INSURANCETHAI.NET
Thu 21/11/2024 20:09:04
Home » อัพเดทประกันภัย » ประกันภัยภัยต้องรู้ 10 เรื่อง\"you

ประกันภัยภัยต้องรู้ 10 เรื่อง

2015/02/04 1275👁️‍🗨️

1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จะมีผลทันทีที่ผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันภัยให้ กับบริษัท (รวมไปถึงนายหน้าผู้เอาประกันด้วย) ดังนั้นแม้การซื้อผ่านนายหน้าถ้ามีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้องก็จะปฏิเสธความ รับผิดชอบมิได้

2. ในกรณีที่รถคุณเสียหายอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถซ่อมกลับคืนได้ บริษัทต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย

3. ค่า Excess หรือค่าใช้จ่ายส่วนแรก ในกรณีไม่มีคู่กรณีจ่าย 1,000 บาท แต่ถ้าคนอื่นขับไปทำให้เกิดความเสียหาย ต้องจ่าย 6,000 บาท (กรณีระบุผู้ขับขี่)

4. ค่าอะไหล่ที่เกิดจากการซ่อม ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเป็นเงินตามราคาประเมินเพื่อนำไปจัดหาเองได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไหล่แท้หรือไม่

5. หากภายในรถของคุณมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบก๊าซ NGV หรือ LPG เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพราะหากเกิดเหตุและรถคันเอาประกันเป็นฝ่ายผิด ความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันอาจไม่สมบูรณ์

6. หากคุณขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็น “ฝ่ายถูก” คุณควรตรวจสอบไปที่บริษัทประกันภัยว่าตามรายงานอุบัติเหตุนั้น รถของคุณเป็นฝ่ายถูกจริงเหรอ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์

7. การดูแลขนย้ายรถที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุเพื่อไปซ่อมที่อู่เป็นหน้าที่ ของบริษัท แม้ว่าจะต้องย้ายรถไปโรงพักหรือที่ใดก็ตามตั้งแต่หลังเกิดเหตุจนกระทั่งซ่อม เสร็จ บริษัทประกันภัยจะต้องรับภาระส่วนนี้ แต่ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าซ่อม

8. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน และคุณไม่แน่ใจว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด คุณไม่จำเป็นต้องเซ็นรับผิดในใบเครม เพราะไม่ใช่กติกาหรือข้อกฏหมายแต่เป็นหน้าที่ที่บริษัทซึ่งคุณทำประกันจะไป ทำการตกลง

9. อย่าคิดหนีในกรณีที่ขับรถชนคน ให้ช่วยเหลือคนเจ็บให้เต็มที่ และถ่ายรูปหลักฐานที่เกิดเหตุไว้ต่อสู้คดี เพราะศาลจะพิจารณาจากความมีน้ำใจที่คุณช่วยเหลือผู้อื่น บางทีโทษทางอาญาอาจเหลือแค่การรอลงอาญา และตกลงค่าเสียหายกันตามสมควรแต่ถ้าคุณหนีจะติดคุกทันที

10. ประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายในขณะที่รถของคุณถูกลากจูง หรือขับรถขณะที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150mg% หรือขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เว้นแต่ในกรณีที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ และความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในขณะที่คนระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow