อันดับประกันภัย ทั่วโลก ปี 2555
นายโจนาธาน แทง นักวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ บริษัท สวิส รี ยักษ์ประกันต่อโลก เปิดเผยว่า
ในปี 2555 ตลาดประกันภัยทั่วโลกมีเบี้ยประกันราว 4.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 138 ล้าน ล้านบาท แบ่งเป็น..
1. ประกันชีวิต 56%
2. ประกันวินาศภัย 35% (เบี้ยรวม 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ)
2.1 ประกันรถยนต์ 39%
2.2 ประกันทรัพย์สิน 23%
2.3 ประกันความรับผิดบุคคลที่ 3 สัดส่วน 10%
2.4 ประกันอื่นๆ อาทิ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (ประกันพีเอ)
3. ประกันสุขภาพ 9%
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดประกัน ภัยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก
อันดับ 2 ญี่ปุ่น
อันดับ 3 อังกฤษ
อันดับ 4 จีน
ไทยอยู่อันดับ 31 ด้วยเบี้ยรวม 18,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 561,000 ล้านบาท
ประเทศที่ซื้อประกันคิดเป็นเบี้ยต่อหัวประชากรสูงสุด คือ สวิตเซอร์แลนด์ ด้วยเบี้ยต่อหัว 7,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 225,000 บาท ภูมิภาคเอเชีย มีญี่ปุ่นติดอันดับ 4 ด้วยเบี้ยต่อหัว 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 150,000 บาท
ไทยอยู่อันดับ 53 เบี้ยต่อหัว 266 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7,980 บาท
โครงสร้างตลาดประกันภัย ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยจะเทน้ำหนักมาที่ภูมิภาคเอเชียมาก
คาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า หรือในปี 2566
– สัดส่วนเบี้ยประกันชีวิตตลาดเกิดใหม่ใน เอเชียไม่รวมจีนจะเพิ่มจาก 4% ของตลาดโลกในปีที่ผ่านมาเป็น 6% ส่วนจีนจะเพิ่มจาก 5% เป็น 13%
– สัดส่วนเบี้ยประกันวินาศภัยตลาดเกิดใหม่ไม่รวมจีนจะเพิ่มจาก 3% ในปีที่ผ่านมา เป็น 4% ส่วนจีนจะเพิ่มจาก 5% เป็น 13%
“โครงสร้างตลาดเปลี่ยนเนื่องจากเศรษฐกิจในเอเชียเติบโตมาก ทำให้ความต้องการทำประกันภัยมีมากขึ้น ขณะที่คนชั้นกลางในเอเชียเพิ่มขึ้นมาก ทำให้การซื้อประกันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เรื่องของสังคมผู้สูงอายุก็เป็นประเด็นหนึ่งในอนาคต โดยในปี 2573 คนอายุมากกว่า 65 ปีของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ของประชากรไทยทั้งประเทศ และจะเพิ่มเป็น 360% ในปี 2593 สะท้อนการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้เบี้ยประกันจากกลุ่มผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกัน ทุกประเทศ”
นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วที่ยังไม่ฟื้นตัว รวม ไปถึงอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะยุโรป อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ขณะนี้ดอกเบี้ยต่ำมากจนเกือบเป็นศูนย์ ผลตอบแทนดอกเบี้ยไม่ค่อยดี ภาวะเช่นนี้เป็นอีกปัจจัยที่เสริมให้มีโอกาสเกิดการย้าย เงินทุนเข้าสู่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเกิดใหม่ในเอเชียในอนาคตเช่นกัน
ส่วนภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2513-2553 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจประกันภัยมาก เนื่องจากเกิดความสูญเสียจากภัยพิบัติเยอะ ซึ่งนับจากปี 2533 ความรุนแรงของภัยพิบัติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องจ่ายสินไหมทดแทนจากการรับประกันภัยพิบัติเยอะขึ้น