INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 17:17:59
Home » Uncategorized » ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย\"you

ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย

2018/10/14 1338👁️‍🗨️

การที่บุคคลหนึ่งมีปัญหาที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย มักจะเกิดจาก 2 อย่าง
1. ปัญหาทางกายภาพ เช่น โรงพยาบาลอยู่ไกลมากหรือเดินทางไมสะดวกมีเครื่องมือและยาที่ จำเป็นในการตรวจรักษาไม่เพียงพอ
2. ปัญหาทางการเงิน เป็นปัญหาที่ค่าตรวจรักษามีราคาสูงเกินกว่าความสามารถที่ผู้ป่วยจะจ่ายได้

ประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพหลัก 4 ระบบ
ระบบสุขภาพของประเทศไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มใช้นโยบาย 30บาทรักษาทุกโรคเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการโดยเฉพาะการจัดการทางด้านวิธีการจ่ายบริการสุขภาพสำหรับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

1. 30 บาทรักษาทุกโรค

เป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดการบริหารจัดการบริหารจัดการโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและผู้เสียภาษีเป็นและผู้เสียภาษีเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายครอบคลุมบุคคลที่ไม่มีสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการรักษาพยาบาล ข้าราชการ

2. ประกันสังคม

มีขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับลูกจ้าง ธุรกิจเอกชน รับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกันโดยตัวลูกจ้าง นายจ้าง และผู้เสียภาษี บริหารสำนักงานประกันสังคม

3. สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

มีขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันให้กับข้าราชการซึ่งเป็นลูกจ้างของรัฐและครอบครัวโดยรับบาลซึ่งเป็นนายจ้างใช้เงินภาษีจ่ายให้เป็นโดยรับบาลซึ่งเป็นนายจ้าง โดยรับบาลซึ่งเป็นนายจ้างใช้เงินภาษีจ่ายให้เป็นสวัสดิ์การบริหารโดยกรมบัญชีกลาง

4. ประกันเอกชน

เป็นระบบสมัครใจผู้ที่ต้องการได้สิทธิประโยชน์ตามข้อเสนอของบริษัทประกันสามารถซื้อหลัก ประกันเอกชนแต่ละแห่งเป็นผู้บริหาร

พระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
1. เป็นการประกันสิทธิของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้แก่ประชาชน
3. เป็นการแก้ปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนของงานระบบประกับสุขภาพในอดีต
4. เป็นการลดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพด้วยระบบงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพ

สิทธิของประชาชน ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
1. สิทธิการเข้ารับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
2. สิทธิเลือกหน่วยบริการประจำตัวที่มีมาตรฐาน และสะดวกในการเข้ารับบริการ
3. สิทธิได้รับบริการสาธารณสุขในกรณีฉุกเฉินที่สถานพยาบาลอื่นๆ ได้นอกเหนือจากบริการที่คงทะเบียน เป็นหน่วยบริการประจำตัว
4. สิทธิที่ได้รับการร้องเรียนเมื่อได้รับบริการสาธารณสุขที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือ เกิดความเสียหายจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข
5. สิทธิได้รับความช่วยเหลือเยียวยาเมื่อมีความเสียหายจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข
6. สิทธิในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ทั้งการกำหนดนโยบาย การจัดสรรการประเมินการบริหารหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
7. ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และบุคคลใดมีสิทธิในการเข้ารับบริการสาธารณสุขตามหลักเกณฑ์การได้รับสวัสดิการหรือตามสิทธิที่เคยได้รับก่อนมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ให้การใช้สิทธิเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม เช่น ผู้พิการ

โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือเรียก 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการรัฐบาลที่ทำเพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพ โดยคนไทยทุกคนสามารถรับบริการรักษาโรค โดยจ่ายเพียงสามสิบบาท โดยภาครัฐจะให้ประชาชนลงทะเบียนกับโรงพยาบาลและรัฐจัดสรรงบประมาณลงในโรงพยาบาลตามจำนวนคน และแจกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้รับบริการ เรียกกันว่า บัตรทอง

ก่อนการดำเนินโครงการ 30 บาท ฯ ประเทศไทยมีระบบสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพที่ภาครัฐเข้าไปมีส่วนร่วม 4 ระบบ อันได้แก่ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจ (โครงการบัตรสุขภาพ) โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.) รวมระบบประกันสุขภาพที่ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินงานเป็นทั้งสิ้น 5 ระบบ สามารถครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 70 ของประเทศ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ จากความพยายามของรัฐบาลที่ผ่านมา ยังมีประชากรอีกกวา 20 ล้านคนหรือร้อยละ 30 ของทั้งประเทศที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ นี่เป็นประเด็นปัญหาสำคญประการหนึ่งที่ผลักดันให้มีการขยายสวัสดิการรักษาพยาบาลและหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรที่ตกหล่นจากความพยายามของรัฐบาลที่ผ่านมาดังกล่าว จนกระทั่งในปพ.ศ. 2544 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เลือกใช้แนวทางการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้สวัสดิการและหลักประกันสุขภาพที่มีอยู่ครอบคลุมประชากรทั้งหมดของประเทศผ่าน “นโยบายโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั่วประเทศในปีพ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ประชาชนไทยทุกคนได้รับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

จุดเริ่มต้นมาจาก นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท รุ่นที่ 8 บุกเบิกและผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยพรรคไทยรักไทยได้นำไปใช้เป็นนโยบายที่เรียกว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 ซึ่งมีนายแพทย์สงวนเป็นเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคนแรก (ดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดกัน)

จุดเน้นเป้าหมายคือ “รากหญ้า” โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ด้านการรักษาสุขภาพ ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแลประชาชนชาวไทย เมื่อนายแพทย์สงวนนำโครงการนี้ไปเสนอ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (ในสมัยที่ 1)ในขณะนั้น และได้รับการตอบรับ จนกลายมาเป็นนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยในเวลานั้น จนกลายเป็นนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ในเวลาต่อมาเรียกขานกันในนาม “บัตรทอง” เพราะไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่บาทเดียว บัตรทองเริ่มต้นตั้งที่งบประมาณจากรัฐจ่ายค่าเบี้ยประกันสังคมให้กับ ประชาชน หัวละ 1,250 บาท (จนถึงปัจจุบันดูแลครอบคลุมประชาชนในสิทธิบัตรทองกว่า 47 ล้านคน) โดยค่าบริการต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 2,895 บาทแล้ว โดยไปขึ้นทะเบียนต่อกับโรงพยาบาล ในเขตที่ตนอาศัยอยู่แล้ว เมื่อเจ็บป่วยก็เข้ารักษาตามที่ลงทะเบียนไว้ ถ้าไม่เจ็บป่วยก็ไม่ต้อง โรงพยาบาลก็ได้เงินส่วนนี้ไปเฉลี่ยรักษาคนที่ป่วยลักษณะคล้ายกับการประกันสุขภาพ โดย สปสช.ให้ความรู้เกี่ยวกับ หลักประกันสุขภาพ เอาไว้ว่า คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่จัดบริการสาธารณสุขให้แก่บุคคลที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลจากกฎหมายประกันสังคมหรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีชื่อ เรียกอย่างเป็นทางการว่า “สิทธิหลักประกันสุขภาพ” หรือที่เคยรู้จักกันในนาม สิทธิ 30 บาทหรือสิทธิบัตรทอง เพื่อเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ตั้งแต่ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิต

ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ คือ คนไทยทุกคน ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลตามกฎหมายประกันสังคมหรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสวัสดิการรักษาพยาบาลอย่างอื่นที่รัฐจัดให้

นอกจากนี้การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าผ้านโครงการ 30 บาท ฯ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่กี่ประเทศ เช่น ตุรกี เกาหลีใต้ และเม็กซิโก ที่สามารถจัดให้มีสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนทุกคนในประเทศ และแซงหน้าประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้จะมีความพยายามมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 2470 ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) แต่จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่สามารถจัดหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชากรทั้งหมดได้

โครงการนี้ดำเนินงานโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

บัตรทอง 30 บาท คือบัตรประกันสุขภาพที่ให้สิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ผู้ที่ถือบัตร ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี จึงได้รับการตอบรับจากผู้คนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบุคคลที่มีฐานะระดับยากจนไปจนถึงปานกลาง แต่อย่างไรก็ตาม บัตรทองก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นกัน จึงควรทำความเข้าใจให้มากขึ้น เพื่อการใช้บัตรทองอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับสิทธิประโยชน์มากที่สุดนั่นเอง

ข้อดีของการใช้บัตรทอง

สำหรับข้อดีของการใช้บัตรทองนั้นก็มีหลากหลายด้วยกัน แม้จ่ายเพียงแต่ 30 บาท แต่ก็ได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่าไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งข้อดีของการใช้บัตรทองก็มีดังนี้

1.รับบริการตรวจรักษาอย่างครอบคลุมทุกโรค

แค่ใช้บัตรทอง ก็สามารถตรวจและทำการรักษาได้อย่างครอบคลุมทุกโรค โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงการถอนฟัน อุดฟัน การทำฟันปลอมฐานพลาสติกหรือการใส่เพดานเทียม ในเด็กที่มีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่อีกด้วย ซึ่งสามารถใช้ได้กับโรงพยาบาลรัฐทั่วไป ดังนั้นหากใครที่กำลังสงสัยว่าตนเองกำลังป่วยเป็นโรคอะไรหรือไม่ หรือต้องการตรวจสุขภาพประจำปี แค่มีบัตรทอง 30 บาท ก็สามารถตรวจโรคได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

2.รับการผ่าตัดทุกโรคและการทำคลอด

บัตรทอง ให้สิทธิประโยชน์ในการผ่าตัดอย่างครอบคลุมทุกโรคและการทำคลอด ซึ่งให้สิทธิไม่เกิน 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำหมันและการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นหากจำเป็นต้องผ่าตัด สามารถใช้สิทธิ 30 บาท เพื่อการรักษาด้วยการผ่าตัดได้เลย

3.ให้สิทธิค่าห้อง ค่าอาหาร กรณีผู้ป่วยสามัญ

รับสิทธิประโยชน์สบายๆ เมื่อต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าห้องหรือค่าอาหาร แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นกรณีผู้ป่วยสามัญเท่านั้น ผู้ที่มีบัตรทอง จึงไม่ต้องกังวลกับการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในกรณีค่าห้องและค่าอาหารเพิ่มเติมนั่นเอง รู้แบบนี้แล้วอย่าพลาดที่จะใช้สิทธิเด็ดขาด

4.คุ้มครองดูแลสุขภาพเด็ก

ให้การคุ้มครองและดูแลสุขภาพเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิด ซึ่งส่วนใหญ่หลังคลอดบุตรทางโรงพยาบาลจะทำบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคให้ทันที และให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุมทุกโรค รวมถึงการบริการด้านการเสริมพัฒนาการของเด็กและภาวะโภชนาการด้วย หรือกล่าวง่ายๆ เลยก็คือ ให้การดูแลสุขภาพเด็กอย่างครบวงจรเลยนั่นเอง

5.บริการให้คำปรึกษา

รับบริการให้คำปรึกษา ทั้งเรื่องสุขภาพ และเรื่องอื่นๆ ทั่วไป รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ข้อเสียของการใช้บัตรทอง

แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค แต่ก็มีบริการทางการแพทย์บางอย่างที่ไม่คุ้มครองเหมือนกัน ซึ่งก็มีข้อเสียของบัตรทอง ดังนี้

1.รักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลรัฐ

บัตรทอง สามารถใช้รักษาได้เฉพาะกับโรงพยาบาลรัฐเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับโรงพยาบาลเอกชนได้ ซึ่งก็อาจจะสร้างความลำบากให้กับผู้ที่อยู่ไกลจากโรงพยาบาลรัฐมากทีเดียว

2.ไม่คุ้มครองการรักษาที่เกินความจำเป็นพื้นฐาน

บัตรทองจะให้ความคุ้มครองการรักษาในกรณีที่อยู่ในระดับความจำเป็นพื้นฐานเท่านั้น หากเกินจากความจำเป็นพื้นฐานแล้ว จะไม่สามารถใช้บัตรทองเพื่อการรักษาได้ ซึ่งกลุ่มบริการที่ไม่ได้รับความคุ้มครองในกลุ่มนี้ คือ

  • การผสมเทียม เพื่อมีบุตร
  • การรักษากรณีที่มีบุตรยาก
  • การบริการทางการแพทย์เพื่อความสวยงาม เช่น ทำเลเซอร์รักษาสิว ทำศัลยกรรมความงาม เป็นต้น
  • การเปลี่ยนแปลงเพศ
  • การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคบางอย่างที่เกินความจำเป็น
  • การทำการรักษาอาการป่วยหรือโรคบางอย่าง ที่อยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง

3.ไม่คุ้มครองการรักษาที่มีงบประมาณจัดสรรโดยเฉพาะ

บัตรทองจะไม่ให้ความคุ้มครองในการรักษาที่มีงบประมาณจัดสรรให้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว ซึ่งได้แก่

  • โรคจิต หรืออาการป่วยทางจิต ซึ่งทางการแพทย์จำเป็นต้องรับไว้เพื่อการรักษาและฟื้นฟูจิตใจของผู้ป่วย โดยให้เป็นผู้ป่วยในเกินกว่า 15 วัน ส่วนนี้จะมีงบประมาณที่จัดสรรไว้สำหรับผู้ป่วยอยู่แล้ว
  • การบำบัดผู้ติดยาเสพติด เป็นการบำบัดและรักษาอาการของผู้ติดยาเสพติด เพื่อฟื้นฟูให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด ซึ่งก็จะมีงบประมาณจัดสรรไว้ให้แล้วเหมือนกัน
  • ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุทางรถ โดยมี พรบ. คุ้มครองอยู่ ซึ่งจะต้องใช้สิทธิ พรบ. ให้ครบก่อน จึงจะสามารถใช้สิทธิรักษา 30 บาทได้

4.ไม่คุ้มครองกรณีโรคเรื้อรัง

บัตรทอง จะไม่คุ้มครองในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรัง และโรคที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้นหากมีความจำเป็นจริงๆ เช่นเกิดภาวะแทรกซ้อน จึงต้องรักษายาวนานขึ้น กรณีนี้อาจได้รับการรักษาโดยใช้สิทธิได้

จะเห็นได้ว่า บัตรทอง มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แม้จะเรียกว่าเป็นบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่จ่ายแค่ 30 บาท ก็รักษาทุกโรค แต่ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน และที่สำคัญคือสามารถใช้รักษาได้เฉพาะกับโรงพยาบาลรัฐและศูนย์บริการเช่นอนามัย เท่านั้น จึงอาจทำให้ผู้ที่อยู่ไกลจากโรงพยาบาลรัฐใช้สิทธิได้ลำบากมากขึ้น แต่อย่างก็ตาม สิทธิประโยชน์ที่ได้รับก็ถือว่าอยู่ในระดับที่คุ้มค่ามากพอสมควรเช่นกัน





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow