ส่วนแบ่งตลาดบริษัทประกันภัย2563
อุตสาหกรรมประกันในไทย แบ่งออกเป็น 2 ตลาดหลัก
1.ประกันชีวิต (Life Insurance)คือ การประกันภัยที่คุ้มครอง ชีวิต ร่างกาย สุขภาพ ของผู้ทำประกัน เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ จะจ่ายเงินชดเชยเมื่อเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ จ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย จ่ายเงินคืนเมื่อถือกรมธรรม์ครบตามกำหนด
2.ประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) การประกันภัยที่รับความเสี่ยงภัยของทรัพย์สิน วัตถุ ชดใช้เงินตามสัญญา เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย(ประกันไฟ) ประกันการโจรกรรม ประกันอุทกภัย(น้ำท่วม)
ธุรกิจประกันมีมูลค่า 800,000 กว่าล้านบาท / ปี
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ปัจจุบัน (2563 /2020) มีบริษัทประกอบธุรกิจประกัน รวม 84 บริษัท ทั้งบริษัทสัญชาติไทย บริษัทต่างชาติ และบริษัทร่วมทุน แบ่งเป็นบริษัทประกันชีวิต 23 บริษัท
บริษัทประกันวินาศภัย 59 บริษัท
บริษัทรับประกันภัยต่อ 2 บริษัท
สถิติธุรกิจประกันภัย 2562
91,993,406 กรมธรรม์ เงินเอาประกันภัย 139,128,609 บาท แบ่งเป็น
1.ธุรกิจประกันชีวิต 26,571,888 กรมธรรม์ เงินเอาประกันภัย 19,730,633 บาท
2.ธุรกิจประกันวินาศภัย 65,421,518 กรมธรรม์ เงินเอาประกันภัย 119,397,976 บาท
เบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 854,536 ล้านบาท
72% เป็นเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงธุรกิจประกันชีวิตอยู่ที่ 610,474 ล้านบาท
28 % เป็นเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงธุรกิจประกันวินาศภัย 244,062 ล้านบาท
อันดับส่วนแบ่งตลาดของบริษัทประกันชีวิต
1 เอไอเอ ประเทศไทย marketshare 22.99% หรือเบี้ยประกันกว่า 132,455 ล้านบาท
เป็นบริษัทในเครือเอไอเอ บริษัทประกันใหญ่ระดับโลก สัญชาติจีน ดำเนินกิจการกว่า 100 ปี ดำเนินกิจการในไทยกว่า 82 ปี ตั้งแต่ 2481
2 บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) marketshare 14.53% เบี้ยประกัน 92,039 ล้านบาท
บริษัทประกันชีวิตแห่งแรกของคนไทย เริ่มกิจการปี 2485 และในปี 2513 เน้นการสื่อสารด้วยโฆษณาที่กินใจ ผู้นำผลิตภัณฑ์แบบประกัน ไม่เคลม มีคืน (หรือ thailife ไม่ใช่ insurancethai นะคะ)
3 บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) marketshare 13.90% เบี้ยประกัน 75,775 ล้านบาท
เริ่ม 2494 ให้ความสำคัญด้านการบริการลูกค้าและมีการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า เมืองไทย Smile club
4 บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) marketshare 9.64% เบี้ยประกันที่ 58,105 ล้านบาท
กรุงไทย-แอกซ่า เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารกรุงไทย และกลุ่มแอกซ่าจากประเทศฝรั่งเศส เริ่ม2540 เน้นให้บริการทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพ (คนละบริษัทกับ แอกซ่าประกันภัยนะคะ มีคนเข้าใจผิดเยอะมากๆ)
5 บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) [SCBLIFE] marketshare 7.79% หรือ 44,855 ล้านบาท
เริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2519 เดิมธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ปัจจุบันได้ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ให้กับ FWD Group Financial Service Pte. Ltd. หรือ กลุ่มเอฟดับบลิวดี ในเครือกลุ่มการลงทุน แปซิฟิค เซ็นจูรี่ กรุ๊ป จากฮ่องกง
6. ไม่แน่ใจอาจเป็น กรุงเทพประกันชีวิต
อันดับส่วนแบ่งตลาดประกันวินาศภัย เช่น ประกันรถยนต์
1 บริษัท วิริยะประกัยภัย จำกัด (มหาชน) เบี้ยประกันรวม 38,898 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 15.93%
ครองอันดับ 1 ในตลาดรวมมาต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ปี 2535
ครองอันดับ 1 ในตลาดรับประกันภัยรถยนต์มาตั้งแต่ปี 2530
เริ่ม 2490 อาเซียพาณิชยการ>อาเซียพาณิชย์การประกันภัย>วิริยะประกันภัย
มีบริบริษัทในเครือ เช่น เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร นิตยสารสารคดี
2 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ส่วนแบ่งตลาด 8.95% เบี้ยประกัน 21,846 ล้านบาท
เริ่ม 2494 และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน 2538
ผู้ถือหุ้นใหญ่ ปตท. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย
3 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ส่วนแบ่งตลาด 8.60% เบี้ยประกันภัย 21,009 ล้านบาท
เริ่ม 2490 ชื่อ “บริษัท เอเซียพาณิชย์ประกันสรรพภัย จำกัด ขยายกิจการต่างประเทศ ลาว เวียดนาม
4 บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ส่วนแบ่งตลาด 5.31% เบี้ยประกัน 12,970 ล้านบาท
เริ่ม ปี 2475 และปี 2551 ได้ควบรวมกิจการกับ บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง และศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจและการให้บริการ
5 สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ส่วนแบ่งตลาด 4.60% เบี้ยประกัยภัย 11,248 ล้านบาท
เดิมชื่อ บริษัท บ้วนฮงเซ้งประกันภัย จำกัด เริ่ม 2494
คนไทยมีการทำประกันชีวิต
แบบทั่วไป 76% แบบที่เด่น คือ ตลอดชีพ และ สะสมทรัพย์
สัญญาเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต 17% หมายถึง อนุสัญญา หรือ สัญญาย่อย สัญญาพ่วง
ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (ยูนิตลิงค์) อยู่ที่ 4%
ประกันชีวิตแบบบำนาญ 2%
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล 1% หรือ PA เบี้ยประกันถูกมาก เพราะ คุ้มครองเฉพาะอุบัติเหตุ
ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ 0.2%
ในการซื้อประกันภัย สิ่งที่เราอาจพลาดไป คือ การซื้อโดยไม่ผ่านตัวกลาง หรือ ตัวแทน/นายหน้า โดยอาจคิดว่าแพงกว่า หรือ กลัวถูกโกง หรือ สามารถดูแลตัวเองได้ แต่ทราบไหมว่า เบี้ยประกันไม่ได้แพงกว่ากันเลย แถมคุณยังมีคนคอยให้คำปรึกษา ช่วยเหลือดูแลอีก และ ตัวแทน/นายหน้า บางคนมีความรู้ประสบการณ์สูง สามารถช่วยเหลือเราได้ในยามวิกฤต หรือ คับขัน