INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 17:04:10
Home » Uncategorized » ประกันชีวิต กับ ประกันสุขภาพ ต่างกันอย่างไร?\"you

ประกันชีวิต กับ ประกันสุขภาพ ต่างกันอย่างไร?

2019/06/11 859👁️‍🗨️

ประกันชีวิต จ่ายชดเชย การเสียชีวิต
ประกันสุขภาพ จ่ายค่ารักษา ป่วยไข้ หรือ อุบัติเหตุ

ประกันชีวิต

คุ้มครองมูลค่าชีวิต เช่น
หากหัวหน้าครอบครัว ผู้ซึ่งหารายได้ หลักมาเลี้ยงดูครอบครัว หากจากไปย่อมสร้างปัญหาให้กับผู้อยู่ในอุปการะ อยู่ในความดูแล

ประกันชีวิต มีแผนประกันมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการ และยังสามารถซื้อประกันสุขภาพ ประกันอุบุัติเหตุ และ ความคุ้มครองอื่นๆ เพิ่มเข้าไปได้อีกด้วย

รูปแบบสัญญาและการชำระเบี้ย

ประกันชีวิตแทบทุกประเภทจะมีมูลค่าเงินสดซึ่งสะสมอยู่ในกรมธรรม์ (ยกเว้นแบบชั่วระยะเวลา)
กำหนดระยะเวลาชำระเบี้ยและระยะเวลาคุ้มครองที่ชัดเจน

ประกันชีวิตจะเป็นสัญญาระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาชำระเบี้ยและความคุ้มครองแน่นอน ต่างจากประกันสุขภาพที่เป็นสัญญาปีต่อปี ไม่ได้มีกำหนดว่าต้องชำระเบี้ยกี่ปี

ยกเว้น เงื่อนไขของประกันสุขภาพที่ถูกออกแบบเป็น package ทำร่วมกับประกันชีวิตเป็นแบบสำเร็จรูป โดยกำหนดว่าต้องชำระเบี้ย “อย่างน้อย” กี่ปี

ประกันสุขภาพ ที่อยู่ในสัญญาประกันชีวิต เป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบสูญเปล่า (ไม่มีมูลค่าเงินสดสะสมอยู่ในกรมธรรม์) หากปีไหน ไม่ได้เคลมประกันสุขภาพเบี้ยประกันที่จ่ายไปนั้นก็สูญหายไป ไม่ได้รับคืนใดๆ เหมือนกับ ประกันรถยนต์ นั่นเอง

ประกันสุขภาพเป็นสัญญาปีต่อปี อาจจะชำระเบี้ยประกันเป็นรายเดือน ราย3เดือน หรือ ราย6เดือน รายปี ก็ได้ แล้วแต่เงื่อนไข แบบประกัน นโยบายของแต่ละบริษัทประกันภัย

ประกันชีวิตที่มีประกันสุขภาพ มีที่มาจาก 2 รูปแบบ คือ

1.ซื้อประกันชีวิตก่อน แล้วค่อยซื้อประกันสุขภาพเพิ่มพ่วงเข้าไป
2.แบบสำเร็จรูป ซื้อแบบประกันชีวิต พร้อมความคุ้มครองสุขภาพแบบสำเร็จรูปที่บริษัทประกันกำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม ประกันสุขภาพที่ไม่ต้องซื้อพร้อมกับประกันชีวิต มีขายใน บริษัทประกันวินาศภัย

สังเกต บริษัทประกันวินาศภัย ชื่อบริษัทจะลงท้ายด้วย “ภัย” เช่น กรุงเทพประกันภัย

การนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษี

1.เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่แผนประกันชีวิตนั้นมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
2.รวมกันสูงสุดไม่เกิน 300,000 โดย 200,000 หลัง ต้องเป็นแบบบำนาญ

เบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560
เป็นประกันชีวิตแบบคุ้มครองสุขภาพ ที่อยู่ในเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด ได้แก่

  1. ประกันสุขภาพ ที่คุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ
  2. ประกันภัยอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาล ทุพพลภาพและสูญเสียอวัยวะ
  3. การประกันภัยโรคร้ายแรง เช่น ประกันมะเร็ง ให้ความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาลเมื่อตรวจพบเจอมะเร็ง
  4. ประกันภัยที่ดูแลระยะยาว ที่ให้ความคุ้มครอง กรณีที่ผู้ทำประกันภัย ไม่สามารถทำภารกิจที่จำเป็นต่อการดำเนิน ชีวิตได้ อย่างน้อย 3 ใน 6 อย่าง อันประกอบด้วย
    -การเปลี่ยนระหว่างนอน และนั่ง
    -การเดิน
    -การแต่งกาย
    -การอาบน้ำ
    -การทานอาหารติดต่อกันไม่น้อยกว่า180 วัน
    -หรือมีคำวินิฉัยรับรองจากแพทย์ชัดเจน
    โดยประกันจะจ่ายเป็นค่าชดเชยทดแทนแบบรายเดินหรือตามทุนประกันภัยที่ซื้อไว้ และจ่ายต่อเนื่องสูงสุด 24 – 36 เดือน

โดยรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป / เงินฝากแบบมีประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow