ไฟไหม้ลาม จากข้างบ้าน จะทำอย่างไร
ถ้าไฟไหม้บ้าน แล้วลามไปติดบ้านคนอื่น ใครรับผิดชอบ?
ประกันอัคคีที่คนส่วนใหญ่คุ้มครองเฉพาะบ้านของตัวเอง ไม่คุ้มครองไปถึงบ้านข้างเคียง แต่ประกันอัคคีภัยมีแบบที่ “ขยายความคุ้มครอง” ครอบคลุมไปถึงบ้านข้างเคียงด้วย เรียกว่า “ความรับผิดต่อบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก” หรือ public liability เบี้ยประกันประมาณล้านละพันต่อปี โดยทั่วไปบริษัทประกันจะไม่ขายประกันแบบนี่เดี่ยวๆต้องขายคู่กับประกันหลักอย่างประกันอัค
คีภัย
ดังนั้นหากคุณซื้อประกันอัคคีภัยแบบมาตรฐานที่มีขายทั่วไปเบี้ยประกันปีละ 1,000 บาทโดยประมาณต่อทุนประกัน 1 ล้าน และไม่ได้ซื้อการขยายความคุ้มครอง เมื่อเกิดไฟไหม้บ้านข้างเคียงเสียหายบริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบความเสียหายนั้นเพราะอยู่นอกเงื่อนไขความคุ้มครอง ซึ่งนั่นก็หมายถึงคุณต้องจ่ายค่าเสียหายด้วยตัวเองให้กับบ้านข้างเคียงเรานั้นนั่นเองไฟไหม้ข้างบ้าน แล้วลามมาถึงบ้าน เสียหายใครับผิดชอบ
บ้านต้นเพลิงรับผิดชอบ
กรณีเกิดไฟไหม้ ลามมาจากบ้านข้างๆ ทำให้บ้านเราได้รับความเสียหาย แต่ไม่สามารถระบุได้ เป็นการยากที่จะเรียกร้องค่าเสียหาย เพราะ ไม่รู้ว่าบ้านไหนคือ บ้านต้นเพลิง
ถ้ารู้ว่าบ้านไหนต้นเป็นต้นเพลิง ก็ยังติดปัญหาเรื่อง เหตุสุดวิสัย อาจะทำให้ เรียกร้องได้ยากอีก
ข้อกฏหมาย
1. เป็นคดีอาญา ตามป.อ. มาตรา 225 เป็นการกระทำให้เกิดเพลิงไหม้ประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 95(3) , อายุความทางแพ่ง ให้ถือตามคดีอาญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคท้าย
2. ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดเรียกร้องค่าเสียได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, มาตรา 438, มาตรา 439
กฏหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด
แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
มาตรา 439 บุคคลผู้จำต้องคืนทรัพย์อันผู้อื่นต้องเสียไปเพราะละเมิดแห่งตนนั้น ยังต้องรับผิดชอบตลอดถึงการที่ทรัพย์นั้นทำลายลงโดยอุบัติเหตุ หรือการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างอื่นโดยอุบัติเหตุ หรือทรัพย์นั้นเสื่อมเสียลงโดยอุบัติเหตุนั้นด้วย เว้นแต่เมื่อการที่ทรัพย์สินทำลาย หรือตกเป็นพ้นวิสัยจะคืน หรือเสื่อมเสียนั้น ถึงแม้ว่าจะมิได้มีการทำละเมิด ก็คงจะต้องตกไปเป็นอย่างนั้นอยู่เอง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
มาตรา225 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท และเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย หรือการกระทำโดยประมาทนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ