INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 1:37:16
Home » ประกันภัยเบ็ดเตล็ด » ประกันภัยผู้ค้ำประกัน คือ อะไร\"you

ประกันภัยผู้ค้ำประกัน คือ อะไร

2015/10/16 7111👁️‍🗨️

ประกันภัยผู้ค้ำประกัน
เป็นกรมธรรม์ที่คุ้มครองผู้ค้ำประกันเงินกู้ โดยที่บริษัทตกลงจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันให้กับผู้ให้กู้ สำหรับจำนวนเงินกู้ที่ค้างชำระเกินกว่า 2 งวดติดต่อกัน และผู้กู้ได้พ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกของผู้ให้กู้แล้วเท่านั้น ทั้งนี้ผู้เอาประกัน และ/หรือ ผู้ให้กู้ ต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยทันทีที่มีการผิดนัดการชำระค่างวดตั้งแต่งวดแรก
guarantor-insurance

การทำประกันภัยผู้ค้ำประกัน กรณีของสหรกรณ์
ประกันภัยผู้ค้ำประกัน เป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครอง ดังนี้
– ผู้กู้ทำประกันภัยผู้ค้ำประกัน โดยให้ใช้สมาชิกผู้ค้ำประกัน และผู้ค้ำประกันจะได้รับสิทธิในการคุ้มครองจากบริษัทประกัน (ไม่ต้องชดใช้เงินแทนผู้กู้) ในกรณี ดังนี้
1. ผู้กู้ผิดนัดช้าระหนี้กับสหกรณ์ฯเกินกว่า 2 งวด ติดต่อกัน
2. ผู้กู้ถูกไล่ออก/ปลดออกจากราชการหรือถูกให้ออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ / ผู้กู้สิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพ
ข้อยกเว้น
ในกรณีถึงแก่กรรม บริษัทประกันจะไม่รับภาระหนี้ของผู้กู้ ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็น ผู้รับภาระหนี้แทนผู้กู้ เว้นแต่ผู้กู้ได้ทำประกันชีวิตไว้

การค้ำนวณค่าเบี้ยประกันภัยผู้ค้ำประกัน

ยอดกู้ 1,000,000 บาท
อัตราค่าเบี้ย 0.37% = 3,700 บาท
อากรแสตมป์ 0.40% = 15 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 0.07% = 260.05 บาท
ค่าเบี้ยประกันต่อปี = 3,975.05 บาท
ค่าเบี้ยประกัน 15 ปี = 59,625.75 บาท

– นอกจากการทำประกันภัยผู้ค้้าประกันแล้ว ยังมีรูปแบบประกันรูปแบบ อื่นอีก 2 ประเภท ที่มีความคุ้มครองใกล้เคียงกัน
1. การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองกรณี สมาชิกผู้กู้เสียชีวิต
2. การทำประกันชีวิตเดี่ยว/กลุ่ม

กรณีของสหกรณ์ ใครได้ประโยชน์จาก โครงการประกันภัยผู้ค้ำประกัน

ประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2554 นี้ สหกรณ์ฯ จะเริ่มดำเนินการตามโครงการประกันภัยผู้ค้ำประกันตามระเบียบ
ว่าด้วยการให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกโครงการประกันภัยผู้ค้ำประกัน พ.ศ. 2554 แต่คงมีสมาชิกจำนวนมากยังไม่เข้าใจว่า โครงการดังกล่าวจะดำเนินการอย่างไรและจะมีประโยชน์กับใคร สหกรณ์ฯ จึงใคร่ขอชี้แจงให้ทราบ ดังนี้
1. ทำไมถึงต้องจัดทำโครงการนี้
เหตุที่ต้องจัดทำโครงการนี้ขึ้น เป็นเพราะปัจจุบันมีสมาชิกผู้ค้ำประกันจำนวนมากที่ต้องรับภาระชำระหนี้
แทน เมื่อผู้กู้ถึงแก่กรรม หรือถูกไล่ออกจากงาน หรือหายสาบสูญ นอกจากนี้ครอบครัวของสมาชิกผู้กู้ต้องเดือดร้อน
เพราะผู้กู้ถึงแก่กรรม เงินที่ได้จากทางราชการ แทนที่จะได้นำไปใช้กับต้องนำมาชำระหนี้หมด
สหกรณ์ฯ เห็นว่า โครงการประกันภัยผู้ค้ำประกันจะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวได้
จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวนี้ขึ้น
2. โครงการนี้ใครจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์อย่างไร
ผู้ที่จะได้ประโยชน์
สมาชิกผู้กู้ จะได้ประโยชน์
– เสียดอกเบี้ยเงินกู้ถูกกว่าสมาชิกผู้กู้คนอื่นที่ไม่ได้ทำประกัน ประมาณร้อยละ 20
– ไม่ต้องหาสมาชิกมาค้ำประกันหลายคน เพราะสามารถใช้ผู้ค้ำประกันเงินที่จะกู้เพียงคนเดียว
– ถ้าเสียชีวิต ครอบครัวไม่ต้องเดือดร้อน เพราะบริษัทประกันจะจ่ายหนี้สามัญที่เหลือกับสหกรณ์ทั้งหมดให้
สมาชิกผู้ค้ำประกัน
– ถ้าสมาชิกผู้กู้ตาย หรือถูกให้ออกจากสหกรณ์ฯ ไม่ยอมชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องชำระหนี้แทนผู้กู้
เพราะบริษัทประกันจะเป็นผู้ชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมด และบริษัทจะฟ้องไล่เบี้ยเพื่อเรียกเงินจากผู้กู้เอง
ผู้ที่จะต้องเสียประโยชน์
สมาชิกผู้กู้จะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตและประกันภัยผู้ค้ำประกัน ในทั้งสองกรมธรรม์
ในอัตรา 1.00 บาท (หนึ่งบาทถ้วน) ต่อวงเงิน 100.00 บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน) หรือวงเงินกู้ 100,000.00 บาท
(หนึ่งแสนบาทถ้วน) จะต้องเสียเบี้ยประกัน 1,000.00 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ต่อปี
ตัวอย่างเช่น ถ้าสมาชิกกู้เงินจากสหกรณ์ 300,000.00 บาท (สามแสนบาทถ้วน) ก็จะต้องเสีย
เบี้ยประกันปีละ 3,000.00 บาท (สามพันบาทถ้วน)
เหตุที่ผู้กู้จะต้องรับภาระ เพราะผู้กู้จะได้รับผลประโยชน์จากการทำประกันคือ
– ถ้าถึงแก่กรรม บริษัทจะจ่ายเงินให้เต็มตามวงเงินประกัน แม้ว่าหนี้เงินกู้ที่เหลืออยู่กับ
สหกรณ์ไม่ถึงวงเงินที่ทำประกัน บริษัทก็จะจ่ายเต็มวงเงินที่ทำประกัน ดังนั้น เมื่อชำระหนี้สหกรณ์แล้วเหลือเท่าใดครอบครัวของสมาชิกถึงแก่กรรม ก็จะได้รับเงินส่วนที่เหลือไป

3. ทำไมจึงต้องมีผู้ค้ำในเมื่อบริษัทประกันเป็นผู้รับใช้หนี้แทน
การที่กู้เงินตามโครงการยังจำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกันหนึ่งคน เป็นเพราะตามหลักของกฎหมายนั้น เมื่อผู้กู้
ไม่ชำระ ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ทั้งหมดแทน แล้วจึงจะสามารถฟ้องไล่เบี้ย เอาจากผู้กู้หรือทายาทของผู้กู้ได้ ในกรณีนี้เท่ากับว่าบริษัทประกันจ่ายหนี้แทนผู้ค้ำประกันก่อน ต่อจากนั้นก็จะเป็นตัวแทนของผู้ค้ำประกันที่จะฟ้องไล่เบี้ย เอาจากผู้กู้ต่อไป แต่จะได้หรือไม่ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบ
4. การกู้เงินตามโครงการนี้จะต้องทำอย่างไร
สมาชิกที่จะกู้เงินตามโครงการนี้จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการกู้เงินสามัญที่เคยปฏิบัติมา แต่ที่ผิดจากการ
กู้สามัญเดิมก็คือ จะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันทุกปีตามวงเงินที่จะกู้หรือที่เหลืออยู่
ถ้าไม่ชำระค่าเบี้ยประกัน สหกรณ์ก็จะโอนค่าเบี้ยประกันเป็นเงินกู้ของสมาชิก และขอแนะนำให้สมาชิก
ที่จะกู้เงินตามโครงการนี้อ่านและทำความเข้าใจในระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกโครงการประกันภัยผู้ค้ำประกันภัย พ.ศ. 2554 ก่อนที่จะเข้าโครงการ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow