INSURANCETHAI.NET
Mon 18/11/2024 2:47:15
Home » การประกันภัย ประกันชีวิต » ประกันสุขภาพ บิดามารดา ลดหย่อนภาษี\"you

ประกันสุขภาพ บิดามารดา ลดหย่อนภาษี

2018/10/24 2645👁️‍🗨️

ประกันชีวิตของพ่อกับแม่ สามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้ไหม?

ผู้ที่จะนำไปลดหย่อน
ถ้าเป็น พ่อ,แม่ ก็ลดหย่อนของตัวเองได้ เพราะเป็นผู้เอาประกันเอง ซื้อให้ตัวเอง เป็น ค่าลดหย่อนส่วนตัว(Personal allowance)
ลูกจึง เอาไปใช้ลดหย่อนไม่ได้ (แต่ประกันสุขภาพที่ซื้อให้พ่อแม่ ลดหย่อนได้ ตามเงื่อนไข)

ประกันสุขภาพของพ่อกับแม่ สามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้ไหม?

บุตรสามารถนำไปลดหย่อนได้
โดยมีเงื่อนไข
บิดามารดา ต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท ในปีภาษีนั้น (นำไปลดหย่อนได้ตามจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท หากบุตรช่วยกันออก ให้เฉลี่ยตามส่วน)
ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ( บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิลดหย่อน )
ไม่จำกัดเรื่องอายุบิดามารดา

– ต้องเป็นประกันสุขภาพของพ่อแม่  โดยผู้ชำระเป็นลูกจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
– ประกันที่ลูกซื้อให้พ่อแม่ แล้วนำไปลดหย่อนภาษีได้คือ ประกันสุขภาพ ไม่ใช่ประกันชีวิต
ไม่ว่าพ่อแม่จะอายุเท่าไร ลูกก็สามารถนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพไปหักลดหย่อนได้ แต่พ่อแม่ต้องมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท
ถ้าพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แล้วใช้คนละนามสกุลกับแม่ ก็ยังสามารถซื้อประกันสุขภาพให้แม่ แล้วได้ลดหย่อนภาษี
โดยสรรพากรอาจขอตรวจสูติบัตรเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่า เป็นแม่ลูกกัน

อย่าสับสน
การหักลดหย่อนภาษี
1.เบี้ยสุขภาพ ที่จ่ายให้บิดามารดา
2.ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (Parental care allowance)

บิดามารดา ต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้น
บิดา มารดา ได้เงินจากเบี้ยสูงอายุเดือนละ 600 บาท 1ปี = 7,200 บาท
หาก บิดา หรือ มารดา ทั้งปีมีรายได้ อื่นๆ อีก 22,800 บาท ก็ไม่เข้าเงื่อนไข

สรรพากร หรือ บริษัทประกันไม่สามารถทราบได้ว่า เบี้ยประกันที่จ่ายซื้อประกันชีวิต หรือ สุขภาพนั้น ใครเป็นคนจ่าย พ่อแม่จ่ายเอง หรือ ลูกจ่ายให้พ่อแม่ ดังนั้น จึงดูจาก การระบุผู้ชำระเบี้ย ตอนทำประกัน

ต้องดูกรมธรรม์ว่าใครจ่าย หากเราจ่าย ลดได้ทั้งสองคนตามระเบียบสรรพากร
หากบิดามารดาชำระเบี้ยเอง นำมาลดหย่อนของเราไม่ได้ และประกันชีวิตอย่างเดียว ไม่มี ประกันสุขภาพก็นำไปลดหย่อนไม่ได้เช่นกัน

เบี้ยประกันชีวิต ที่จ่ายสำหรับบิดามารดา ไม่สามารถนำลดหย่อนได้
เบี้ยประกันสุขภาพ ที่จ่ายสำหรับบิดามารดา (ตามเงื่อนไข ข้างต้น)สามารถนำมาลดหย่อนได้

“เบี้ยประกันชีวิต” กับ “เบี้ยประกันสุขภาพ” ต่างกันอย่างไร
ประักันชีวิต : ให้ความคุ้มครองทางด้านชีวิตโดยตรง โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินสินไหมทดแทนเนื่องจากการเสียชีวิต (จากทุกกรณี) หรือ เนื่องจากการมีชีวิตอยู่ตามระยะเวลาที่กำหนด

ประกันสุขภาพ : ให้ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้านค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้เนื่องจากนอนพักรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่ว่าการรักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

การประกันสุขภาพบิดามารดา ต้องมีลักษณะอย่างไร จึงจะได้รับยกเว้นเงินได้

การประกันสุขภาพบิดามารดา ต้องมีลักษณะ ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162) ดังนี้
1. การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
2. การประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
3. การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
4. การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)

การทำประกันให้ พ่อ-แม่ เพื่อลดหย่อนภาษี

ประกันที่ใช้สิทธิได้ คือ ประกันสุขภาพอย่างเดียว(ที่ไม่ต้องซื้อควบประกันชีวิต) และ ประกันสุขภาพแบบสัญญาเพิ่มเติม(ซื้อควบประกันชีวิต)
กรณีแบบสัญญาเพิ่มเติม ประกันตัวหลัก(ประกันชีวิต) ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้
(ประกันชีวิต (สัญญาหลัก) ของพ่อแม่ บุตรนำมาลดหย่อนไม่ได้)

– เบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้พ่อและแม่ สามารถลดหย่อนภาษีได้ (ส่วนที่เกินจากสัญญาหลักทั้งหมด)
– ประกันชีวิต จะสามารถลดหย่อนได้ดังนี้
3.1 แบบปกติ 1 แสนบาทต่อปี
3.2 แบบบำนาญ 2 แสนบาทต่อปี
3.3 แบบสุขภาพพ่อแม่รวม 15000 บาท โดยต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป

เรื่อง ใบรับรองการลดหย่อนภาษี / ใบเสร็จ
1. ต้องรอใบรับรองการลดหย่อนภาษี จากบริษัทประกันด้วยหรือไม่? หรือใช้ใบเสร็จรับเงินได้เลย
2. ถ้าต้องใช้หนังสือรับรองการลดหย่อนภาษี ต้องให้เขาระบุชื่อผู้ที่จะเอาไปลดหย่อนไหม? หรือใช้ชื่อผู้เอาประกันได้เลย

หลักฐานการยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
การใช้สิทธิ์ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาต้องแสดงหลักฐานอะไรบ้าง?

ผู้มีเงินได้ต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองจากบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัย โดยต้องมีข้อความอย่างน้อย ดังนี้
1. ชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย
2. ชื่อ และ นามสกุลของผู้จ่ายเบี้ยประกันภัย (ทุกคน)
3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้เอาประกันภัย
4. จำนวนเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพตามข้อ 2
5. จำนวนเงินที่มีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้

นอกจากนี้ยังมี
Child allowance ค่าลดหย่อนบุตร
Spouse allowance ค่าลดหย่อนคู่สมรส

เบี้ยประกันสุขภาพสามารถลดหย่อนภาษีได้ หรือไม่?

ตั้งแต่ปีภาษี 2560 เป็นต้นไป [หรือประกันสุขภาพที่มีการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป] ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพที่เพิ่มเติมสัญญามาจากการซื้อประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพที่ทำแยกต่างหาก สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป / เงินฝากแบบมีประกันชีวิต แล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสุขภาพ ที่นำไปลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ ประกันสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ มีเงินชดเชยให้กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพจากการเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ [เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามกรมธรรม์ที่คุณเลือกซื้อ] ประกันภัยอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดการสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเกิดการแตกหักของกระดูก ประกันภัยโรคร้ายแรง เช่น ประกันมะเร็ง ให้ความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาล เมื่อตรวจพบเจอมะเร็ง ประกันภัยการดูแลระยะยาว ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองดูแลระยะยาว หากเกิดกรณีที่ผู้ทำ ประกันภัย ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้ อย่างน้อย 3 ใน 6 อย่าง ได้แก่ การเปลี่ยนระหว่างนอนและนั่ง, การเดิน, การแต่งกาย, การอาบน้ำชำระล้างร่างกาย, การทานอาหาร โดยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันเหล่านี้ได้ด้วยตัวเองหรือจำเป็นต้องมีผู้ช่วย ต่อเนื่องติดต่อกันไม่น้อย กว่า 180 วันหรือมีการรับรองจากแพทย์ชัดเจน โดยประกันภัยจะจ่ายเป็นค่าทดแทนเป็นรายเดือน หรือมอบเงินชดเชยให้ตามทุนประกันภัยที่ซื้อไว้ และจ่ายต่อเนื่องสูงสุดเช่น 24 หรือ 36 เดือน

เบี้ยประกันบำนาญลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาท หรือ ไม่?

คนส่วนใหญ่จะคิดว่าประกันบำนาญลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท แต่ในความจริง สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท หากยังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประกันชีวิตแบบทั่วไป ในส่วนแรก 100,000 บาท เพราะประกันบำนาญ ถือว่าเข้าเงื่อนไขประกันชีวิตแบบทั่วไปด้วย เช่น หากจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปเพียง 50,000 บาท และจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญอีก 250,000 บาท เราสามารถนำเบี้ยรวม 300,000 บาท มาลดหย่อนได้ทั้งหมด

เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ?

ประกันสุขภาพหรือสัญญาเพิ่มเติมต่างๆ ทั้งบิดามารดาของผู้มีเงินได้และบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ รัฐบาลให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ บิดามารดา ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000* บาท/ ปี/ คน

เบี้ยประกันชีวิตบุตรนำมาลดหย่อนภาษีได้ จริงหรือ?

เบี้ยประกันชีวิตของบุตร ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ สำหรับคนที่มีลูก แต่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อน ได้เฉพาะส่วนของค่าใช้จ่ายของบุตรตามที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้นโดยหักได้คนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวน

สามีหรือภรรยาไม่มีรายได้ สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนได้ปกติ จริงหรือ?

ในกรณีสามีหรือภรรยาไม่มีรายได้ เมื่อยื่นภาษีรวมกันในส่วนของบุคคลที่ไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนภาษีค่าเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาทเท่านั้น เพราะส่วนที่เหลือ 90,000 บาท เป็นการยกเว้นจากรายได้เมื่อไม่มีรายได้ จึงไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้
สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของแต่ละคนไม่เท่ากัน

สรุป เรื่องการหักลดหย่อน ภาษี สำหรับประกัน
ประกันชีวิต
ถ้าจ่ายให้พ่อแม่ นำไปลดหย่อนไม่ได้ ถ้าพ่อแม่ซื้อเองก็ลดหย่อนได้ปกติของตัวเอง
ถ้าจ่ายให้ลูก นำไปลดหย่อนไม่ได้ ถ้าลูกซื้อให้ตัวเอง ลดหย่อนได้

ประกันสุขภาพ
ถ้าจ่ายให้พ่อแม่ นำไปลดหย่อนได้ (โดยมีเงื่อนไข) ถ้าพ่อแม่ซื้อเองก็ลดหย่อนได้ปกติของตัวเอง
ถ้าจ่ายให้ลูก นำไปลดหย่อนไม่ได้ ถ้าลูกซื้อให้ตัวเอง ลดหย่อนได้

ประกันแบบไหนบ้างที่ลดหย่อนภาษีได้?

แบบที่มีระยะเวลาจ่ายเบี้ย 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนได้หมด

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) หรือ จำกัดเวลา
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment)
ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity)

ประกันสุขภาพ

สามารถซื้อได้จากทั้ง บริษัทประกันชีวิต และ บริษัทประกันวินาศภัย
การซื้อจากทางบริษัทประกันชีวิต จะเป็นการพิจารณาในการรับทำประกันครั้งแรกเพียงครั้งเดียว (แม้ในกรมธรรม์จะระบุเป็นปีต่อปี แต่ก็มักจะต่ออายุให้ตลอดไปพร้อมกับประกันชีวิต เว้นแต่อาจมีบางกรณีที่มีการเคลมประกันสุขภาพมากจนเกินเกณฑ์และมีความผิดปกติ) ไม่มีการพิจารณาการทำประกันหรือต่ออายุเป็นปีต่อปีเหมือนกับทางบริษัทประกันวินาศภัย (บริษัทวินาศภัยมีสิทธิ์จะยกเลิก สัญญา หรือ เปลี่ยนแปลง เงื่อนไข หรือ เลิกขาย ก็ได้ แต่บริษัทมักจะไม่ทำหากไม่จำเป็นจริงๆ เพราะจะทำให้เสียลูกค้าและ สร้างความไม่มั่นใจ)

ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Link)

เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี

ต้อง เป็นกรมธรรม์ที่ทำกับบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในประเทศไทย

ประกันชีวิต
ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
เงินปันผลหรือผลตอบแทนระหว่างสัญญา ต้องได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี

ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
การจ่ายผลประโยชน์จะต้องจ่ายเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ
ช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์ คือ ตั้งแต่ 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น
ต้องจ่ายเบี้ยประกันครบก่อนได้รับผลประโยชน์
เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เข้ากับ RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนและ กองทุนการออมแห่งชาติ ทั้งหมดนี้สามารถใช้สิทธิได้สูงสุดรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

ประกันสุขภาพ (ตัวเอง)
ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ตามที่กฎหมายกำหนด

เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ หรือ การประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล

การลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพ

1.เบี้ยประกันสุขภาพ (ตัวเอง) ลดหย่อนได้

2.เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ที่สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขทางภาษีดังนี้

        1) ผู้เสียภาษีต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของพ่อและแม่
2) พ่อแม่ต้องมีรายได้ทั้งปีภาษีของแต่ละคนไม่เกิน 30,000 บาท
3) พ่อแม่ต้องเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีนั้นๆ
4) เป็นความคุ้มครองพ่อแม่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น …
(1) การรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ หรือ
(2) ประกันภัยอุบัติเหตุที่คุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก หรือ
(3) ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses) หรือ
(4) เป็นประกันภัยแบบดูแลระยะยาว (Long Term Care) ซึ่งประกันสุขภาพสำหรับคุณพ่อคุณแม่นี้ สามารถเฉลี่ยกันได้ระหว่างพี่น้องในครอบครัว โดยหารตามจำนวนที่จ่ายร่วมกัน แต่รวมกันสูงสุดต้องไม่เกิน 15,000 บาท

3.เบี้ยประกันสุขภาพ ของลูก ลดหย่อนไม่ได้

เบี้ยประกันชีวิต ที่จ่ายสำหรับทำประกันชีวิตให้พ่อแม่ ไม่สามารถใช้หักลดหย่อนภาษีได้ เพราะกฎหมายให้สิทธิที่เกี่ยวกับการทำประกันให้พ่อแม่เฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายสำหรับทำประกันชีวิตให้ตัวเองหรือคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ปกติ

ถ้าจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้ทั้งพ่อและแม่ก็สามารถลดหย่อนได้สูงสุด ฿30,000 ใช่หรือไม่? (ลดหย่อน ฿15,000 ต่อพ่อหรือแม่หนึ่งคน)
กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียภาษี 1 คนสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนนี้ได้ตามที่จ่ายจริงสำหรับ พ่อแม่ทุกคนรวมกัน สูงสุดไม่เกิน ฿15,000 เท่านั้น






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow