INSURANCETHAI.NET
Tue 21/01/2025 11:00:29
Home » ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย » ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง – ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย\"you

ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง – ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย

2012/08/02 1837👁️‍🗨️

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง คือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหาย
ของสินค้าในระหว่างขนส่งจากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่ง ไม่ว่าโดยทางเรือ, เครื่องบิน, รถยนต์, รถไฟ หรือทางพัสดุภัณฑ์ไปรษณีย์ โดยทั่วไปเรียกโดยรวมว่าประกันภัยทางทะเลและขนส่ง หรือ “Marine Insurance” ความเสียหายดังกล่าวอาจมีสาเหตุมาจากภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งสินค้า เช่น อากาศแปรปรวน คลื่นลมแรง ทำให้เรือสินค้าจม ล่ม พลิกคว่ำ หรือแม้แต่การถูกจี้ปล้นฉกชิงสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทความคุ้มครอง

“ใคร” คือ ผู้เอาประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
ผู้ที่มีส่วนได้เสียสำหรับสินค้าที่ทำการขนส่ง คือ ผู้ขายสินค้า หรือ ผู้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
(Exporter) ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (Importer) ทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้า
สามารถเป็นผู้เอาประกันภัยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการซื้อขายสินค้าแต่ละเที่ยวที่ตกลงกันไว้

การประกันภัยทางทะเลและขนส่งและการค้าต่างประเทศสัมพันธ์กันอย่างไร
จะเห็นว่าได้ว่าการประกันภัยทางทะเลและขนส่งมีความสำคัญมากต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นที่
รับซื้อตั๋วเงิน เพราะเท่ากับเป็นหลักค้ำประกันเงินที่ได้สำรองออกไปก่อน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่กล่าวถึงข้างต้น จะส่งผ่านไปยังธนาคารตัวแทนปลายทาง เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อนำไปรับสินค้าจากบริษัทเรือ และในกรณีที่สินค้าได้รับความเสียหายจากการขนส่งก็สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ได้ ตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ได้ทำประกันภัยไว้ การซื้อความคุ้มครองสินค้าระหว่างขนส่ง จึงต้องกระทำโดยฝ่ายที่ต้องรับเสี่ยงต่อความเสียหายหรือสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นต่อสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการซื้อขายที่ตกลงกัน

ประโยชน์จากการทำประกันภัยการขนส่งทางทะเลภายในประเทศไทย

ในฐานะผู้ส่งออก (Exporter)

การเสนอขายสินค้าในราคา C.I.F. ท่านจะได้รับความคุ้มครองสินค้าตลอดตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางในต่างประเทศ และจะให้ความสะดวกแก่ผู้ซื้อ เพราะบริษัทประกันภัยในประเทศไทยที่ติดต่อทำประกันภัยอยู่เป็นประจำ จะมีความรู้ความเข้าใจวิธีการขนส่งและชนิดสินค้าที่ผลิตภายในประเทศเป็นอย่างดี และในระยะยาวหากพบว่าการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับเบี้ยประกันภัยที่เก็บไป บริษัทผู้รับประกันภัยก็จะลดอัตราเบี้ยประกันภัยได้ โดยเฉพาะผู้ส่งออกรายใหญ่ที่มีการส่งออกปีหนึ่งเป็นปริมาณมากจะมีเบี้ยประกันภัยจำนวนมากพอทำให้การกระจายการเสี่ยงภัยดีขึ้น โอกาสที่บริษัทที่ติดต่อเป็นประจำจะมีเบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นกำไรย่อมมีได้มากเป็นผลให้อัตราเบี้ยประกันภัยในระยะยาวจะลดต่ำลงได้ ซึ่งจะทำให้ราคาที่เสนอขายของผู้ส่งออกสินค้าต่ำกว่าของคู่แข่งได้ในที่สุด

ในฐานะผู้นำเข้า (Importer)

ประโยชน์ที่จะได้จากการทำประกันภัยในประเทศสามารถเลือกบริษัทประกันภัยที่ท่านให้ความเชื่อถือหรือรู้จักคุ้นเคยก่อให้เกิดความมั่นใจในการบริการ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ต่ำลง ส่วนใหญ่แล้วเราจะสามารถซื้อประกันภัยในประเทศไทยในอัตราเบี้ยประกันภัยที่ต่ำกว่าต่างประเทศในบางกรณีอาจพบว่า เงื่อนไขความคุ้มครองที่ผู้ขายในต่างประเทศเสนอมาไม่เพียงพอ ผู้เอาประกันภัยอาจขอซื้อประกันภัยในประเทศเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างกว่าในอัตราเบี้ยประกันภัยที่ต่ำกว่าหรือทัดเทียมกันได้ สามารถเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับสภาพสินค้า และความต้องการ ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อรับกรมธรรม์และค่าสินไหมทดแทน ช่วยตัดปัญหาเรื่องความล่าช้าในการจ่ายสินไหมให้ดำเนินกิจการได้อย่างมั่นคง ผู้เอาประกันภัยสามารถติดตามได้โดยตรงกับบริษัทประกันภัย โดยเฉพาะในการสั่งสินค้าเข้า เราสามารถตัดปัญหาเรื่องความล่าช้าในการจ่ายค่าสินไหมที่มักเกิดขึ้นในการเอาประกันภัยจากต่างประเทศ เนื่องจากต้องรอการอนุมัติจ่ายเงินจากผู้รับประกันภัยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลานานหลายเดือนทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องแบกภาระทุนรอนที่ได้ลงไป แต่เมื่อทำประกันภัยไว้ในประเทศ ปัญหาหาดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น ในด้านส่วนรวมแล้วถือว่าเป็นผู้ช่วยเหลือประเทศโดยทางอ้อมด้วย การช่วยลดเงินตรามิให้รั่วไหลไปต่างประเทศที่แฝงออกไปในรูปราคาสินค้า เป็นการช่วยลดดุลการค้าและดุลการชำระเงินของประเทศให้ดีขึ้นด้วย บริการสำรวจความเสียหายทั่วโลก กรณีเกิดความเสียหาย เมื่อสินค้าส่งไปต่างประเทศ เรามีบริการสำรวจภัยครอบคลุมในพื้นที่หรือเมืองสำคัญ ๆ ทั่วโลก Consignee สามารถแจ้งความเสียหายไปยังผู้สำรวจภัยที่ระบุในหน้าตารางกรมธรรม์ในแต่ละเที่ยวการขนส่งนั้น

หากขณะขอเอาประกันภัยไม่ทราบข้อมูลการขนส่ง

ในการทำประกันภัย หากมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น ไม่ทราบชื่อเรือ จำนวนสินค้าที่แน่นอน การออกกรมธรรม์ไม่สามารถกระทำได้ โดยเฉพาะในกรณีที่สั่งซื้อสินค้าแบบ F.O.B. หรือ C&F สินค้าอาจได้รับความเสียหายก่อนที่ผู้ซื้อจะได้รับเรื่องของลงเรือ (Shipping Advice) จึงเกิดความจำเป็นที่ผู้นำเข้าควรจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัยล่วงหน้าหรือโดยอัตโนมัติ ในทางปฏิบัติ การทำประกันภัยล่วงหน้า สามารถทำได้ 2 วิธี การใช้ Cover Note การใช้ Open Cover หรือ Open Policy

หนังสือคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note) เป็นเอกสารที่บริษัทประกันภัยออกให้ผู้เอาประกันภัยเพื่อเป็นหลักฐานรับรองว่าสินค้าดังรายละเอียดที่ระบุใน Cover Note จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขการประกันภัยและตามจำนวนเงินที่ได้นะบุใน Cover Note นั้น ตามปกติผู้เอาประกันภัยควรแจ้งให้บริษัทรับประกันภัยออก Cover Note ทันทีที่เปิด L/C หรือสั่งซื้อสินค้า และต่อมาเมื่อผู้เอาประกันภัยทราบจำนวนหีบห่อ ชื่อเรือ และวันที่สินค้าลงเรือจากผู้ขายแล้ว จึงแจ้งบริษัทรับประกันภัยออกกรมธรรม์ให้

กรมธรรม์เปิด (Open Policy) สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีความถี่ในการขนส่งสูง การแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อหนังสือคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note) ทุกครั้งที่ซื้อสินค้าย่อมเป็นการไม่สะดวก และบางครั้งอาจลืมทำประกันภัยก็ได้ เพื่อแก้ปัญหานี้บริษัทรับประกันภัยจะออกสัญญาประกันภัยที่เรียกว่าOpen Policy โดยสัญญาจะคุ้มครองท่านตลอดเวลา ทำให้ท่านสบายใจไม่ต้องกังวลว่าจะลืมแจ้งทำประกันภัย ความคุ้มครองมาตรฐานในการประกันภัยการขนส่งทางทะเล

ตารางเปรียบเทียบภัยที่ให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขความคุ้มครองมาตรฐาน Institute Cargo Clauses

Institute Cargo Clauses
(A)
(B)
(C)
1. อัคคีภัย หรือ การระเบิด
OK
OK
OK
2. เรือจม เกยตื้น เรือล่ม เรือชนกัน
OK
OK
OK
3. รถพลิกคว่ำ ชนกัน รถไฟตกราง
OK
OK
OK
4. การขนถ่ายสินค้า ณ ท่าหลบลี้ภัย
OK
OK
OK
5. การที่สินค้าถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนรวม (General Average)
OK
OK
OK
6. การโยนสินค้าลงทะเลในขณะที่เรือประสบภัย (Jettison)
OK
OK
OK
7. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาความเสียหาย
(Sue & Lobour Charges)
OK
OK
OK
8. แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า
OK
OK
9. สินค้าที่ถูกคลื่นซัดตกทะเล
OK
OK
10. สินค้าเสียหายอย่างสิ้นเชิงทั้งหีบห่อในขณะที่ขนขึ้นหรือขนลงเรือ
หรือระหว่างถ่ายลำสับเปลี่ยนเรือ
OK
OK
11. สินค้าเปียกเนื่องจากน้ำทะเลหรือน้ำในแม่น้ำเข้าสู่ระวางเรือหรือ
ตู้คอนเทนเนอร์ หรือน้ำในแม่น้ำท่าวเข้าสถานที่เก็บสินค้า
(ไม่รวมน้ำฝน)
OK
OK
12. เปียกน้ำฝน
OK
13. การกระทำด้วยความมุ้งร้ายของบุคคลอื่นๆ
OK
14. การปล้นโดยโจรสลัด
OK
15. การถูกลักขโมย
OK
16. อุบัติเหตุอื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายตามข้อ 1-15 เช่น แตก หัก ฉีก ขาด เปื้อน ภาชนะบุบสลายทำให้สินค้ารั่วไหลเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง
OK

OK หมายถึงคุ้มครอง

ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองตามเงื่อนไขความคุ้มครองมาตรฐาน Institute Cargo Clauses

Institute Cargo Clauses
(A)
(B)
(C)
1. การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย
OK
OK
OK
2. การรั่วไหล, การขาดหาย หรือการสึกหรอ/สึกกร่อนตามปกติ
OK
OK
OK
3. การบรรจุหีบห่อ หรือการจัดเตรียมที่ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม
OK
OK
OK
4. ข้อเสียหรือลักษณะตามธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัย
OK
OK
OK
5. การล่าช้า แม้ว่าการล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม
OK
OK
OK
6. การล้มละลายหรือการไม่สามารถใช้หนี้สินของเจ้าของเรือ ผู้เช่าเหมาเรือหรือผู้ดำเนินการเดินเรือ
OK
OK
OK
7. การใช้อาวุธสงครามที่อาศัยการแตกตัวหรือการหลอมตัวของปรมาณู หรือผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี
OK
OK
OK
8. ภัยสงคราม
OK
OK
OK
9. ภัยจลาจล การนัดหยุดงาน
OK
OK
OK
10.เรือหรือยานพาหนะ ไม่พร้อมที่จะใช้เดินทะเลหรือบรรทุกสินค้า
หรือไม่พร้อมสมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงพอ
OK
OK
OK
11.การทำความเสียหายหรือทำลายโดยเจตนาต่อวัตถุแห่งการ
ประกันภัยโดยการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคลอื่น
OK
OK

OK หมายถึงยกเว้น
*สำหรับภัยลงคราม (war) และภัยจากการจลาจลนัดหยุดงาน (strikes) ท่านสามารถซื้อความคุ้มครองพ่วงเข้าไปกับเงื่อนไขทั้ง 3 ได้ โดยการชำระเบี้ยเพิ่ม

นอกเหนือจากการประกันภัยทางทะเลและขนส่งข้างต้น บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยังมีบริการ :-

การประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ (Inland Transit)
กรณีที่ท่านส่งสินค้าจากคลังสินค้าท่านไปยังสถานที่อื่นภายในประเทศ กรณีที่ท่านส่งออกในราคา F.O.B. หรือ C&F โดยคุ้มครองสินค้าของท่านจากคลังสินค้าถึงท่าเรือ หรือ ท่าอากาศยาน

การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance)
เป็นการคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายของตัวเรือ รวมถึงเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรือ

ท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
“หน่วยงานธุรกิจขนส่ง”
บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถนนวิภาวดีรังสิต หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ : 0-2555-9100 โทรสาร : 0-2955-0153, 0-2955-0202





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow