INSURANCETHAI.NET
Sat 21/12/2024 23:10:49
Home » อัพเดทประกันภัย » กฎหมาย excess 1000 ประกันรถยนต์ชั้น1 เริ่ม 1 มกราคม 2552 โดย คปภ\"you

กฎหมาย excess 1000 ประกันรถยนต์ชั้น1 เริ่ม 1 มกราคม 2552 โดย คปภ

2014/09/19 4071👁️‍🗨️

มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2552 เงื่อนไข excess 1000

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2552
มีการเปลี่ยนแปลงถ่อยคำ ในหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 4 (ก)

จากเดิม

2,000 บาท แรกในกรณีที่รถยนต์คันเอาประกันภัยเกิดเหตุได้รับความเสียหายอันเกิดจากการ ชน และผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ นั้น ….คือ แต่ก่อนถ้ารถคุณถูกชนแล้ว คู่กรณี หนีไป คุณต้องจ่ายค่า excess ให้ประกัน 2,000 บาท

คำสั่งใหม่แก้ไข เป็น

1,000 บาท แรกในกรณีความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือกรณีที่เกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้งบริษัทประกัน ให้ทราบถึงคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้

สรุป

1) รถใครที่ ทำประกัน ในช่วงวันที่ ก่อนปี 2552 จะใช้เงื่อนไขความคุ้มครองในการเคลมตามเดิม (ไม่ต้องเสีย 1,000 บาท )
2) ใครที่ทำประกัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 หากจอดรถไว้แล้วถุกคู่กรณีชน แล้วคู่กรณีหนีไปไม่สามารถติดตามตัวได้ จากเดิมต้องเสีย 2,000 บาท แต่ ตัวใหม่ จะลดลงเสียเพียง 1,000 บาท
3) ผู้ที่ทำประกัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 หากเกิดอุบัติเหตุจาก โดยสาเหตุนั้นมากจาก การชน หรือ คว่ำ ก็สามารถเคลมได้ตามเดิมไม่ต้องเสียสตางค์เพิ่มซักแดงเดียว
เช่น ชนหมา ชนฟุตบาท ชนกระถางต้นไม้ ชนต้นไม้ ชนถังขยะ ชนเสา ชนโต๊ะ ชนตู้ ชนรถคันอื่น หรือชนคนแบบมีคู่กรณี เพราะเกิดจากการชน

กรณีเคลมแล้วต้องเสีย 1,000 บาท ต่อครั้ง เช่น
– หินกระเด็นใส่รถยนต์ ยกเว้นบางกรณีสามารถยืดหยุ่นให้ได้เช่น หินกระเด็นใส่ส่วนกระจกหน้ารถยนต์
– ถูกแกล้ง ขีด-ขูด-ทุบ รถ หรือ ถูกสุนัข แมว ข่วนสีรถ เฉี่ยวกิ่งไม้เป็นรอย
– เหยียบตะปู หนูกัดสายไฟ ต้นไม้ล้มทับ
– และเหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการชน หรือ คว่ำ ที่ต้องเสีย 1,000 บาท เพราะไม่ใช่เหตุ จากการชน หรือคว่ำ

ประกันจะเก็บ 1,000 บาท ต่ออุบัติเหตุ แต่ละครั้ง

ตัวอย่าง ที่ 1
ขับรถอยู่แล้วถูกหินไม่ทราบมาจากทางไหนกระเด็นใส่ ทำให้รถมีแผล ตั้งแต่ กันชนหน้า หน้ากระจัง ฝากระโปรงหน้า กระจกบังลมหน้า หลังคา และ ฝากระโปรงหลัง รวม 6 แผล เมื่อแจ้งเคลม ประกันก็จะเก็บ ค่าความเสียหายส่วนแรก (excess) ได้แค่ 1,000 บาท ไม่ใช่เรียกเก็บ 6,000 บาท  เพราะแผลทั้ง 6 แผล บนรถเป็นแผลที่เกิดจากเหตุที่มิได้เกิดจากการชน ในเหตุครั้งนั้นเดียว

ตัวอย่าง ที่ 2
ขับรถแล้วถูกหินกระเด็นใส่กระจกบังลมหน้าแตกจึงได้ขับรถต่อเพื่อหาปั๊มจอดรถตรวจสอบความเสียหาย ระหว่างขับอยู่ได้ชนกับสุนัขทำให้กันชนหน้า และหน้ากระจังแตก จึงจอดรถข้างทางลงไป ดูความเสียหาย ระหว่างนั้น ได้มีวัตถุปลิวมาจากไหนไม่รู้มาโดนรถทำให้ ประตูหน้าขวาบุบ หลังคาบุบ เหตุดังกล่าวเมื่อแจ้งเคลม ประกันจะเรียกเก็บ ค่าความเสียหายส่วนแรก เพียง 2,000 บาท แยกเป็น หินกระเด็นใส่ 1,000 และ โดนววัตถุตกใส่ 1,000 บาท เนื่องจาก ความเสียหายเกิดจาก 2 เหตุการณ์และไม่เกี่ยวกับการชน แต่สำหรับ แผลที่ชนสุนัขไม่ต้องเสียตัง เพราะเกิดจากการชน

ตัวอย่างเคสจากพันทิพย์ (https://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2010/06/V9318100/V9318100.html)

ประกันชั้น 1 ค่า access กับการตีความเอาเปรียบของประกัน หรือไม่

ทำประกันชั้น 1 ซ่อมห้าง กับ เทเวศน์ประกันภัย
ถอยรถไปครูดเสา แจ้งประกันมาเคลมประกัน
จนท. แจ้งว่าต้องเสียค่า access 1000 บาท ตาม คปภ.ใหม่ปี 2552
ผมแย้งไปว่า การถอยมาครูดเสาถือเป็นการชนอย่างหนึ่ง ทำไมต้องเสียค่า access
จนท.เทเวศน์ อ้างว่า ตาม คปภ.2552-53 การชนคือชิ้นส่วนต้องบุบ แตก หรือหักเท่านั้น ถึงจะไม่ต้องเสียค่า access 1000 บาท
หากเป็นแผลเล็กน้อย ไม่แตก ไม่หัก ไม่บุบ ต้องจ่ายค่า access 1000 บาท

สงสัยว่า จนท.เคลมต้องบ้าแน่ๆ จึงโทรไปสอบถามที่สาขาใหญ่ของเทเวศน์
จนท. ให้ข้อมูลเหมือนกันเป๊ะ
แถมไล่ให้ผมไปเปิดอ่านกรรมธรรม์ดู และหากยังข้องใจให้โทรไปถาม คปภ.

ผมจึงมาขอข้อมูลจากทุกท่านก่อนเลย
เพราะผมคิดเล่นๆว่า หากผมขับรถไปชนถังขยะ ตรงๆ มีรอยแผลถลอกเล็กน้อย
ตามความหมายของเทเวศน์ประกันภัย ผมต้องเสียค่า access อย่างนั้นหรือ

ผมประกันเมือยไทยฯ ไปเฉี่ยวเสา ไม่บุบไม่แตก เป็นแค่รอยครูด
5 ที่ 5 แผล ไม่เสียค่าเสียหายส่วนแรกเลย เนื่องจากเป็นแผลจากการชน และเราแจ้งคู่กรณีได้

ในความหมาย คปภ.ระบุชัดว่า หากเกิดอุบัติเหตุโดยสาเหตุนั้นมากจาก การชน หรือ คว่ำ ก็สามารถเคลมได้ตามเดิมไม่ต้องเสียสตางค์เพิ่มซักแดงเดียว

แต่ จนท. เทเวศน์ ให้ข้อมูลว่า การชน ในกรรมธรรม์ คือ รถต้องบุบ แตก หัก เท่านั้น ถึงจะไม่ต้องเสียค่า Excess
หากชน แล้วแค่เป็นรอย ยังไงก็ต้องจ่ายค่า Excess
มันขัดแย้งกับ คปภ. ที่ระบุไว้ข้างต้นหรือเปล่า

การชน เสียหายมากหรือน้อย แค่เป็นรอย หรือแตกหัก มันก็คือการชน
ชนเสา เสาก็คือคู่กรณี
คปค. ก็ระบุชัดว่า 1,000 บาท แรกในกรณีความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือกรณีที่เกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้งบริษัทประกัน ให้ทราบถึงคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้

แต่เทเวศน์ประกัน ตีความว่า ไม่ว่าคุณจะชนอะไรมาก็ตาม หากรถคุณไม่บุบ ไม่แตก ไม่หัก ยังไงก็ต้องจ่าย Excess

“การชน เสียหายมากหรือน้อย แค่เป็นรอย หรือแตกหัก มันก็คือการชน
ชนเสา เสาก็คือคู่กรณี
คปค. ก็ระบุชัดว่า 1,000 บาท แรกในกรณีความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือกรณีที่เกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้งบริษัทประกัน ให้ทราบถึงคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้”

เรื่องการชน
เทเวศน์บอกว่า การชนที่มีการบุบ แตก หัก เท่านั้น คือเงื่อนไขตาม คปภ.
ชนเบาแค่รอยถลอก รอยครูด เราต้องจ่ายค่า Excess

ไม่ว่าชนหนัก ชนเบา มันก็คือการชน ซึ่งเข้าเงื่อนไขตาม คปภ.
หากระบุคู่กรณีได้ก็ไม่ต้องจ่าย Excess
แต่บริษัทนี้ตีความไปว่าต้องเกิดจากการชนหนักเท่านั้น

ผมโทรไปถามถึงระดับหัวหน้า ของเทเวศน์ประกันภัย
ยืนยันและยืนกรานว่า ยังไงก็ต้องเก็บค่า Excess
เพราะว่ารถไม่ได้ บุบ แตก ร้าว

ตามเงื่อนไข คปภ. ข้อนี้ครับ
“กรณีรถยนต์ชนกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ เช่นรั้ว ต้นไม้ สัตว์ ก้อนหิน ที่ทำให้ตัวรถ และหรืออุปกรณ์ได้รับความเสียหาย บุบ แตก ร้าว ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก แต่ต้องสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงลักษณะการเกิดเหตุ วันเวลา และสถานที่อย่างชัดแจ้ง”

เทเวศน์ประกันภัยยืนยันว่า ต้อง บุบ แตก ร้าวเท่านั้น

ยืนยันว่ามีครับ เป็นข้อกำหนด 4 มี 2 กรณี
กรณี1 จากอุบัติเหตุไม่ได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ ระบุชัดว่าความเสียหายถึงขั้น บุบ แตก ร้าว
กรณี 2. (เจ้าปัญหา) จากอุบัติเหตุจากการชนหรือคว่ำ ที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นในวรรค 2
เทเวศน์แฟกซ์มาให้ผมดูเลย เป็นข้อกำหนดของ คปภ.
ผมนั่งอ่านรู้สึกว่ามันตีความได้ 2 แบบ

“ผมโทรไปถาม คปภ. สองครั้ง เชื่อไหมว่าได้คำตอบไม่เหมือนกัน”

ประกันก็เลยอาศัยช่องว่างนี้ตีความเข้าข้างตัวเอง และท้าให้เราไปฟ้อง คปภ.

ซื้อประกันมาจากที่ไหนให้ที่นั่นช่วยคุยให้จะจบง่ายครับ
เพราะเท่าที่เคยขายเทเวศยังไม่เคยเจอเคสงี่เง่าแบบนี้เลย

“กรณีรถยนต์ชนกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ เช่นรั้ว ต้นไม้ สัตว์ ก้อนหิน ที่ทำให้ตัวรถ และหรืออุปกรณ์ได้รับความเสียหาย บุบ แตก ร้าว ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก แต่ต้องสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงลักษณะการเกิดเหตุ วันเวลา และสถานที่อย่างชัดแจ้ง”

ข้อนี้ไม่ใช่เงื่อนไขกธ. เงื่อนไขกธ.ดุได้ตามเอกสารที่แนบมากับกธ.
แต่ข้อนี้เป็นการตีความของบ.ประกัน(เทเวศน์ฯ) เอง

เงื่อนไขตามสัญญาประกันภัยซึ่งออกโดยคปภ. สำหรับกรณีนี้มีแค่นี้ครับ

“1,000 บาท แรกในกรณีความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือกรณีที่เกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้งให้บริษัทฯ ให้ทราบถึงคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้ ”

แค่นี้ครับ แต่มิได้ระบุว่า การชนนั้นจะต้องชนจนเสียหายเท่าใด

เงื่อนไขตามสัญญาประกันภัยซึ่งออกโดยคปภ. สำหรับกรณีนี้มีแค่นี้ครับ

“1,000 บาท แรกในกรณีความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือกรณีที่เกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้งให้บริษัทฯ ให้ทราบถึงคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้ ”

ใช่ครับในกรมธรรม์ระบุไว้แค่นี้ ผมก็เข้าใจว่าอย่างนั้น และไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นได้

แต่เอกสารที่ทางเทเวศน์แฟกซ์มาให้นั้นเป็น
“คู่มือตีความประกันภัยรถยนต์ ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 11 /2552 ลงวันที่ 29 เม.ย.2552” ของสมาคมประกันวินาศภัย คณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ ประจำปี 2552-54

มีคำตีความ ตามข้อ 4 กรณี 2 วรรค 2 ที่เป็นช่องโหว่ที่ข้อความเดียวครับ คือคำว่า
“อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย บุบ แตก ร้าว”
เทเวศน์ยืนกรานตีความไปว่า รถต้องบุบ แตก ร้าว เท่านั้น ซึ่งเป็นการขยายความของคำว่า “ความเสียหาย”

หากระบุแค่ “ความเสียหาย” ไม่ระบุ “บุบ แตก ร้าว” มันถึงจะครอบคลุมความเสียหายที่เป็นรอยครูด สีถลอก ต่างๆ

ผมอ่านก็สงสัย โทรไปถาม คปภ. คำตอบก็คนละอย่าง
ผมจึงหยิบกรมธรรม์ขึ้นมาดู ไม่มีค่าเสียหายส่วนแรกระบุในกรมธรรม์ ผมจะใช้เป็นข้ออ้างได้หรือไม่

กธ.ประกันภัยเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เรียกว่าสัีญญาประกันภัย ข้อความที่ปรากฎอยู่ในกธ.หรือเอกสารแนบท้าย หรือสลักหลังกธ. จึงจะสามารถใช้ในการพิจารณาคดีแพ่งได้ ข้อความเหนือจากนั้น มิสามารถยกมาเป็นข้อปฎิเสธในการจ่ายสินไหมได้

“คู่มือตีความประกันภัยรถยนต์ ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 11 /2552 ลงวันที่ 29 เม.ย.2552” ของสมาคมประกันวินาศภัย คณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ ประจำปี 2552-54

1.คู่มือตีความ ออกโดย “สมาคามประกันวินาศภัย” ซึ่งไม่ใช่ คปภ. (คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบประกันภัย) ” ตามคำสั่งนายทะเบียน” หมายถึงได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ใช้ได้ (นายทะเบียนคือ เลขาฯคปภ)

2.คู่มือนี้ผมมีเล่มหนึ่งครับ ไว้ใช้สำหรับจนท.ประเมินเบื้องต้นว่าใครผิด ใครถูก หรือประมาทร่วม ไม่ใช่เอามาเป็นข้อโต้แย้งในการไม่จ่ายสินไหม

3.การตีความต้องตีความจากกธ.ประกันภัย เอกสารแนบท้าย หรือสลักหลังกธ.เท่านั้น

4.ถ้าข้อที่ว่าชนแล้วต้องปรากฎรอยบุบ แตก ร้าว ถึงไม่เสีย 1000 บาทแรก เป็นหลักของใคร ถ้าเป็นหลักเกณฑ์กลางที่กำหนดโดยคปภ. (ต้องมีในเงื่อนไขกธ.นะ) แล้วทำไมบ.อื่นที่ไม่ใช่เทเวศน์ ถึงไม่ต้องเสีย 1000 บาทแรก

ถ้าเท่าที่คุณเล่ามา เทเวศน์คงจะต้องให้คุณเสีย 1000 แน่ๆ ถ้าคุณรำคาญไม่อยากเสียเวลา หรือว่าค่าน้ำมันรถ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสียเวลาตามเรื่องมันจะเกิน 1000 บาท ก็จ่ายๆ มันไป (อันนี้แหละเป็นทริคและเข้าทางบริษัทฯประกันเขาแหละ)

หรือถ้าอยากให้มันเป็นบรรทัดฐานของเรื่องนี้ก็ร้อง คปภ. ถ้าตกลงหรือตีความไม่ได้ให้ฟ้องศาล

แต่ผมเชื่อว่าเรื่องคงจบแค่คปภ. และคุณไม่ต้องจ่าย 1000 บาท

ปล.ที่จนท.คปภ.ตอบเป็น 2 แบบ ก็เำพราะจนท.มีหลายท่านและหลายๆ คนก็ไม่ได้รู้ลึกไปถึงรายละเอียดเรื่องนี้มากนัก





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow