สภาวะภัย
ประเภทของสภาวะภัย แบ่งสภาวะภัย ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สภาวะทางด้านกายภาพ ( Physical Hazard ) หมายถึง คุณสมบัติทางกายภาพที่เอื้อให้หรือส่งเสริมให้เกิดความเสียหายได้มากขึ้น เช่น บ้านในชุมชนแออัดย่อมมีการเสี่ยงภัยจากการที่จะเกิดไฟไหม้สูงกว่าบ้านที่ ตั้งอยู่โดดเดี่ยวมีบริเวณกว้างขวาง อาชีพนักแข่งรถย่อมเสี่ยงภัยจากการตายหรือบาดเจ็บสูงกว่าผู้จัดการธนาคาร เป็นต้น
2. สภาวะทางด้านศีลธรรม ( Moral Hazard ) หมายถึง สภาวะที่มีการเสี่ยงภัยที่สูงขึ้นเกิดจากสภาพทางด้านจิตใจของบุคคล เป็นการกระทำที่ไม่มีคุณธรรมหรือไม่สุจริต ทั้งนี้เพื่อหวังผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งจากการประกันภัย
เช่น ความไม่ซื่อสัตย์ของผู้เอาประกันภัยโดยทำการเอาทรัพย์สินที่เอาประกันเพื่อหวังจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนจากผู้รับประกันภัย
3. สภาวะทางด้านจิตสำนึกในการป้องกันภัย ( Morale Hazard ) หมายถึง สภาวะที่บุคคลไม่พยายามทำหรือไม่กระทำให้ความเสี่ยงภัยนั้นลดน้อยลง หรือ ลดความเสียหายลง หรือ เป็นสภาวะที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่มิได้เจตนา แต่เกิดจากการขาดความระมัดระวังในการป้องกันภัย เป็นสภาวะเสี่ยงภัยที่สูงขึ้น เกิดขึ้นจากสภาพจิตใจเหมือนกับ Moral Hazard แต่ว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนาทุจริต แต่เกิดจากนิสัยของบุคคล เช่น การประมาทเลินเล่อ นอนสูบบุหรี่บนเตียงนอน การไม่ดับธูป หรือ เทียนก่อนออกจากบ้าน เป็นต้น