INSURANCETHAI.NET
Sat 23/11/2024 15:10:57
Home » อัพเดทประกันภัย » จอดรถในที่ห้ามจอด ถูกชนท้ายเสียหาย ประกันต้องรับผิดหรือไม่?\"you

จอดรถในที่ห้ามจอด ถูกชนท้ายเสียหาย ประกันต้องรับผิดหรือไม่?

2017/06/18 3278👁️‍🗨️

จอดรถในที่ห้ามจอด ถูกชนท้ายเสียหาย ประกันจ่ายไหม?
จอดรถขวางทางจราจร ถูกรถชนท้ายเสียหาย มีประกันภัยประเภทหนึ่ง (ประกันชั้น1)
ถ้ารถเราเป็นคคันที่ถูกชน บริษัทประกันจะจ่ายค่าซ่อมให้เรา ซึ่งโดยปกติจะไปไล่เบี้ยกับคันที่ชน แต่กรณีนี้คันที่จอดนั้นผิดกฏหมายจึงไม่สามารถไปไล่เบี้ยเอากับคันที่ชนได้ (แต่ไม่สามารถเรียกร้องให้อีกฝ่ายรับผิดได้ แม้จะถูกชนท้าย เพราะไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง)

คันที่ชนผิด ที่ไปชน คันที่จอด แม้คันถูกชนจะจอดผิดกฏจราจร คันถูกชนผิดกฏจราจรต้องเสียค่าปรับ อันที่จริงถ้าสู้คดีกัน ผลออกมาอาจจะเป็นประมาทร่วมได้ จ่ายคนละครึ่ง เพราะต้องสู้กันด้วยข้อเท็จจริงอื่นๆ เช่น ถ้าเป็นกลางคืนและไม่มีไฟส่องสว่าง รถไปจอดในที่คับขัน ที่ทางโค้งมาก มองไม่เห็นแม้อยู่ระยะใกล้ ไม่มีไฟส่องสว่าง ทำให้ยากที่จะสังเกตหรือหลบเลี่ยงได้ รถที่จอดขวางผิด

จะเปิดไฟฉุกเฉินก็ต้องดูด้วยว่าไฟส่องสว่างพอเห็นจากระยะไกลได้ไหมด้วย พวกรถบรรทุกเสีย เขาเลยต้องทำสัญลักษณ์ล่วงหน้าหรือก่อไฟให้เห็นแต่ไกล

อย่างไรก็ตาม ทีคำพิพากษามาให้อ่านกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2541

ผู้ขับรถยนต์ ที่โจทก์รับประกันภัยไว้จอดรถยนต์ในที่เกิดเหตุให้ท้ายรถยนต์ อยู่ในช่องเดินรถ และตามสภาพของที่เกิดเหตุ สามารถจอดรถยนต์มิให้ขวางทางจราจรเช่นนั้นได้ ซึ่งถือได้ว่าจอดรถยนต์กีดขวางการจราจรนับว่า มีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยผู้ทำละเมิด การที่โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่เป็นบุคคลภายนอกให้รับผิดโดยอาศัยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวผู้รับประกันภัยจะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่ความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอก แสดงว่าบุคคลภายนอกจะต้องมีความรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดวินาศภัยนั้นเมื่อวินาศภัยที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะความผิดของจำเลยและ โจทก์ที่ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน กรณีนี้จึงไม่มีความรับผิดของจำเลยที่ศาลจะกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้เช่นนี้จำเลยจึงหาได้มีความรับผิดในวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่โจทย์ ไม่และผู้เอาประกันภัยและนายจ้างของโจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดด้วยเช่นกัน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย

เพิ่มเติม
ทางอาญา ตาม พรบ.จราจรทางบกห้ามจอดรถตรงทางโค้ง ซึ่งผิดกฏจราจร
ความเสียหายที่เกิดในทางแพ่ง รถจอดตรงโค้งผิด เพราะประมาทจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้คนชน
ซึ่งคนชนจะถือว่าประมาทด้วยหรือไม่ ต้องถือตามวิญญูชนทั่วไปว่า กรณีดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นคนทั่วไปจะขับไปชนไหม
ถ้าคนทั่วไปก็ชน ก็ถือว่าคนชนไม่ได้ประมาท ไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้าคนทั่วไปนั้นไม่ชน ต้องถือว่าคนชนประมาทร่วมด้วย
ซึ่งจะเป็นการประมาทฝ่ายเดียว หรือ ประมาทร่วม ศาลตัดสิน (ถ้าถึงขั้นฟ้องร้องเป็นคดีความ)
ความรับผิดในค่าเสียหาย ถือเป็นคดีทางแพ่ง กรณีที่ผู้เสียหายมีส่วนในการก่อให้เกิดภัยร่วมอยู่ด้วย

ศาลจะเป็นผู้กำหนดให้ ว่าต่างฝ่ายต่างจ่ายเท่าใด โดยอาศัยพฤติการณ์ ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร โดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. 223 และ 442





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ

no related articles to display.




up arrow