INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 17:15:33
Home » ประกันสุขภาพ » ระบบสุขภาพของ 5 ประเทศในโลก\"you

ระบบสุขภาพของ 5 ประเทศในโลก

2018/08/31 1167👁️‍🗨️

ระบบสุขภาพของ 5 ประเทศในโลก

โดยรายการ Frontline ของสหรัฐอเมริกา
การดูแลสุขภาพเป็นปัญหาใหญ่ของพลเมืองและเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของรัฐบาล แต่ละประเทศต่างก็ตอบโจทย์นี่ด้วยระบดูแลสุขภาพต่างๆ กัน
บางประเทศก็ยังแก้ปัญหาไม่ตก ส่วนบางประเทศดูเหมือนแก้ปัญหาได้ แต่ก็อาจจะยังมีข้อกังขาถึงความยั่งยืน แม้ของไทยเราเอาก็เช่นเดียวกันวิเคราะห์ระบบสุขภาพของ 5 ประเทศในโลก ( สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ )
ประเด็นหลักๆ คือ ใครได้รับการดูแลบ้าง ใครเป็นผู้ให้บริการ ใครรับภาระด้านการเงิน และคุณภาพของบริการเป็นอย่างไร

สหรัฐอเมริกา

ระบบของสหรัฐอเมริกา พึ่งโรงพยาบาลเอกชนเป็นหลัก
แม้ว่าจะมีหลายโปรแกรมแต่ว่ารวมๆ กันแล้ว ทั้งระบบไม่สามารถดูแลประชาชนได้ทั่วถึง ยังมีคนจนจํานวนหนึ่งตกออกจากระบบไปเลย และค่ารักษาพยาบาลที่สูงลิบลิ่วก็ถึงกับทําให้บางครอบครัว ถึงกับล้มละลาย นี่เป็นระบบทุนนิยมเกือบแท้
พลเมืองอเมริกันสรุปว่า ระบบที่ใช้อยู่จําเป็นต้องได้รับการแก้ไข และผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานธิบดี สมัยปีการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยปีการเลือกตั้ง ค.ศ.2008 ต่างก็มีข้อเสนอปรับปรุง แต่ไม่ถึงขั้นจะปฏิรูประบบ

อังกฤษ

ระบบในประเทศอังกฤษ อยู่สุดโต่งอีกด้านหนึ่งคือ เป็นระบบสวัสดิการเต็มรูปพลเมืองทุกคนได้รับการรักษาพยาบาลฟรีและเสมอภาคกัน หมด เงินที่รัฐบาลอังกฤษใช้ในการดูแลสุขภาพของพลเมืองาจากงบประมาณแผ่นดินทั้ง จํานวน ซึ่งก็คือมาจากภาษีอากรที่รัฐบาลเก็บไปนั่นเอง และโรงพยาบาลทั้งหมดในอังกฤษก็เป็นของรัฐ ทุกโรงพยาบาลได้รับค่ารักษาเท่ากัน ไม่เลือกว่าโรงพยาบาลนั้นใหญ่หรือเล็ก เก่งหรือไม่เก่ง
อังกฤษกํำหนดให้คนไข้ต้องไปพบหมอประจําบ้าน (Family Doctor) ก่อน ต่อจากนั้นหมอประจําบ้าน ซึ่งเรียกว่า Gate Keeper หรือนายด่าน จะเป็นผู้จ่ายคนไข้ไปหาหมอที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางตามความจําเป็นของโรคหมอประ จําบ้านได้เงินตามจํานวนคนที่ลงทะเบียน และมีหน้าที่ดูแลไม่ให้คนป่วย โดยได้โบนัสจากการที่คนไม่ป่วยหรือหายป่วย ดังนั้นหมอประจําบ้านของอังกฤษจึงทํางานที่เน้นด้านเวชศาสตร์ป้องกัน
ระบบหมอประจําบานนี้เมืองไทยเราก็เคยพูดๆ กันอยู่ และมีคนอยากเรียนอยากเป็นแต่ว่าระบบของเราไม่อํานวย เพราะแพทย์ที่เลือกเชี่ยวชาญด้านการเป็นแพทย์ประจำบ้านดูแลคนไข้ทั้งตัว ไม่ได้เป็นที่ยอมรับเท่ากับเป็นแพทย์เฉพาะทาง เพราะเราไม่มีระบบให้ใครต้องไปหาแพทยืประจําบ้านก่อนเป็นด่านแรก คนไข้ทุกคนต่างก็วินิจฉัยอาการเบื้องต้นของตนเองแล้วเลือกหาแพทย์เฉพาะทาง ถ้าอยากเป็นแพทย์ประจำบ้านและพออยู่ได้ ก็ต้องเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐที่มีมหาวิทยาลัยด้วยเท่านั้ัน
รัฐบาลอังกฤษพยายามปรับปรุงการให้สวัสดิการอยู่เสมอ ปัจจุบันคนไข้เลือกโรงพยาบาลได้ ทําให้โรงพยาบาลต้องแข่งกันให้บริการที่ดีเพื่อรักษาคนไข้ไว้ ไม่เช่นนั้นโรงพยาบาลก็ไม่มีรายได้
ระบบแบบนี้เป็นระบบในฝันของพลเมืองเพราะแสนสบาย ป่วยไข้ไม่สบายก็ไม่ต้องจ่าค่าหมอค่ายา หรือค่ารักษาสักอย่าง เป็นพลเมืองจ่ายภาษีอย่างเดียวที่เหลืองรัฐบาลจัดให้หมด แต่จะดูว่าระบบดีจริงหรือไม่ คงมองแต่ฝ่ายผู้รับบริการอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องมองจากทุกมุม และมองในระยะยาวด้วยว่า
1.รัฐบาลจะมีเงินจ่ายได้ตลอดไปหรือไม่ โดยที่ไม่ถังแตกเสียก่นอ
2.สถานบริการทางการแพทย์จะมีกําไรพอเพียงจะพัฒนาบริการให้ดีอย่างต่อเนืื่องหรือไม่
3.จะมีบุคลากรทางการแพทย์พอเพียงหรือไม่

ญี่ปุ่น เยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์

สามประเทศนี้ ถึงจะแยกกล่าวแต่ละแห่ง ได้แต่ส่วนที่เหมือนกันคือ เลือกใช้ระบบประกันสุขภาพที่ประชาชนเป็นผู้จ่าย แต่รัฐบาลมีส่วนร่วมดูแลด้วย ลักษณะสําคัญๆ คือ
1.ให้บริการสุขภาพแก่พลเมืองทุกคนในราคาและมาตรฐานเดียวกัน
2.ครอบคลุมเรื่องที่พลเมือง น่าจะต้องการบริการบริการสุขภาพทุกอย่างหมด รวมเรื่องสายตาและทําฟันด้วย
3.ทุกคนจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้กับบริษัทประกันเอกชนที่ตนเลือกเอง (โดยแต่ละบริษัทไม่มีสิทธิเลือกลูกค้า)
4.โรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ โดยประชาชนผู้เอาประกันมีเสรีภาพในการเลือกโรงพยาบาล
5.รัฐบาลยื่นมือเข้าไปช่วยคนที่จนมากเกินกว่าจะจ่ายเบี้ยประกันได้
ในทั้งสามประเทศนี้ รัฐบาลมองเห็นข้อเสียของระบบเสรีในด้านการให้การรักษาพยาบาลเพราะจเกิดปัญหา การขาดความเท่าเทียมกันของการเข้าถึงบริการสุขภาพ รัฐบาลจึงรับหน้าที่เข้ามาเป็นคนกลางเจรจาต่อรองซื้อบริการจากผู้ให้บริการ (แพทย์และโรงพยาบาลเอกขน) ให้กับพลเมืองทุกคน เมื่อตกลงกําหนดค่าบริการไว้แค่ไหน สถานบริการทุกแห่งก็คิดได้แค่นั้น ค่ายาก็มีการเจรจาเช่นเดียวกัน
การเจรจาเป็นการเจรจาระหว่างผู้มีอํานาจต่อรองอยู่มือด้วยกันทั้งคู่ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล (ซึ่งเจรจาแทนประชาชนผู้ซื้อยา) กับบริษัทผลิตยา (ซึ่งล้วนเป็นยักษ์ใหญ่ทํากิจการข้ามชาติ)
ในสามประเทศนี้ อาจมีส่วนปลีกย่อยที่แตกต่างกัน เช่น ญี่ปุ่นให้การบริการฟรีทั้งหมด เยอรมนีให้ผู้ป่วยร่วมจ่ายค่าบริการด้วยบางส่วนเป็นต้น
ผู้จัดทํารายการนี้ซึ่งเป็นคนอเมริกันสัมภาษณ์ประชาชนในประเทศอื่นๆ ที่กล่าวมานี้ทั้งหมดว่า เคยมีคนล้มละลายเพราะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลบ้างไหม ผู้ถูกสัมภาษณ์ทําหน้าประหลาดใจสุดๆ ทํานองว่า “อย่างนั้นมีอยู่ในโลกนี้ด้วยหรือ”แต่ถ้าถามโรงพยาบาลในประเทศเหล่านี้ว่าอยู่ได้ไหม ในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น โรงพยาบาลขาดทุน และในอังกฤษ โรงพยาบาลของรัฐเองก็มีบางแห่งที่ปิดลง ซึ่งก็ต้องมีการคิดใหม่ในไม่ช้า เพราะว่าในระบบที่จะเดินไปได้อย่างยั่งยืน ทุกคนต้องอยู่ได้ นั่นก็คือ
ไม่มีแพทย์และผู้ประกอบการโรงพยาบาลที่มั่งคั่งร่ำรวยบนการรักษาพยาบาลผู้ ป่วย แต่ก็ไม่ได้มีการเรียกร้องให้แพทย์เสียสละอยู่ฝ่ายเดียว หรือให้โรงพยาบาลต้องขาดทุน ผู้ประกอบการต้องอยู่ได้อย่างยั่งยืน แม้ไม่ได้กําไรสูงสุด และแพทย์มีเงินเดือนที่อยู่ได้อย่างสมกับวิชาชีพที่่ต้องใช้เวลาฝึกปรือ อย่างยาวนานและต้องรับผิดชอบชีวิตผู้อื่น
ไม่มีคนไข้ที่หมดตัวเพราะเรื่องสุขภาพ แต่ก็ไม่มีคนไข้ที่ไปหาหมอหรือใช้ยาอย่างฟุ่มเฟือย
รัฐบาลไม่ถังแตกจากการพยายามให้ีการดูแลสุขภาพให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันบนพื้นฐานที่ว่า “ทุกคนต้องอยู่ได้” ในปี 2538 ไต้หวันได้สร้างระบบประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง หลังจากที่ไปศึกษาดูข้อดี ข้อเสียของระบบประกันนสุขภาพอื่นๆ ที่มีอยู่ในโลกมาแล้ว เป็นระบบที่น่าสนใจดูในรายละเอียด และเปรียบเทียบกันกับระบบประกันสุขภาพของไทยเราเอง






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow