้จะไม่เกินกว่า วงเงินคุ้มครองที่ซื้อไว้

ถ้าเจ้าของรถไม่มีการทำประกันภัย ภาคปกติไว้เกินกว่า ที่กฎหมายกำหนด หรือทำประกันภัยส่วนที่เกินนี้ไว้ แต่ความเสียหาย เกินกว่าวงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์ ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้อง เรียกค่าเสียหายส่วนที่เกินนี้ จากผู้ละเมิดได้ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์

10. บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) (พ.ศ. 2540) และมีสถานที่ดำเนินการ เพื่อให้บริการแก่ผู้ประสบภัย จากรถครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 65/42 A อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ฟิสเนสเซ็นเตอร์ ชั้น 3 ถ. พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กทม. 10320 โทร. 643-0280-92

ในกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถ ที่มีประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย มีความประสงค์จะขอรับค่าเสียหาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 จากบริษัทกลางคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ก็สามารถจะกระทำได้ ในขณะนี้เจ้าของรถจักรยานยนต์ ยังสามารถทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. กับบริษัทกลางได้อีกด้วย

https://www.oic.or.th/th/oicsub/webprov/region6/ratchaburi/images/book02.jpg






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow