INSURANCETHAI.NET
Tue 21/01/2025 17:39:11
Home » ประกันภัยอิสรภาพ ประกันภัยเบ็ดเตล็ด สหมงคลประกันภัย » ประกันภัยอิสรภาพ – สหมงคลประกันภัย\"you

ประกันภัยอิสรภาพ – สหมงคลประกันภัย

2011/03/25 2682👁️‍🗨️

ประกันภัยอิสรภาพ – สหมงคลประกันภัย

การประกันภัยอิสรภาพ คืออะไร

การประกันภัยอิสรภาพ เป็นการประกันภัยที่จัดทำขึ้นโดยมีแนวความคิดจากการที่ศาลยุติธรรมจะจัดระบบ การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนในการหาหลักประกันมาวางศาล เนื่องจากปัจจุบันมีคดีอาญาเกิดขึ้นจำนวนมาก
ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ และสมาคมประกันวินาศภัย จึงได้ร่วมกันจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพและอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับ การประกันภัยดังกล่าวขึ้น

รูปแบบการประกันภัย
การทำประกันภัยอิสรภาพ มีให้เลือก 2 แบบ คือ
◊ แบบที่ 1 การทำประกันภัยอิสรภาพก่อนมีการกระทำความผิด เป็น กรณีที่บุคคลทั่วไปประสงค์จะมีหลักประกันในการขอประกันตัวไว้ล่วงหน้า เนื่องจากตนเองมีความเสี่ยงหรือมีโอกาสที่จะกระทำความผิดทางอาญาโดยประมาท หรือตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดทางอาญาโดยประมาท
◊ แบบที่ 2 การทำประกันภัยอิสรภาพหลังมีการกระทำความผิด เป็น กรณีที่บุคคลถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญา หรือตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาแล้วและกำลังจะถูกควบคุมตัวหรือถูก ควบคุมตัวแล้ว ประสงค์จะหาหลักประกันเพื่อนำไปขอประกันตัวเองต่อเจ้าพนักงาน บุคคลดังกล่าวหรือเพื่อนหรือญาติสามารถมาติดต่อขอซื้อประกันภัยอิสรภาพกับ บริษัทประกันภัยในแบบที่ 2 นี้ได้

การซื้อประกันภัยอิสรภาพ
สามารถซื้อได้จากบริษัทประกันภัยที่มีการรับประกันภัยประเภทดังกล่าว

การชำระเบี้ยประกันภัย

ผู้ซื้อประกันภัยจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยทันทีที่ซื้อประกันตามอัตราดังนี้
◊แบบที่ 1 การประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด อัตรา เบี้ยประกันภัย อยู่ระหว่าง 0.5% ถึง 1% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย แล้วแต่ความเสี่ยงที่จะเกิดการกระทำความผิดและความน่าเชื่อถือของผู้เอา ประกันภัย กรณีตัวอย่าง เช่น จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000.- บาท ผู้เอาประกันภัยจะจ่ายเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 500-1,000.- บาท

◊แบบที่ 2 การประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด อัตราเบี้ยประกันภัย อยู่ระหว่าง 5% ถึง 20% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย โดยแบ่งเป็น 4 ระยะเวลา ดังนี้

ระยะเวลาที่ 1 ประกันตัวตั้งแต่เริ่มซื้อจนศาลชั้นต้นพิพากษา มี 2 อัตราแยกตามฐานความผิด
1). ความผิดฐานกระทำโดยประมาท หรือ ความผิดฐานะกระทำผิด พ.ร.บ. การพนัน อัตราค่าเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่างร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 10 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
2). ความผิดฐานอื่น อัตราค่าเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่างร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 15 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
ระยะเวลาที่ 2 ประกันตัวเฉพาะในชั้นอุทธรณ์ ความผิดฐานใดก็ตามอัตราค่าเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่างร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 10 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
ระยะเวลาที่ 3 ประกันตัวเฉพาะในชั้นฎีกาก็สามารถใช้จนถึงศาลฎีกามีคำพิพากษา อัตราค่าเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่างร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 10 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
ระยะเวลาที่ 4 ประกันตั้งแต่เริ่มคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด อัตราค่าเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 5% ถึง 20% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย

การให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัย
เฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิดเท่านั้น ที่มีสิทธิได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย ดังนี้
1). หากผู้เอาประกันภัยมีบุคคลค้ำประกันต่อบริษัทประกันภัย จะได้รับส่วนลด 10% ของเบี้ยประกันภัย
2). หากผู้เอาประกันภัยมีหลักทรัพย์มาวางเป็นหลักประกันร่วมกับบริษัทประกันภัย จะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยลดลงตามสัดส่วนราคาหลักประกัน

การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
การ ประกันภัยอิสรภาพทั้งสองแบบ ทั้งฝ่ายผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไม่สามารถบอกเลิกกรมธรรมประกัน ภัยในระหว่างระยะเวลาประกันภัย และบริษัทไม่สามารถยกเลิกหนังสือรับรองที่ออกไปแล้วได้

สิทธิได้รับคืนเบี้ยประกันภัย
บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยในกรณี ดังนี้
กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด คืน เบี้ยประกันภัยกรณีเดียว คือ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต และในระยะเวลาระหว่างเอาประกันภัยไม่มีการเรียกร้องให้ประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้นตาม ที่กำหนดในตารางกรมธรรม์

กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด คืนเบี้ยประกันภัย 4 กรณี ดังนี้
1). หากเจ้าพนักงานไม่อนุญาตให้ประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยหักค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการไว้ 500.- บาท
2). หากเจ้าพนักงานอนุญาตให้ประกันตัว แต่ภายหลังในระหว่างระยะเวลาประกันภัยเจ้าพนักงานในลำดับนั้นหรือในลำดับถัด มาได้มีคำสั่งให้ถอนหรือยกเลิกการให้ประกันตัวหรือผู้เอาประกันภัยไม่ ประสงค์จะประกันตัวอีกต่อไป บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันภัย
3). หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยโดยมิได้มีการผิดสัญญาประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยกึ่งหนึ่งให้กับทายาทของผู้เอาประกันภัย
4). ผู้เอาประกันภัยไม่ผิดสัญญาประกันตัวจนสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันภัยเช่นกัน

ในระหว่างการประกันตัว หากผู้เอาประกันภัยหลบหนี หรือไม่ไปพบเจ้าพนักงานตามนัดผลจะเป็นอย่างไร

เจ้าพนักงานมีคำสั่งให้ปรับตามสัญญาประกันตัว บริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าปรับตามที่ได้ออกหนังสือรับรองไว้ต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งจากเจ้าพนักงาน และจะไปดำเนินการไล่เบี้ยเอากับผู้เอาประกันภัยในภายหลัง และบริษัทมีหน้าที่ติดตามจับกุมตัวผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ดังกล่าวกลับมาสู้คดีต่อไป โดยบริษัทจะไม่ออกหนังสือรับรองให้ใช้ประกันตัวอีกต่อไป แต่หากผู้เอาประกันกลับมามอบตัวต่อศาลด้วยตนเอง และยินยอมชำระค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าพนักงานกำหนด หรือตามที่บริษัทได้ชำระไปคืนแก่บริษัท บริษัทก็จะต้องให้ใช้หนังสือรับรองนั้นประกันตัวต่อไป

ขั้นตอนการปฏิบัติ
การขอซื้อประกัน ผู้ ที่ประสงค์จะซื้อสามารถซื้อประกันภัยอิสรภาพให้ตนเองหรือซื้อให้ผู้อื่นก็ ได้ และจะซื้อแบบก่อนหรือหลังกระทำความผิดก็ได้ โดยผู้ประสงค์จะซื้อต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนและกรอกข้อความจริงลงในแบบ ฟอร์มคำขอเอาประกันภัย พร้อมลงลายมือชื่อของตนเองและหากซื้อให้ผู้อื่นจะต้องแสดงบัตรประชาชนของ บุคคลนั้นและให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อในช่องผู้เอาประกันภัยด้วย

การพิจารณารับประกัน การ ขอซื้อประกันภัยอิสรภาพแบบก่อนกระทำความผิด บริษัทจะพิจารณารับประกันโดยเลือกใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามความเหมาะสมของ ความเสี่ยงภัย การขอซื้อประกันภัยอิสรภาพแบบหลังกระทำความผิด บริษัทจะพิจารณาความหนักเบาหรือความร้ายแรงของข้อหา และจะพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้เอาประกัน ว่าเมื่อได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วผู้เอาประกันจะไม่หลบหนี หรือหากหลบหนีแล้วสามารถติดตามตัวได้ง่าย

การใช้หนังสือรับรอง เมื่อ ได้รับหนังสือรับรองแล้ว ผู้เอาประกันภัยควรตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ฐานความผิดวงเงินประกัน และรายละเอียดอื่น ๆ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และสำหรับแบบก่อนกระทำความผิด ผู้เอาประกันภัยควรเก็บหนังสือรับรองไว้ในที่หาได้สะดวก หรือหากมีอาชีพขับรถ ควรเก็บไว้ในรถ เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถนำไปใช้ประกันตัวได้ทันที

การตรวจพิจารณาหนังสือรับรอง หนังสือรับรองที่จะใช้เป็นหลักประกันได้ จะต้องมีความถูกต้อง ดังนี้

หนังสือรับรอง กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด (รก.)
1). ชื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องตรงกับที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง
2). หนังสือรับรองแต่ละฉบับจะใช้เป็นหลักประกันได้ภายในวงเงินที่ระบุในหนังสือรับรองเท่านั้น
3). ฐานความผิดในคดีต้องตรงกับที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง
4). วันเวลากระทำความผิดต้องอยู่ในระยะเวลาประกันภัย
5). วันที่นำหนังสือรับรองมาขอประกันตัวต้องอยู่ในระยะเวลาการใช้หนังสือรับรอง
6). เมื่อตรวจสอบและรับเป็นหลักประกันแล้ว เจ้าพนักงานจะต้องกรอกรายละเอียดลงในใบตอบรับหนังสือรับรอง และส่งใบตอบรับดังกล่าวคืนให้บริษัทต่อไป
7). หากมีข้อสงสัยประการใด ให้ตรวจสอบไปยังบริษัทประกันภัยที่เป็นผู้ออกหนังสือรับรองทันทีตามเบอร์โทรศัพท์ที่แสดงไว้
8). หนังสือรับรองฉบับนี้ใช้ได้เพียงหนึ่งครั้ง และขณะใช้จะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ คือ มีทั้งส่วนของหนังสือรับรองและใบตอบรับหนังสือรับรอง

หนังสือรับรอง แบบหลังกระทำความผิด (รล.)
1). ชื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องตรงกับที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง
2). หนังสือรับรองแต่ละฉบับจะใช้เป็นหลักประกันได้ภายในวงเงินที่ระบุในหนังสือรับรองเท่านั้น
3). ฐานความผิดและรายละเอียดของคดีต้องตรงกับที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง
4). เมื่อตรวจสอบและรับเป็นหลักประกันแล้ว เจ้าพนักงานจะต้องกรอกรายละเอียดลงในใบตอบรับหนังสือรับรอง และส่งใบตอบรับดังกล่าวคืนให้บริษัทต่อไป
5). หากมีข้อสงสัยประการใด ให้ตรวจสอบไปยังบริษัทประกันภัยที่เป็นผู้ออกหนังสือรับรองทันทีตามเบอร์โทรศัพท์ที่แสดงไว้
6). หนังสือรับรองฉบับนี้ใช้ได้เพียงหนึ่งครั้ง และขณะใช้จะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ คือ มีทั้งส่วนของหนังสือรับรองและใบตอบรับหนังสือรับรอง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายรับประกันภัยอิสรภาพ
สำนักงานรัชดาภิเษก โทร. 026-877777 ต่อ 1323,1324,1128 Fax. 026-877764





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow