INSURANCETHAI.NET
Thu 21/11/2024 20:03:40
Home » บางกอกสหประกันภัย ประกันรถยนต์(สินค้า) » ประกันภัยรถยนต์ – บางกอกสหประกันภัย\"you

ประกันภัยรถยนต์ – บางกอกสหประกันภัย

2011/03/18 1630👁️‍🗨️

ประกันภัยรถยนต์ – บางกอกสหประกันภัย

การประกันภัยรถยนต์ เป็นการประกันภัยที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ คือ

3.1) การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
เป็นการประกันภัยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดบังคับให้เจ้าของรถต้องจัดให้มีการทำประกันภัยเอาไว้เป็นขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งความคุ้มครองของการประกันภัยนี้คือ ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกายและอนามัย แต่ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน เช่น ค่าซ่อมรถ แต่อย่างใด

3.2) การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
เป็นการประกันภัยซึ่งเจ้าของรถมีความประสงค์ จะมอบหมายความเสี่ยงภัยจากอุบัติเหตุจากการใช้รถให้กับผู้รับ ประกันภัย เป็นผู้รับเสี่ยงภัยไว้แทน ซึ่งความคุ้มครองที่จะได้รับก็ขึ้นกับความสมัครใจของเจ้าของรถผู้เอาประกันภัย ว่าจะเลือกซื้อความคุ้มครองมากน้อยเพียงใด คือ

– แบบคุ้มครองรวม (COMPREHENSIVE) ซึ่งโดยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า การประกันภัยประเภท 1 โดยจะให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ซึ่งได้รับบาดเจ็บต่อชีวิต ร่างกาย รวมถึงความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งเกิดขึ้นจากรถประกัน และในส่วนตัวรถประกันก็จะได้รับความคุ้มครองต่อความสูญหาย รวมถึงความเสียหายต่อรถประกัน อันเนื่องมาจากการชนการคว่ำ ไฟไหม้ เป็นต้น
– แบบคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และความเสียหายต่อรถประกันเนื่องจากไฟไหม้หรือภัยอื่น (THIRDPARTY + OTHER PERILS) หรือที่นิยมเรียกกันว่าการประกันภัยประเภท 2 โดยจะให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกเหมือนแบบคุ้มครองรวม แต่ในส่วนรถประกันจะได้รับคุ้มครองเฉพาะความเสียหายจากไฟไหม้ การถูกลักทรัพย์ทั้งคัน เท่านั้น ไม่รวมถึงการชนหรือการคว่ำ
– แบบคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอย่างเดียว (THIRDPARTY ONLY) หรือที่นิยมเรียกกันว่าการประกันภัยประเภท 3 จะให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน หรือชีวิตร่างกายของบุคคลภายนอก อันเนื่องมาจากการใช้รถประกันเท่านั้น ส่วนตัวรถประกันเจ้าของรถผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง

การประกันภัยรถยนต์ ( Auto Insurance)
ไม่มีใครสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า แต่ทุกครั้งที่คุณขับรถ คุณสามารถอุ่นใจได้เพราะรู้ว่าตลอดเส้นทางของการใช้รถ ทั้งชีวิต และทรัพย์สินอันมีค่าของท่านจะได้รับ
ความคุ้มครองจากการทำประกันภัยรถยนต์กับ BUI
การประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็น
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
การประกันภัยชนิดนี้ จะให้ความคุ้มครองความรับผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใครก็ตาม ดังนี้

1. กรณีบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ ชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
2. กรณีบาดเจ็บ ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ชดใช้เต็มจำนวนความคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ประกันอันเกิดจากการชนกับรถคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกตามกรมธรรม์ BUI SUPER 3

เงื่อนไขความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกัน รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก ถ้าเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถซึ่งเป็นยานพาหนะทางบก ยกเว้น รถจักรยาน, รถสามล้อถีบ และรถซาเล้ง จะไม่ได้ความคุ้มครอง

ผู้มีสิทธิทำประกันภัยรถยนต์
ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัย

ปัจจัยสำคัญในการคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์
– ลักษณะของการใช้รถยนต์เป็นตัวกำหนดความเสี่ยงภัย รถยนต์รับจ้างย่อมมีความเสี่ยงภัยมากกว่ารถยนต์เพื่อใช้ในการพาณิชย์ หรือส่วนบุคคล
– ชนิด/ขนาด และอายุของรถยนต์ (โดยเฉพาะยี่ห้อ และรุ่นของรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราเบี้ยประกันภัย จะขึ้นอยู่กับราคาอะไหล่ และค่าซ่อมเป็นตัวกำหนด)
– อายุของผู้ขับขี่ สำหรับส่วนลดเบี้ยประกันภัยในการประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ของรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสาร และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล โดยระบุได้ไม่เกิน 2 คน
– จำนวนเงินเอาประกันภัย หรือทุนประกันภัย

ส่วนลดสำหรับกรณีระบุชื่อผู้ขับขี่ (เฉพาะรถส่วนบุคคลเท่านั้น)
สำหรับรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสาร และรถจักรยานยนต์ ระบุได้ไม่เกิน 2 คน จะได้รับส่วนลดดังนี้
อายุผู้ขับขี่ 18-24 ปี ส่วนลดกรณีระบุชื่อ 5%
อายุผู้ขับขี่ 25-35 ปี ส่วนลดกรณีระบุชื่อ 10%
อายุผู้ขับขี่ 36-50 ปี ส่วนลดกรณีระบุชื่อ 15%
อายุผู้ขับขี่ เกิน 50 ปี ส่วนลดกรณีระบุชื่อ 20%

การกำหนดมูลค่าทุนประกันภัย
ในกรณีที่มีการเลือกซื้อความคุ้มครองต่อตัวรถยนต์ (ประเภท 1) ทุนประกันของตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัยนั้น จะต้องไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่ารถยนต์ในวันที่ทำประกันภัย

เงื่อนไขในการพิจารณารับประกันภัย
– ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรถยนต์คันที่เอาประกันภัย
– รถยนต์เก๋ง อายุรถไม่เกิน 10 ปี รถยนต์โดยสาร(ไม่เกิน 15 ที่นั่ง) และรถยนต์บรรทุก อายุรถไม่เกิน 7 ปี
– ทุนประกันภัยไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่ารถยนต์คันที่เอาประกันภัย
– กรณีระบุชื่อผู้ขับขี่สามารถระบุ ได้ไม่เกิน 2 คน
– ส่วนลดประวัติดี สูงสุด 50 %
– กรณีมีสิ่งตกแต่งเพิ่มเติมจากสภาพเดิมของรถ ต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบ

ข้อยกเว้นที่ควรทราบ
– การใช้รถยนต์นอกอาณาเขตที่คุ้มครอง
– การใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น ใช้ในการปล้นทรัพย์
– การใช้รถยนต์ในการแข่งขันความเร็ว
– การใช้รถลากจูง ผลักดัน เว้นแต่รถที่ถูกลากจูง/ผลักดัน ได้ทำประกันภัยไว้กับบริษัทฯ ด้วย
– ใช้รถยนต์นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะไม่ได้รับการคุ้มครองความเสียหายของตัวรถยนต์คันที่เอาประกัน
– การขับขี่โดยบุคคลที่ได้เคยได้รับใบอนุญาต/ ถูกตัดสิทธิใช้ใบอนุญาตในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ไปขับขี่รถยนต์
– การขับขี่โดยบุคคลที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมา มีปริมาณแอลกฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
– ทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายรับผิด คู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้เก็บรักษา/ควบคุม/ครอบครองทรัพย์สินนั้น
– ทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ใน/กำลังยกขึ้นลงจากรถยนต์

การแจ้งขอทำประกันภัย เอกสารที่ใช้ประกอบด้วย
สำเนาทะเบียนรถยนต์, สำเนาบัตรประชาชน (กรณีระบุชื่อ), สำเนาใบขับขี่ (กรณีระบุชื่อ)
หรือติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายรับประกันภัย โทร 02-233-6920 โทรสาร 02-237-1856

การแจ้งอุบัติเหตุ
บริการรับแจ้งอุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ที่ BUI CALL CENTER
โทร 02-233-1998-9 (สายตรง), โทร 02-233-6920 ต่อ 516, 517, 518

ข้อควรปฏิบัติในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
– แจ้งบริษัทประกันภัยโดยเร็วซึ่งดูจากชื่อผู้เอาประกันภัย ทะเบียนรถ หรือเลขที่กรมธรรม์
– ไม่เคลื่อนย้ายรถประกันออกจากจุดเกิดเหตุโดยพลการ
– จดรายละเอียดของฝ่ายคูกรณี อาทิเช่น ชื่อผู้ขับขี่ เพื่อป้องกันการหลบหนีของคู่กรณี
– ไม่ตกลงยินยอมรับผิดในการเกิดเหตุทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อฝ่ายคู่กรณี หรือผู้เกี่ยวข้องกับคดีทั้งสิ้น โดยมิได้รับคำยินยอมจากบริษัทฯ
– ไม่ตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนใดๆ ต่อฝ่ายคู่กรณี โดยมิได้รับคำยินยอมจากบริษัทฯ

ข้อควรปฏิบัติกรณีรถประกันสูญหาย
– แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด หรือแจ้งตำรวจทางหลวง (1193) หรือแจ้ง ศปร.ตร. (1192) เพื่อสกัดจับคนร้ายให้ทันท่วงที
– แจ้งบริษัทประกันภัยโดยเร็ว

การบริการด้านสำรวจภัยและสินไหมทดแทน
ฝ่ายสินไหมทดแทน โทร 02-233-6920 โทรสาร 02-237-1856






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow