หน้าที่และสิทธิของผู้เอาประกันวินาศภัย
ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่อะไร
1. ต้องชำระเบี้ยประกันภัย
2. ต้องบอกกล่าวเมื่อเกิดวินาศภัย
3. ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อสัญญาประกันภัย
1. หน้าที่ต้องชำระเบี้ยประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยในระหว่างทำสัญญาผู้เอาประกันต้องชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่ บริษัทกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้ ถ้าไม่ชำระเบี้ยประกันภัยตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยหรือตามที่ระบุไว้ใน กรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกให้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัย ได้ ถ้าหากเกิดเหตุวินาศภัยขึ้น ผู้รับประกันภัยก็มีสิทธิที่จะปฎิเสธไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอา ประกันภัยจนกว่าผู้เอาประกันภัยจะยอมชำระเบี้ยกันภัยไว้ตามที่ระบุไว้ใน สัญญาประกันภัยหรือที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
2. หน้าที่ต้องบอกกล่าวเมื่อเกิดวินาศภัย
ทั้งนี้ต้องขออ้างมาตราที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อใน (2.1) นี้ไว้นะครับ คือ มาตรา ๘๘๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าความวินาศภัยเกิดขึ้นเพราะภัยมีขึ้นดั่งผู้รับประกันภัยตกลงประกันภัย ไว้ไซร้ เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบความวินาศภัยนั้นแล้ว ต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับประกันภัยโดยไม่ชักช้า//ถ้ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ที่กล่าวมาในวรรคก่อน ผู้รับประกันภัยอาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้นได้ เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้”
จากบทบัญญัติในมาตรา ๘๘๑ ที่กล่าวไปข้างต้นจะแปลได้ดังนี้ว่า “เมื่อมีเหตุวินาศภัยเกิดขึ้นตามที่ผู้รับประกันภัยตกลงประกันภัยไว้ตาม สัญญา สมมุติว่า เราเอาประกันวินาศภัยไฟไหม้ไว้กับบ้านของเรา ถ้าหากเกิดไฟไหม้บ้านผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ต้องรีบแจ้งแก่ผู้ รับประกันภัยทันที” หากไม่แจ้งผลที่เกิดขึ้นคือ ผู้รับประกันภัยอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย เช่น จากตัวอย่างประกันวินาศภัยไฟไหม้ไว้กับบ้านของเรา ถ้าหากไม่ได้แจ้งไปทางบริษัทประกันภัยว่าเกิดไฟไหม้บ้าน บริษัทประกันภัยอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายไฟไหม้จากเรา ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีข้องดเว้ยไว้ว่า “เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ ” เช่น เราออกไปเที่ยวต่างประเทศแล้วไม่มีใครเฝ้าบ้าน เป็นต้น
3. หน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อสัญญาประกันภัย
หน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อสัญญาประกันภัยจะอธิบายได้ว่า สมมุติว่า “ในกรณีที่เราต้องแจ้งการเอาประกันภัยเพิ่มเติมให้ผู้รับประกันภัยทราบ หรือต้องเก็บรักษาสมุดบัญชีทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ในตู้นิรภัยป้องกัน ไฟ เป็นต้น” อธิบายแบบง่ายๆ คือว่า ถ้าเราเอาประกันภัยไฟไหม้ไว้กับทรัพย์สินสักอย่างของเรา เราก็ควรที่จะเก็บสมุดบัญชีทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้อย่างปล่อยภัยเพื่อ ไม่ให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น
สิทธิของผู้เอาประกันวินาศภัย
1. ลดเบี้ยประกันภัย
2. ลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย
3. เรียกให้ผู้รับประกันภัยหาประกัน
4. เรียกให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทน
***จะกล่าวได้ว่า หากเราเอาเงินประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย 3 แสน ถ้าหากบ้านเราเกิดไฟไหม้ซึ่งตีค่าความเสียหายเป็นจำนวนเงินได้ 5 แสน ตามหลักมาตรา ๘๗๗ บอกว่า บริษัทประกันภัยจะชำระค่าสินไหมทดแทนไว้โดนที่จะไม่เกิดกับจำนวนเงินที่เอา ประกันภัยไว้หรือจำนวนค่าความเสียหายที่แท้จริง