ซื้อประกันภัย กับตัวแทน (Agent) นายหน้า (Broker (โบรกเกอร์)) ต้องดูอะไร
การติดต่อ
ช่องทางการติดต่อต่างๆ
– โทรศัพท์
– เว็บไซต์
– เฟสบุ๊คเพจ (มีแอดมิน ดูแล)
– เฟสบุ๊คเพจเปิด ระบบ inbox (ส่งข้อความส่วนตัวได้ มีคนตอบ ไม่ใช่หุ่นยนต์)
– อีเมล (มีการตอบเมล)
– twitter
– contact form (มีการตอบกลับ)
ฯลฯ
แล้วให้ตรวจสอบว่าติดต่อได้หรือไม่
บางกรณีระเบียบวิธีในการติดต่อจะมีแจ้งเอาไว้ เราต้องอ่านและทำตามระบบ ไม่ใช่ติดต่อไปมั่วๆ เช่น บางช่องทางอาจใช้สำหรับการซื้อประกัน บางช่องทางเอาไว้สำหรับบริการ ตัวแทน/นายหน้า มืออาชีพจะมีการทำงาน บริหารจัดการที่เป็นระบบระเบียบเพื่อประสิทธิผลของธุรกิจ
ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์
– เว็บไซต์ยิ่งสร้างมานานยิ่งดี ดูได้จาก https://who.is ถ้าเพิ่งสร้างขึ้นมาไม่นานเช่น 1 ปี อย่างนี้คือ เปิดใหม่ ให้ตรวจสอบละเอียดขึ้น
– รูปแบบเว็บไซต์สวยงาม แสดงว่าลงทุน ทำจริง
– มีการอัพเดทเนื้อหาต่อเนื่อง ไม่ใช่สร้างเว็บแล้วทิ้งไว้ไม่ อัพเดท ข้อมูลล้าสมัย เว็บร้าง เว็บช้า มีไวรัส มีป๊อปอัพขึ้นเยอะแยะเต็มไปหมด
– มีจำนวนหน้าเว็บไซต์จำนวนมากเช่น 50 หน้าขึ้นไป โดยให้พิมพ์จาก url ของ Browser โดยใช้คำสั่ง เช่น ต้องการดูจำนวนหน้าเว็บของเว็บไซต์ insurancethai.net ให้พิมพ์ site:https://insurancethai.net จะพบจำนวนหน้าเว็บที่ค้นหาทั้งหมด
เรื่องสถานที่ตั้งนั้น ค่อนข้างตรวจสอบยาก เพราะ หากจะตั้งขึ้นมาเพื่อหลอกลวงก็ย่อมทำได้ไม่ยาก หรือ คุณอาจจะต้องเดินทางไปดูด้วยตัวเอง!?
ปัจจุบัน ตัวแทน/นายหน้า (โบรกเกอร์) ไม่มีความจำเป็นใดที่ต้องมีสำนักงานเป็นตัวตึก เหมือนสมัยก่อน ยกเว้นบริษัทที่มีจำนวนคนมาก ก็ย่อมเปิดบริษัทสร้างตึกเช่าตึกเพื่อใช้งาน ถ้ามีสถานที่ตั้ง ก็สามารถตรวจสอบความถูกต้องของ การจดทะเบียนบริษัทได้
และ ก็สามารถตรวจสอบลงไปถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัท ต้องระบุว่า ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัยด้วย
ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นล่าสุด บริษัทที่ถูกดำเนินคดีเป็นบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและมีที่ตั้งชัดเจน แต่ในหนังสือบริคณห์สนธิไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ว่า ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย
อื่นๆ
ข้อต่อไปนี้ เป็นคุณสมบัติพื้นฐาน มักไม่ได้สร้างปัญหามากนัก ให้เรามุ่งให้ความสนใจไปที่สองข้อด้านบนแทน
– มีบัตรตัวแทน/นายหน้า
ตามกฎหมายแล้วบังคับให้ ตัวแทน / นายหน้า ต้องแสดงบัตรประจำตัว คือ ใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย หรือแม้แต่ขายประกันผ่านทางโทรศัพท์จำต้องบอกหมายเลขใบอนุญาตก่อนเสมอ เพื่อให้เราสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าถูกต้องหรือไม่
โดยตรวจสอบได้ที่หน่วยงานกลางที่คอยดูแลธุรกิจประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โทร. 1186 หรือ www.oic.or.th
https://www1.oic.or.th/th/e-services/search.php
https://eservice.oic.or.th/eservice/Search/Broker/PersonAllow.aspx
และ ควรตรวจสอบบริษัท ประกันภัยที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นบริษัทที่รับประกันภัยด้วย
– ตัวแทนต้องมีสังกัด นายหน้าต้องมีใบแต่งตั้ง
ตัวแทนจะมีสังกัดบริษัทประกันว่าขายของบริษัทไหน ซึ่งมักจะเป็นบริษัทเดียว แต่นายหน้าจะไม่มีสังกัดเพราะขายได้หลายบริษัทจึงใช้ใบแต่งตั้งแทน
ตรวจสอบกับบริษัทประกันภัยนั้นๆ โดยตรง ว่าตัวแทนหรือ นายหน้านั้นๆ เป็นคู่สัญญากับบริษัทประกันภัยหรือไม่ เพราะการตรวจสอบเฉพาะใบแต่งตั้งที่ ตัวแทน/นายหน้า อาจจะไม่เพียงพอ เพราะอาจถูกปลอมแปลงหรือเป็นใบแต่งตั้งเดิมที่หมดอายุหรือถูกเพิกถอนไปแล้ว แม้แต่ใบเสร็จรับเงินก็ปลอมแปลงกันได้เช่นกัน โทรไปที่บริษัทประกันภัยเลย
– ต้องได้เลขรับแจ้งอุบัติเหตุ หรือ เลขรับแจ้ง
การรับประกันภัยรถยนต์
> ลูกค้าต้องการซื้อประกัน
> ตัวแทน/นายหน้า ส่งใบคำขอเอาประกันภัย
> บริษัทประกันภัย ถ้าไม่มี อะไรผิดพลาด ทักท้วง
> ออกหมายเลขรับแจ้งอุบัติเหตุให้ลูกค้า (เลขรับแจ้ง)
> ลูกค้าได้รับความคุ้มครองทันที (แม้ยังไม่ได้รับเอกสารกรมธรรม์ประกันภัย)
ดังนั้น เมื่อรับหมายเลขแจ้งอุบัติเหตุจากบริษัทโบรกเกอร์มาแล้ว ก็ควรตรวจสอบย้อนกลับเพื่อยืนยันหมายเลขดังกล่าวว่าถูกต้องหรือไม่
ขณะที่กรมธรรม์ยังไม่ออก และคุณไม่ได้รับเลขรับแจ้ง หากคุณโทรไปบริษัทประกัน จะไม่พบข้อมูลการทำประกันของคุณครั้งล่าสุดนี้ ต้องอ้างอิงโดยเลขรับแจ้ง หรือ หนังสือคุ้มครองชั่วคราว
– มีใบรับมอบอำนาจ ทำให้รับเบี้ยประกันภัยได้ หากมีปัญหา บริษัทประกันจะรับผิดชอบเบี้ยนี้
กฎหมายระบุไว้ว่า ให้ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจ จากบริษัทประกันภัยทุกครั้ง ที่มีการรับเบี้ย
แล้วคุณจะไม่มีทางจะถูกพวกตัวแทน/นายหน้าหรือโบรกเกอร์เถื่อน หลอกได้เลยจ่ายเงินแล้วก็ต้องได้รับสินค้า ถึงเวลาเกิดเหตุแล้วต้องได้เคลม และ ให้ตั้งข้อสังเกตุไว้ว่า เบี้ยประกันถูกเกินจริง ย่อมมีความเสี่ยง อย่างน้อยก็เรื่องการบริการ (ลดคอมฯให้เยอะๆ คุณคิดว่าเขาดูแลคุณให้ดีได้ไหม? )