INSURANCETHAI.NET
Wed 22/01/2025 23:00:45
Home » ประกันภัย(ประกันวินาศภัย) » สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย (HAZARD)\"you

สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย (HAZARD)

2012/03/22 7527👁️‍🗨️

สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย (HAZARD)

สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย (HAZARD) หมายถึง สภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือ เพิ่มโอกาสที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้
เราสามารถที่จะจำแนกสภาวะที่ส่งเสริมให้เกิคความเสียหายออกได้ 3 ประเภทด้วยกัน คือ
1. สภาวะทางค้านกายภาพ (PHYSICAL HAZARD)
2. สภาวะทางด้านศีลธรรม (MORAL HAZARD)
3. สภาวะทางด้านจิตสำนึกในการป้องกันภัย (MORALE HAZARD)

1. สภาวะทางด้านกายภาพ (PHYSICAL HAZARD)
เป็นสภาพทางด้านกายภาพของทรัพย์สินหรือวัตถุที่เพิ่มโอกาส ให้เกิดความเสียหายจากเหตุต่าง ๆ เช่น
– ประเภทของสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้านที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง มีโอกาสที่จะถูกใฟไหม้ได้ง่ายกว่าบ้านที่สร้างด้วยคอนกรีต
– ที่ตั้งทรัพย์สิน เช่น บ้านไม้ที่อยูในบริเวณที่แออัดคับแคบ รถดับเพลิงไม่สามารถจะเข้าถึงได้ ย่อมมีโอกาสถูกไฟไหม้ได้ง่ายกว่าบ้านไม้ที่สร้างอย่างโดดเคี่ยวกลางทุ่งนา เพียงหลังเดียว หรือ ห้องในอาคารชุดที่อยู่ชั้นสูง ๆ ย่อมมีโอกาสถูกโฟไหม้เสียหายได้มากกว่าห้องในอาคารชุดที่อยู่ชั้นล่างๆ ซึ่งแรงน้ำจากหัวฉีดของรถดับเพลิงสามารถจะฉีดขึ้นไปถึง
– การใช้สถานที่ เช่น การใช้อาคารเป็นสถานที่เก็บวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟต่างๆ เช่น น้ำมันทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน แก็ส ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการระเบิดลุกไหม้ได้ง่ายกว่าอาคารที่ใช้เป็นอยู่อาศัย หรือเป็นสำนักงานธรรมดา
– สุขภาพของคน เช่น บุคคลที่สูบบุหรี่จำนวนมากในแต่ละวัน ย่อมมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งในปอด, วัณโรค, โรคหัวใจ, หรือโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าบุคคลที่ไม่สูบบุหรี่ และรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ อาชีพของคน เช่น พนักงานส่งเอกสารนอกสถานที่ คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม กรรมกรก่อสร้าง มีโอกาสที่จะประสบอุบติเหตุ ได้รับบาดเจ็บ, พิการ, ทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้มากกว่าบุคคลที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร หรือเสมียนในสำนักงาน

2. สภาวะทางด้านศีลธรรม (MORAL HAZARD)
สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความเสียหายโดยศีลธรรม อันเนื่องมาจากความไม่สุจริตใจ ก่อให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ โดยเจตนา อันเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดความเสียหายขึ้นมากกว่า เช่น
– เจ้าของธุรกิจบางแห่งที่มีประกันภัยอัคคีภัยไว้ อาจจะวางเพลิงทรัพย์สินของตนที่เอาประกันภัยไว้โดยเจตนา เพื่อหวังเอาเงินค่าสินไหมทดแทน (เงินประกัน) จากบริษัทประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยของตน
– เจ้าของรถยนต์ ที่มีประกันภัยรถยนต์ไว้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถบรรทุกชน ท้ายรถยนต์ของตนที่เอาประกันภัยไว้ เขาอาจจะตกลงรับเงินค่าเสียหายจากคู่กรณี แล้วมาเรียกร้องกับบริษัทประกันภัยอีกครั้งว่า รถยนต์ของตนถูกท้าย โดยไม่สามารถหาคู่กรณีได้
– ผู้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ตัดหรือ ทำลาย อวัยวะของตนบางส่วน เช่น แขน ขา นิ้ว แล้วไปแจ้งกับบริษัทประกันภัยว่า เป็นผลจากอุบัติเหตุ โดยหวังจะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากบบริษัทประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย
– ตัวแทนหรือนายหน้า ขอเอาประกันชีวิตบุคคลบางคน ซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว หรือกำลังป่วยหนักด้วยโรคต่างๆ ที่บริษัทประกันชีวิตไม่สามารถจะรับประกันชีวิตได้แน่นอน โดยการปกปิดข้อเท็จจริงเหล่านี้ ภายหลังจากที่บริษัทประกันชีวิต รันประกันชีวิตไปได้ไม่นานก็จะแจ้งว่าบุคคลนั้นได้เสียชีวิตลง และจะขอรับเงินค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันชีวิตความเสียหายที่เกิดจาก สภาวะทางด้านศีลธรรมนี้ บริษัทประกันภัยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหนทดแทนตามสัญญาประกันภัย

3. สภาวะทางด้านจิตสำนึกในการป้องกันภัย (MORALE HAZARD)
เป็นสภาพที่มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลบางคนที่ได้เอาประกันภัยทรัพย์สินของตนไว้ แล้วประมาทเลินเล่อไม่เอาใจใส่ ป้องกันอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินนั้น โดยถือว่าตนเองได้เอาประกันภัยไว้แล้ว หากมีความเสียหายอะไรเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ บริษัทประกันภัยมีหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามที่ระบุไว้ ในกรมธรรม์ประกันภัย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยเหตุนี้ มิได้เกิดขึ้นด้วยเจตนาของผู้เอาประกันภัย (UNINTENTIONAL ACT) แต่เกิดจากการขาดความระมัดระวังในการป้องกันภัยตามสมควร เช่น การที่เจ้าของรถยนต์ ที่มีประกันภัยรถยนต์ไว้แล้วขับรถด้วยความคะนอง โดยไม่สนใจว่าอาจจะเกิดความเสียหายต่อรถยนต์ของตน หรือไปทำความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก หรือไปชนคนอื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ เพราะเข้าใจว่าเมื่อได้ทำประกันภัยไว้แล้ว บริษัทประกันภัยจะชดใช้ ความเสียหายนั้นทุกกรณี ซึ่งความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยงภัย

สรุป
สภาวะที่ส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย (Hazard)
หมายถึง สิ่งที่จะก่อให้เกิดภัยหรือการเพิ่มโอกาสให้เกิดการสูญเสีย จากภัย มีอยู่ 3 ประการ คือ
1. สภาวะทางกายภาพ (Physical Hazard) คือ สภาพทางกายภาพของทรัพย์สินหรือวัตถุที่เพิ่มโอกาสให้เกิด ความ เสียหาย จาก เหตุต่างๆ เช่น บ้านที่สร้างด้วยไม้มีโอกาส เกิดไฟไหม้ ้ได้ง่ายกว่าบ้านคอนกรีตคนงานในโรงงานมีโอกาส ประสบอุบัติเหตุสูง กว่าคนทำงานในสำนักงาน

2. สภาวะด้านศีลธรรม (Moral Hazard) คือ เหตุแห่งภัยเกิดจากความไม่ซื่อตรง หรือความไม่สุจริตใจ ของผู้เอา ประกันภัย เช่น การลอบวางเพลิงหวังเงินเอาประกันภัย การทุจริตเพื่อ หวังค่าสินไหมทดแทน

3. สภาวะด้านจิตสำนึกในการป้องกันภัย (Morale Hazard) คือเหตุแห่งภัยที่เกิดจากการขาดความระมัดระวังในการป้องกันภัย ตามสมควร เช่น การชอบลืมปิดเตาแก๊สเมื่อออกจากบ้านการ ขับรถ ด้วย ความคึกคะนองหรือเมาสุรา





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow