คำนวณ IRR เพื่อเปรียบเทียบผลตอบเเทน จากการซื้อแผนประกันชีวิต
แผนประกันที่มีค่า IRR มาก หมายถึง ให้ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมาก
IRR เป็นค่าที่คำนวณ เพื่อเปรียบเทียบ โครงการ หรือ ประเมินโครงการที่จะลงทุน หรือ เพื่อการตัดสินใจลงทุน
โดยอัตราผลตอบแทนจากโครงการ (IRR= Internal Rate of Return) เป็นการหาอัตราส่วนลด ที่ทำให้กระแสเงินสดสุทธิในอนาคต คิดมูลค่าปัจจุบันแล้ว มีค่าเท่ากับเงินลงทุนในครั้งแรกพอดี
IRR คือ อัตราส่วนลดที่ทำให้NPV ของโครงการมีค่า = 0
IRR คือ อัตราส่วนลดที่ ให้ PV รับ = PV จ่าย
โดยพิจารณาลงทุนในโครงการที่มีอัตราผลตอบแทนจากโครงการ IRR มากกว่า ต้นทุนของเงินทุน(WACC)
เกณฑ์ในการตัดสินใจ ตามวิธี IRR
1. IRR ของโครงการ คือ อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนั้น
2. โครงการที่ให้IRR = ต้นทุนของเงินทุนโครงการนั้นให้อัตราผลตอบแทน เท่ากับ ต้นทุนของเงินทุนด้วย
3. โครงการที่ให้IRR > ต้นทุนของเงินทุน (เลือกลงทุน เพราะมีกำไร)โครงการนั้นให้อัตราผลตอบแทน มากกว่า ต้นทุนของเงินทุนด้วย
4. โครงการที่ให้IRR < ต้นทุนของเงินทุน (ปฏิเสธการลงทุน เพราะขาดทุน)โครงการนั้นให้อัตราผลตอบแทน น้อยกว่า ต้นทุนของเงินทุนด้วย โครงการที่ทดแทนกันได้
จะเลือกโครงการที่ให้IRR สูงกว่า ต้นทุนของเงินทุน (WACCโครงการที่เป็นอิสระต่อกัน(เงินทุนไม่จำกัด)
จะเลือกโครงการที่ให้IRR ที่สูง
IRR เป็นตัวย่อของ Internal Rate of Return =ผลตอบแทนที่ได้รับ
มีปัจจัยในการคำนวณ
1.กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ
2.กระแสเงินสดรับสุทธิ รายปี ตลอดอายุโครงการ
3.ระยะเวลาของโครงการ
การลงทุนในแต่ละโครงการจริงๆ จะใช้ NPV มากกว่า IRR เพราะว่าในบางโครงการอาจจะมีค่า IRR ได้ 2 ค่าซึ่งถ้าเราใช้ IRR ในการพิจารณาเลือกโครงการลงทุนอาจผิดพลาดได้
IRR คือ ผลตอบแทน (%) ที่จะได้รับจากโครงการใดๆ หรือ ก็คือ หากนำเงินไปลงทุนที่โครงการใดๆจะได้ผลตอบแทนกี่ % นั่นเอง โครงการที่น่าลงทุนต้องมี NPV เป็นบวก และ IRR ต้องมากกว่าผลตอบแทนขั้นต่ำที่เราหวังไว้ เช่น ถ้าต้องการกำไรจากการลงทุนปีละ 5% แต่ คำนวณแล้วได้ irr 2% อย่างนี้ก็ไม่น่าสนใจแล้ว ปัจจุบัน ประกันชีวิตมี IRR มากสุดประมาณ 2% กว่า (2019)
การคำนวณหาค่า IRR คือ การหาค่า discount rate ที่ทำให้ NPV มีค่าเท่ากับศูนย์
ถ้าค่า IRR มากกว่า หรือ เท่ากับ ค่าของทุน discount rate (i) ที่ผู้ลงทุนเลือกใช้เป็นจุดตัดสินใจ ก็ถือได้ว่า โครงการน่าลงทุน
โดยทั่วไป ทั้งวิธีในการประเมินโครงการจากค่า IRR และ NPV จะให้ผล การตัดสินใจรับโครงการ หรือปฏิเสธโครงการ เป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่ในบางกรณี ที่ใช้ข้อสมมติ เช่น การนำเงินที่ได้ในแต่ละปี ไปลงทุนใหม่(reinvestment) หรือการใช้ วิธีหักค่าเสื่อมราคา แบบ Double-declining Balance Method แทนแบบ Straight Line Method ก็อาจ ทำให้คำตอบ ที่ได้จากทั้ง 2 วิธีขัดแย้งกันได้ ดังนั้น การพิจารณาประเมินโครงการลงทุนจากทั้ง 2 วิธีจึงต้องคำนึงถึง ข้อสมมติ ที่ใช้ในการคำนวณ ด้วยเช่นกัน
คำนวณ IRR และ MIRR
เว็บไซต์ที่อาจใช้สำหรับทดสอบคำนวณได้ง่ายๆ (ยังไม่ได้ทดสอบ)
http://www.allaboutfin.com/saving-insurance.html
https://www.itax.in.th/market/
IRR จะคำนวณด้านเงินลงทุนเท่านั้น ดังนั้นทุนประกันชีวิตจะไม่ถูกนำเข้าไปคำนวณ และประโยชน์ที่แท้จริงของประกันชีวิตคือ ความคุ้มครอง สำหรับ การป้องกัน หรือ จำกัดความเสี่ยง หากต้องการลงทุนด้านการเงิน อาจมีเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมกว่า