INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 16:04:18
Home » Uncategorized » Keyman insurance คุ้มค่าในการทำไหม?\"you

Keyman insurance คุ้มค่าในการทำไหม?

2021/03/02 3482👁️‍🗨️

หากตัวแทนประกันชีวิตเสนอให้ทำประกัน Keyman เพื่อประโยชน์ในการบริหารภาษี ต่อ เจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจ หรือผู้บริหารนิติบุคคล อย่างใน ระดับ SMEs

สิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาว่าซื้อดีหรือไม่ ให้เทียบกับการซื้อประกันชีวิตสามัญหรือบุคคลว่า แบบไหนคุ้มค่ากว่า ซึ่งได้ข้อสรุปว่า อัตราภาษีของบุคคลธรรมดาต้องไม่ถึง 20% หากถึง 20% หรือเกินจากนี้ก็ไม่คุ้มค่าที่จะทำ

ประกัน Keyman คือ การทำประกันชีวิตให้กับบุคคลสำคัญของบริษัท โดยบุคคลสำคัญเป็นผู้เอาประกัน และบริษัทเป็นผู้ชำระค่าเบี้ยประกัน บุคคลที่บริษัททำประกัน Keyman ให้ ต้องอยู่ในตำแหน่งงานที่มีความสำคัญกับบริษัท เช่น กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง โดยทำประกันชีวิตได้ทุกรูปแบบ คือ แบบชั่วระยะเวลา แบบตลอดชีพ แบบสะสมทรัพย์ และแบบบำนาญ

ประโยชน์ทางภาษีของประกัน Keyman

  1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนบุคคลสำคัญทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบสวัสดิการพนักงานของบริษัท สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายภาษีที่ว่าสวัสดิการพนักงานจะเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ก็ต่อเมื่อ
    เป็นสวัสดิการที่ให้แก่พนักงานทุกคนในระดับเดียวกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
    มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนในระเบียบของกิจการ
  2. เบี้ยประกันชีวิตที่บุคคลสำคัญเป็นผู้เอาประกันสามารถนำมาเพื่อใช้สิทธิในการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ ตามมาตรา 48(1), 47(1)(ง), และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
  3. ผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์
    กรณีบริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ ผลประโยชน์ที่บริษัทได้รับตามกรมธรรม์ ต้องบันทึกบัญชีเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีกำไรสุทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
    กรณีบุคคลสำคัญเป็นผู้รับประโยชน์ ผลประโยชน์ที่บุคคลสำคัญได้รับตามกรมธรรม์เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (13) แห่งประมวลรัษฎากร
  4. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนพนักงาน และผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากบริษัท เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ใดๆ ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ทำให้แม้ประกัน Keyman จะมีประโยชน์ในการเป็นค่าใช้จ่ายของนิติบุคคล แต่กลับทำให้พนักงานมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น

การบริหารภาษีด้วยประกัน Keyman โดยเฉพาะกรณีบุคคลสำคัญ คือ เจ้าของนิติบุคคล เงินของนิติบุคคลหรือเงินของตนเองจึงเป็นเงินก้อนเดียวกันเพียงแต่อยู่คนละบัญชี ดังนั้นการตัดสินใจทำประกัน Keyman หรือไม่ ต้องพิจารณาความคุ้มค่าระหว่างภาษีที่นิติบุคคลประหยัดได้ กับภาษีที่บุคคลสำคัญต้องเสียเพิ่ม ถ้าภาษีที่บุคคลธรรมดาต้องเสียเพิ่มสูงกว่าภาษีที่นิติบุคคลประหยัดได้ ก็ไม่คุ้มค่าที่จะทำ

การพิจารณาจุดคุ้มค่า

ถ้าทำประกัน Keyman

หากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดที่บุคคลสำคัญต้องจ่ายเท่ากับหรือมากกว่า 20% ก็ไม่ควรทำประกัน Keyman เพราะจะไม่ได้รับประโยชน์ด้านภาษีเลย แถมอาจทำให้เสียภาษีเพิ่ม

หากพิจารณาการบริหารภาษีนิติบุคคลด้วยการสร้างค่าใช้จ่ายสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การจ่ายโบนัสให้บุคคลสำคัญ ซึ่งไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องให้ทุกคน ไม่มีภาระผูกพันต้องให้ทุกปี ดูแล้วน่าสนใจกว่าเมื่อเทียบกับการทำประกัน Keyman ซึ่งยุ่งยาก มีรายละเอียดและเงื่อนไขในการทำมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้องทำประกันให้บุคคลสำคัญทุกคนเท่าเทียมกันแล้ว ยังต้องระบุในระเบียบของกิจการ และยังเป็นการสร้างภาระในระยะยาวให้กับนิติบุคคลอีกด้วย หากต่อมานิติบุคคลมีรายได้ลดลง/ขาดทุน ก็ยังคงต้องจ่ายเบี้ยประกัน Keyman ต่อไปโดยไม่ได้ประโยชน์ด้านภาษีเลย

ก่อนหน้านี้ ประกัน keyman มีประโยชน์ด้านภาษี แต่ปัจจุบันกฏหมายด้านภาษีมีการปรับเปลี่ยน ทั้งบุคคลและนิติบุคคล ซึ่งสรุปได้ว่า หากบุคคลมีฐานภาษี >=20% ก็ไม่คุ้มค่าจะทำ keyman insurance

งบการเงินบริษัทไม่ได้ทำ keymanบริษัททำ keyman
รายได้รวม10,000,00010,000,000
รายจ่ายรวม8,000,0008,000,000
เบี้ย keyman01,000,000
กำไรก่อนหักภาษี2,000,0001,000,000
ภาษีนิติบุคคล 20%400,000200,000
ประหยัดภาษีได้0200,000

(จ่ายเบี้ย 1,000,000 ประโยชน์ด้านประกันที่ได้คือ ความคุ้มครอง และ เงินสะสมหากเป็นแบบสะสมทรัพย์ บางบริษัทอาจไม่มีแบบประกัน keyman โดยเฉพาะ แต่ที่จะได้เป็นเงินมาแน่ๆ คือ ส่วนลดที่ประหยัดได้ 200,000 แต่ต้องแน่ใจว่า เงินจำนวน 1,000,000 บาทนี้ที่ถือเป็นรายได้ของ ผู้บริหาร จะต้องไม่ทำให้จ่ายภาษีเพิ่มเกินกว่า 200,000 ซึ่งต้องดูฐานภาษีของ ผู้บริหาร ว่าปัจจุบันจ่ายอยู่เรทเท่าไรนั่นเอง )

แต่ .. เบี้ยประกันที่จ่ายให้กับผู้บริหาร ถือเป็นรายได้บุคคลด้วย ดังนั้น จึงต้องดูว่า แต่ละบุคคลมีฐานภาษีเท่าไร

ถ้าผู้บริหารสองคนมี รายได้ปีละ 1,000,000 เสียภาษี 20% 1,000,001 ขึ้นไปเสียภาษี 25% ดังนั้น ถ้าผู้บริหารมีสองคน ที่นิติบุคคลจ่ายให้ แต่ละคนจะมีรายได้ รวม 1,500,000 จะต้องเสียภาษีเพิ่ม คนละ 500,000*25% = 125,000 บาท สองคนจะต้องเสียภาษี รวม 250,000 ซึ่งเกินกว่า ที่นิติบุคคล ประหยัดได้ (200,000) เป็นจำนวนถึง -50,000 จึงไม่คุ้มค่าที่จะทำ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow