INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 0:41:47
Home » อัพเดทประกันภัย » การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง (เฉพาะอาคาร)\"you

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง (เฉพาะอาคาร)

2015/08/10 1998👁️‍🗨️

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง (เฉพาะอาคาร)
วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2010 เวลา 16:58 น. บริษัท ซิกน่าปรอปเปอร์ตี้แอนด์แคสชวลตี้ อินชัวรันซ์ จำกัด
อีเมล พิมพ์ PDF
วิธีการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย
การคำนวณจำนวนเงินเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง(เฉพาะอาคาร)
การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเลือก 2 วิธี
วิธีที่ 1 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ (Replacement Cost Valuation)
วิธีที่ 2 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Actual Cast Value)

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยทั้ง 2 วิธีนี้มีความแตกต่างกันคือ
การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยวิธีที่ 1 ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาของสิ่งปลูกสร้าง (อาคาร)
การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยวิธีที่ 2 ต้องมีการคิดค่าเสื่อมราคาของสิ่งปลูกสร้าง (อาคาร)

ค่าเสื่อมราคาคืออะไร

ค่าเสื่อมราคา (อาคาร) หมาย ถึงมูลค่าของทรัพย์สินที่ลดลงอันเนื่องจากอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้น สำหรับสิ่งปลูกสร้าง (อาคาร) ในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วอาคารหมดอายุ การใช้งานไม่ได้มีการทำลายทิ้งยังใช้งานอยู่ การกำหนดอายุการใช้งานของอาคารมีอายุเกิน 50 ปี ให้มีมูลค่าซากทรัพย์เท่ากับ 20% ของราคาอาคาร ฉะนั้นอัตราค่าเสื่อมราคาอาคารปีละ 1.6%

ปัจจุบันกรมการประกันภัยได้จัดทำวิจัยสรุปราคาสิ่งปลูกสร้าง(อาคาร) เป็นราคา/ตารางเมตรเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ดังตารางนี้

ตารางมาตรฐานราคาสิ่งปลูกสร้าง(อาคาร)

ประเภทของอาคาร ราคา (บาท) / ตารางเมตร
อาคารพาณิชย์ / ทาวเฮ้าส์ 1 ชั้น 7,750.-
อาคารพาณิชย์ / ทาวเฮ้าส์ 2 ชั้น 6,628.-
อาคารพาณิชย์ / ทาวเฮ้าส์ 3 ชั้น 6,977.-
อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 4,982.-
อาคารพาณิชย์ 5 ชั้น 5,937.-
อาคารโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม 5,202.-
อาคารโรงสีเก่า 1,884.-
อาคารโรงสีใหม่ 4,553.-
อาคารบ้านพักอาศัย 1 ชั้น 6,104.-
อาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้น 5,614.-
อาคารบ้านพักอาศัย 3 ชั้น 6,296.-
อาคารบ้านสำนักงาน 4-5 ชั้น 7,024.-
อาคารบ้านสำนักงาน 6-8 ชั้น 6,612.-
อาคารคอนโดมิเนียม (อาคารชุด) 14,400.- (ไม่รวมสระว่ายน้ำ)
อาคารสำนักงาน (อาคารสูง) 15,900.-

ตัวอย่างในการคำนวณวิธีการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย

ตัวอย่างที่ 1 การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ตามมูลค่าทรัพย์ที่เป็นของใหม่ (Replacement Cost Valuation)

สมมุติ
อาคารพาณิชย์พักอาศัยขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 12 เมตร จำนวนชั้นความสูง 3 ชั้น อายุการใช้งาน 10 ปี

มูลค่าทรัพย์สินของใหม่ = พื้นที่ใช้สอย x ราคา/ตารางเมตร
พื้นที่ใช้สอย = กว้าง x ยาว x จำนวนชั้น
= 4 x 12 x 3
= 144
ราคา/ตารางเมตร = 6,977.- (ดูตารางอาคารพาณิชย์)
มูลค่าทรัพย์สินของใหม่ = 1,004,688.- บาท
ดังนั้นการเอาประกันภัยตามมูลค่าของใหม่ประมาณ 1,004,688 บาท

ตัวอย่างที่ 2 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Actual Cash Value)
สมมุติ เป็นอาคารเหมือนตัวอย่างที่ 1

มูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง = มูลค่าทรัพย์สินของใหม่ – ค่าเสื่อมราคา
ค่าเสื่อมราคา = มูลค่าทรัพย์สินของใหม่ x (1.6% x อายุการใช้งาน)
มูลค่าทรัพย์สิน = 1,004,688.- (จากตัวอย่างที่ 1)
อายุการใช้งาน = 10 ปี
มูลค่าเสื่อมราคา = 1,004,688 x (1.6% x 10) / 100
= 160,750.08 บาท
มูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง = 1,004,688 – 160,750.08 บาท
= 843,937.92 บาท
ดังนั้น การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริงประมาณ 843,937.92 บาท

วิธีการคำนวณค่าสินไหมทดแทน
เมื่อวิธีการที่ใช้ในการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยแตกต่างกัน วิธีการคำนวณค่าเสียหายก็ย่อมมีความแตกต่างกันด้วย

วิธีที่ 1 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยแบบมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่เมื่อเกิดความเสียหาย (เพลิงไหม้)
จะได้ค่าสินไหมทดแทนในราคาปัจจุบัน

– เหตุผล เพราะจำนวนเอาประกันภัยเป็นราคาของมูลค่าทรัพย์สินในปัจจุบัน
– เบี้ยประกันภัยที่จ่ายมากกว่า

วิธีที่ 2 กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย แบบมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินเมื่อเกิดความเสียหาย (เพลิงไหม้) จะได้ค่าสินไหมทดแทนในราคาปัจจุบันลบค่าเสื่อมราคา

– เหตุผล เพราะจำนวนเงินเอาประกันภัยเป็นมูลค่าของทรัพย์สินไม่ใช่มูลค่าปัจจุบัน
– เบี้ยประกันภัยจ่ายน้อยกว่า

ดังนั้น เพื่อมิให้เสียเบี้ยประกันภัยเกินความจำเป็น หรือผู้เอาประกันภัยจะต้องรับภาระความเสี่ยงภัยเอง ควรกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ใกล้เคียงกับความเปนจริง





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow