INSURANCETHAI.NET
Tue 21/01/2025 14:30:09
Home » ประกันภัย(ประกันวินาศภัย) » หน้าที่และสิทธิของผู้รับประกันวินาศภัย\"you

หน้าที่และสิทธิของผู้รับประกันวินาศภัย

2015/07/23 3247👁️‍🗨️

ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ดังนี้

  • 1. หน้าที่ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกิดเมื่อใด
  • 2. จำนวนค่าสินไหมทดแทน
  • 3. การลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน
  • 4. กรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยไว้หลายราย
  • 5. การสละสิทธิของผู้เอาประกันภัย
  • 6. อายุความ

1.1 หน้าที่ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกิดเมื่อใด

ผู้รับประกันภัยหรือบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอา ประกันภัยก็ต่อเมื่อ ผู้เอาประกันภัยจ่ายเบี้ยกันภัยแล้วมีเหตุิวินาศภัยอันระบุไว้ในสัญญาประกัน ภัยนั้นได้เกิดขึ้น

2.1 จำนวนค่าสินไหมทดแทน

ค่าสินไหมทดแทนให้คิดจากจำนวนค่าความเสียหายอันแท้จริง โดยไม่เกินกว่าวงเงินที่เราเอาประกันภัยไว้ เช่น เราขอเอาประกันอัคคีภัยไว้กับบ้านเรา 1 ล้าน แต่เสียหายจริงแค่ 6 แสน บริษัทประกันภัยก็ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แค่ 6 แสนบาท โดยที่ไม่คิดกว่าค่าวินาศภัยอันแท้จริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๘๗๗

3.1 การลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน

ผู้รับประกันภัยจะลดค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยได้กำหนดราคา แห่งมูลประกันภัยสูงเกินไปหนัก ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๗๔ ว่า “ถ้าคู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ ผู้รับประกันภัย ชอบที่จะ ได้ลดจำนวน ค่าสินไหมทดแทน ก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ว่าราคาแห่งมูลประกันภัย ตามที่ได้ตกลงกันไว้นั้นเป็นจำนวนสูงเกินไปหนักและคืนจำนวนเบี้ยประกันภัย ให้ตามส่วนกับทั้งดอกเบี้ยด้วย”

4.1 กรณีผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยไว้หลายราย

มาตราที่โยงกับ 4.1 ได้แก่ มาตรา ๘๗๐ บัญญัติไว้ดังนี้ “ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัย เป็นสองราย หรือ กว่านั้น พร้อมกัน เพื่อความวินาศภัย อันเดียวกัน และ จำนวนเงิน ซึ่ง เอาประกันภัย รวมกันทั้งหมดนั้น ท่วมจำนวน ที่วินาศภัยจริงไซร้ ท่านว่า ผู้รับประโยชน์ ชอบที่จะได้รับ ค่าสินไหมทดแทน เพียงเสมอ จำนวนวินาศจริงเท่านั้น ผู้รับประกันภัย แต่ละคน ต้องใช้เงิน จำนวนวินาศจริง แบ่งตามส่วนมากน้อย ที่ตนได้รับประกันภัยไว้

อันสัญญาประกันภัย ทั้งหลาย ถ้าลงวันเดียวกัน ท่านให้ถือว่า ได้ทำพร้อมกัน ถ้าได้ทำสัญญาประกันภัยเป็นสองราย หรือกว่านั้น สืบเนื่องเป็นลำดับกัน ท่านว่าผู้รับประกันภัยคนแรกจะต้องรับผิด เพื่อความวินาศภัยก่อน ถ้าและจำนวนเงินซึ่งผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้นั้นยังไม่คุ้มจำนวนวินาศภัย ไซร้ ผู้รับประกันภัยคนถัดไปก็ต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นต่อๆไปจนกว่าจะ คุ้มวินาศ”

***หลักสำคัญของผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยไว้หลายรายคือ (๑)ผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัยแต่ละรายจะต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน จะเป็นต่างคนไม่ได้เพราะจะถือว่าไม่ได้ทำสัญญาประกันภัยไว้หลายราย (๒)วัตถุที่เอาประกันภัยต้องเป็นวัตถุเดียวกัน เช่น ถ้าเอาประกันภัยบ้านไว้ ประกันภัยอีกอันก็ต้องเป็นบ้านเช่นกัน (๓)ผู้รับประกันภัยต้องต่างรายกัน หากมีสัญญาประกันภัยหลายฉบับ แต่ผู้รับประกันภัยรายเดียวกันก็เป็าประทำสัญญาหลายครั่งซึ่งจะไม่ใช่ประทำ สัญญาประกันภัยหลายราย (๔) ภัยที่ทำสัญญาประกันภัยไว้แต่ละรายจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน คือ ภัยที่รับเสี่ยงต้องเป็นภัยเดียวกัน หากเป็นภัยคนละอย่างหรือคนละประเภทก็ไม่ใช่สัญญาประกันภัยหลายราย เช่น ขอทำประกันอัคคีภัย แต่อีกคนกลับไปทำประกันอุทกภัยก็ไม่ใช่การทำประกันภัยหลายราย (๕) สัญญาประกันวินาศภัยทุกรายต้องมีผลบังคับได้ในเวลาเกิดภัย หากสัญญาประกันภัยรายใดที่เป็นโมฆะ หรือสิ้นความผูกพันไปแล้วก่อนเกิดภัย หรือยังไม่ถึงเวลาเริ่มต้น หรือพ้นเวลาสิ้นสุดไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นสัญญาประกันภัยหลายราย

5.1 การสละสิทธิของผู้เอาประกันภัย

การทำสัญญาประกันภัยหลายราย ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้รับประกันภัยทุกรายแบ่งกันชำระค่า สินไหมทดแทนตามส่วนแห่งเงินที่รับประกันภัยไว้ หรือให้ชำระก่อนหลังกันตามลำดับแห่งการทำสัญญา

6.1 อายุความ

บทบัญญัติในเรื่องอายุความในประกันวินาศภัยนั้นซึ่งจะอยู่ในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๘๒ บัญญัติไว้ดังนี้ “ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้อง คดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย
ในการ เรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อ พ้นเวลาสองปี นับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัย ถึงกำหนด”
***การนับอายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่สิทธิเรียกร้องถึงกำหนด คือ ตั้งแต่วันที่เกิดวินาศภัย




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow