INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 15:09:50
Home » ประกันภัยสำหรับเงิน » การประกันภัยเงิน (Money Insurance)\"you

การประกันภัยเงิน (Money Insurance)

2013/09/03 2964👁️‍🗨️

การประกันภัยสำหรับเงินนี้  เป็นการรับประกันที่ให้ความคุ้มครองต่อความสูญเสียของเงิน  ไม่ว่าเงินนั้นจะอยู่ภายในอาคารที่ทำการของผู้เอาประกันภัยในตู้นิรภัย  หรืออยู่ในระกว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง นอกจากนี้ยังให้ความคุ้มครองต่อตัวตู้นิรภัย  ห้องนิรภัย  ตัวอาคารหรือทรัพย์สินที่อื่นๆ ซึ่งเกิดจากการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์  การโจรกรรมเงินจากตู้นิรภัย  ห้องนิรภัย  และความเสียหายต่อเนื่องจากจี้ปล้น

ทรัพย์สินที่เอาประกันได้
คือ เงิน  ( ธนบัตร  เหรียญกษาปณ์ที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย )  เช็คที่ธนาคารรับรองการจ่าย ธนาณัติ  เช็คไปรษณีย์  และดวงตราไปรษณีย์ที่ยังไม่ขีดฆ่า  ซึ่งทรัพย์สินทั้งหมดนี้ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย  หรืออยู่ในความดูแลรับผิดชอบของผู้เอาประกัน
ความคุ้มครองมาตรฐาน
ผู้เอาประกันภัย สามารถซื้อการคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดก็ได้  ต่อไปนี้ คือ

  1. ความสูญเสียของเงิน  เพื่อค่าจ้าง หรือเงินเดือน  ขณะที่อยู่ในสถานที่เอาประกันภัย  จนกระทั่งจ่ายออกไป และคุ้มครองถึงเงินที่เหลือ  ซึ่งต้องเก็บอยู่ในตู้นิรภัย  หรือห้องนิรภัย
  2. ความเสียหายของเงิน  ภายในสถานที่เอาประกันภัย ในเวลาทำงาน
  3. ความสูญเสียของเงิน ภายใต้ตู้นิรภัย  หรือห้องนิรภัย  นอกเวลาทำงาน
  4. ความสูญเสียของเงิน ภายนอกสถานที่เอาประกันภัย  ขณะที่ทำการขนส่งโดยพนักงานรับส่งเงิน  ตามเส้นทางที่ระบุไว้
  5. ความเสียหายต่อตู้นิรภัย  หรือห้องนิรภัย ตัวอาคารสถานที่เอาประกันภัย  และทรัพย์สินอื่นๆ

ความคุ้มครองนี้สามารถแย่งออกได้ 3 ประเภท คือ
ข้อตกลงความคุ้มครองแบบ ปง.1  คุ้มครองความสูญเสียของเงินอันเกิดจากการปล้นทรัพย์  การชิงทรัพย์  หรือความพยายามกระทำดังกล่าว
ข้อตกลงความคุ้มครองแบบ ปง.2  คุ้มครองความสูญเสียของเงินอันเกิดจากสาเหตุใดก็ตามที่ไม่ได้ระบุไว้ใน ข้อยกเว้น
ข้อตกลงความคุ้มครองแบบ ปง.3  คุ้มครองความสูญ เสียของเงินเหมือนแบบ  ปง.2  แต่ได้ขยายรวมถึงการฉ้อโกง  หรือยักยอกโดยพนักงานรับส่งเงิน  หรือพนักงานรักษาเงิน  ซึ่งค้นพบภายใจ 3 วันทำการ

ข้อยกเว้น

  1. การฉ้อโกง  หรือยักยอก  การกระทำผิดต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา  โดยผู้เอาประกันภัยหรือหุ้นส่วนกรรมการ  หรือพนักงานของผู้เอาประกัน  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทำด้วยตนเองโดยลำพัง หรือสมรู้ร่วมคิดกับบุคคลอื่น
  2. การสูญหายของเอกสารต้นฉบับ  สมุดบัญชี  หรือรายงานตัวเลข
  3. การปลอมแปลงเอกสาร  การทอนเงินผิด ความผิดพลาด  หรือละเลยในการทำบัญชีหรือคำนวณ
  4. ภัยนิวเคลียร์  สงคราม จลาจล  การนัดหยุดงาน
  5. จำนวนที่เอาประกันภัย
  6. ระยะทางที่ทำการขนส่งเงิน และความถี่ในการขนส่งต่อเดือน




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow