ประกันรถยนต์ เคลมสด เคลมแห้ง คืออะไร?
ลักษณะการเกิดเหตุ การเคลมประกันรถยนต์ แบ่ง3 แบบ คือ เคลมสด เคลมแห้ง เคลมเสียหายมาก
เคลมสด
เคลมสด คือ เคลมที่ต้องการพนักงานออกตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ
เช่น รถชนรถมีคู่กรณี หรือมีผู้บาดเจ็บ รถประกันหรือรถคู่กรณีเสียหายมาก ซึ่งเคลมประเภทนี้ ผู้ขับขี่รถคันเอาประกันหรือรถคู่กรณีจะได้รับใบหลักฐานในการติดต่อค่าเสียหายจาก พนักงานเคลม ซึ่งสามารถนำไปติดต่อซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯได้ทันที
เคลมสดมีขั้นตอน และเงื่อนไขอย่างไร?
ผู้เอาประกันนำหลักฐานดังต่อไปนี้เข้าไปติดต่อที่ศูนย์ หรืออู่ในเครือของบริษัทนั้นได้เลย พร้อมหลักฐานดังต่อไปนี้
1. ใบเคลม/ใบรับรองความเสียหาย
2. ใบขับขี่ หรือ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ ตัว – สกุล กรณีมีการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล พร้อม สำเนาบัตรประชาชน
3.หน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย
4.สำเนาทะเบียนรถ
เคลมแห้ง
เคลมแห้ง คือ เคลมที่ไม่ต้องการพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุออกตรวจสอบ ณ ที่เกิดเหตุ
เช่น รถประกันเสียหายเล็กน้อยและไม่มีคู่กรณี ซึ่งเคลมประเภทนี้ ผู้เอาประกันสามารถนำรถคันเอาประกันเข้าไปติดต่อซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทฯ ได้ตลอดเวลาที่ผู้ ขับขี่สะดวก แต่ทั้งนี้ต้องก่อนกรมธรรม์หมดอายุ
เคลมแห้งมักเป็นการเคลมประกันรถยนต์ สำหรับรถที่เกิดเหตุมานานแล้ว แต่เพิ่งมาแจ้งเหตุกับบริษัทประกันภัย เช่น มีรอยขูดขีด เนื่องจากการเฉี่ยวชน เป็นต้น
โดยปกติ การเคลมแห้งมักจะเป็นการเคลมโดยไม่มีคู่กรณี ซึ่งจะทำให้ผู้เคลมประกันเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม บางครั้งอาจจะเป็นความประมาทของเรา หรือ เป็นเพราะคนอื่นบ้าง ดังนั้น หากเกิดอุบัติเหตุและมีคู่กรณี ควรรีบโทรแจ้งไปยังบริษัทประกันภัยทันที พร้อมทั้งขอข้อมูลของพนักงานที่จะมาเคลมให้ด้วย เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์ติดต่อกลับ เพื่อที่คุณจะได้ตามงานได้สะดวก
หากคุณต้องการจะนำรถเข้าซ่อมที่อู่ ควรนำเอกสารต่างๆ ไปให้ครบถ้วน เช่น ใบขับขี่ กรมธรรม์และสำเนาทะเบียนรถ เป็นต้น
การเคลมแห้งเป็นการเคลม ที่รถเสียหายเล็กน้อย และผู้เอาประกันภัยแจ้งเหตุต่อบริษัทภายหลังการเกิดเหตุ (ไม่ได้แจ้งขณะนั้น)ความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนมากเป็นเฉพาะพื้นผิวสีและตัวถังเล็กน้อย เช่น รอยลักยิ้ม รอยครูดต่างๆ หรือกระจกเป็นรอยสะเก็ดหิน อาจไม่มีคู่กรณี หรือมีคู่กรณี หรืออาจจะได้รับใบเคลมจากบริษัทประกันภัยรถคู่กรณีมาแล้วก็ได้ บางบริษัทอาจใช้คำว่า เคลมเพื่อความสวยงาม (Cosmetic Claim) ก็ได้ เคลมแบบนี้มักจะมีมีค่าเสียหายส่วนแรก (excess) ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นจุด หรือ ต่อเหตุการณ์ หากหลายจุดก็สามารถเจรจาเหมาจ่ายได้เช่นกัน
เคลมแห้ง คือ เคลมที่ไม่ต้องรอให้พนักงานออกตรวจสอบอุบัติเหตุ ณ วันที่เกิดเหตุ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นเคลมเล็กๆ น้อยๆ และไม่มีคู่กรณี เช่น ถอยรถครูดเสา ซึ่งการเคลมลักษณะนี้ผู้เอาประกันภัยสามารถติดต่อเพื่อขอรับเอกสารการเคลม หรือจะนำรถไปติดต่อที่อู่ในเครือของบริษัทประกันภัยได้ในเวลาที่สะดวก โดยต้องแจ้งเคลมก่อนที่กรมธรรม์จะหมดอายุ
เคลมแห้งมีขั้นตอน และเงื่อนไขอย่างไร?
นำรถเข้าไปติดต่อศูนย์ หรืออู่ในเครือของบริษัทประกันภัยนั้นพร้อมหลักฐานเพื่อให้ศูนย์ หรืออู่ในเครือติดต่อบริษัทประกันภัยเปิดเคลม ก่อนที่กรมธรรม์จะหมดอายุ เอกสารมีดังนี้
1.ใบขับขี่ หรือ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ ตัว – สกุล กรณีมีการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล พร้อม สำเนาบัตรประชาชน
2.สำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย
3.สำเนาทะเบียนรถ
เคลมความเสียหายมาก
เคลมความเสียหายมาก หมายถึง เคลมที่เพิ่งจะเกิดขึ้นสดๆ หรือเกิดขึ้นนานแล้ว แต่เสียหายมากและเพิ่งมาแจ้งเหตุ เช่น รถเสียหายจนขับไม่ได้นานมา1สัปดาห์ แล้ว แต่เพิ่งมาแจ้งเหตุกับบริษัทประกัน
ระหว่างการเคลมนั้น พนักงานเคลมจะสอบถามข้อมูลต่างๆ ของผู้ขับขี่และคู่กรณี พร้อมทั้งให้สรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดว่าใครถูกใครผิด ซึ่งตรงนี้ ทั้งตัวคุณและคู่กรณีควรที่จะให้ความร่วมมือกับพนักงาน
จากนั้น พนักงานก็จะถ่ายรูปตัวรถ สถานที่เกิดเหตุ และ เมื่อเคลมเสร็จแล้ว พนักงานเคลมก็จะสรุปผลทั้งหมดและให้ข้อมูลว่าคุณจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไรบ้าง นำรถไปซ่อมที่ไหน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มหรือไม่ และพนักงานเคลมก็จะให้ใบเคลมเพื่อใช้ในการยื่นกับทางอู่หรือศูนย์ที่รับซ่อมต่อไป
กรณีเมื่อเกิดเหตุและคุณเป็นฝ่ายถูก แต่รถของคู่กรณีไม่มีประกันภัย คุณควรกลับไปตรวจสอบข้อมูลกับบริษัทประกันภัยด้วยว่า ได้บันทึกข้อมูลอุบัติเหตุไว้ว่าอย่างไร ว่าคุณเป็นฝ่ายถูกหรือไม่ หลังจากที่คุณเคลมประกันแล้ว ซึ่งถ้าไม่มีการระบุไว้ คุณอาจจะต้องเสียค่าประกันเพิ่มขึ้นในปีถัดไปได้ เหตุผลก็เพราะว่า ในบางครั้ง เพื่อให้จบง่าย พนักงานเคลมจะระบุให้รถคุณเป็นฝ่ายผิดนั่นเอง ทำไมทำอย่างนั้นล่ะ? เนื่องจากการตามไล่เบี้ยเคลมกับคู่กรณีที่ไม่มีประกันนั้น ค่อนข้างเสียเวลาและยุ่งยาก พนักงานเคลมบางบริษัท หรือ บริษัทที่จ้างมาทำงานด้านนี้ก็เลือกวิธีง่ายๆ สำหรับแก้ปัญหาของตัวเอง (จะว่ามักง่ายก็ได้)
ดังนั้นจำเอาไว้เลยว่า หากมีการเคลมที่คุณเป็นฝ่ายถูก ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า การลงบันทึกนั้นถูกต้องตามนั้น
สิ่งที่คุณต้องทำเพื่อให้การเคลมง่าย เป็นไปอย่างรวดเร็ว และไม่ผิดพลาด
– หากเกิดเหตุรีบแจ้งพนักงานประกันมาตรวจสอบทันที
– หลังจากโทรแจ้งแล้วให้ขอข้อมูลพนักงานเคลมที่จะมาเคลมให้คุณ
– ในระหว่างที่รอพนักงานเคลมนั้น คุณควรเจรจาไกล่เกลี้ยกับคู่กรณีว่าใครผิดใครถูก
– หลังจากผ่านไปสักวันสองวันแล้ว ควรโทรไปสอบถามบันทึกที่พนักงานเคลมบันทึกเอาไว้ ว่าตรงตามความเป็นจริงหรือไม่
– หากไม่รู้ว่าคู่กรณีเป็นใคร หรือจำทะเบียนรถไม่ได้ ให้รีบโทรแจ้งตำรวจและบอกลักษณะของรถคู่กรณีเท่าที่จำได้
หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาไม่ว่าจะร้ายแรงหรือเล็กน้อยก็ตาม สิ่งแรกที่ควรจะทำคือตั้งสติไว้ก่อน แล้วค่อยลงมาตรวจสอบความเสียหายและเรียกประกันมาตรวจสอบ และไม่ควรใช้อารมณ์ในการเจรจาไกล่เกลี้ยกับคู่กรณี เพราะจะทำให้เรื่องยากขึ้น ให้คุยปกติ
การแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อขอเลขเคลม (กรณีไม่มีคู่กรณี)
เช่น เฉี่ยวชนเสา ถังขยะ กระถางต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือวัตถุอื่นๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ บางทีก็ไม่ได้เป็นที่เรา แต่เป็นคนอื่นที่มาเฉี่ยวชน ฯลฯ
หากรถเรามีประกันชั้น 1 แต่ต้องเคลมโดยไม่มีคู่กรณี เราจะต้องทำยังไงบ้าง?
แจ้งนำรถเข้าซ่อม
แจ้งศูนย์บริการที่จะนำรถเข้าซ่อม
แจ้งรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น และเราต้องการนำรถเข้าซ่อม ทางศูนย์บริการจะให้เราแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อแจ้งเคลม และขอเลขเคลมมา
ติดต่อบริษัทประกันภัยรถยนต์
แจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่เราทำประกันรถยนต์เอาไว้ แจ้งว่าเราต้องการขอเลขเคลมเพื่อนำรถยนต์เข้าซ่อม บริษัทประกันภัยจะรับแจ้ง ขอรายละเอียดของอุบัติเหตุเพื่อทำเรื่องต่อ
กรณีต่อไปนี้ อาจจะพบเจอกันอยู่บ้าง สำหรับการแจ้งเหตุที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง จะว่าไปแล้วทั้งฝ่ายผู้รับประกันและผู้ทำประกัน ต่างก็มีวิธีการจัดการที่ต่างกันไป ทางใครทางมัน ส่วนทางทีมงานเอง ไม่ได้สนับสนุนหรือ แนะนำ เพียงนำมาเล่าสู่กันฟัง 🙂
การแจ้งเหตุแบบไม่มีคู่กรณี
แจ้งวัน เวลาเกิดเหตุ ให้ใกล้เคียงวันที่เราแจ้งเคลมมากที่สุด ในบางครั้งการ แจ้งเหตุวัน-เวลาจริงทางบริษัทประกันภัยอาจจะอ้างว่าเหตุเกิดนานแล้ว และไม่รับแจ้งก็เป็นได้
มีผู้เอาประกันบางราย แก้ปัญหาโดยแจ้งว่า เฉี่ยวชนกับสิ่งไม่มีชีวิต (เพื่อไม่ให้ต้องเสียค่า Excess ) เช่น ขอบทาง กระถางต้นไม้ รั้ว กำแพง เสา ฯลฯ ซึ่งจะแจ้งให้สมเหตุสมผล แต่ทางบริษัทประกันภัยก็มีวิธีการตรวจสอบเหมือนกันได้ เช่น ดูสีที่ติดกับวัตถุ ฯลฯ
บางรายแจ้งว่า ถูกชนแล้วหนี บางครั้งอาจจะทำให้การเคลมยุ่งยากมากขึ้นได้ บริษัทประกันอาจจะขอให้ตามหาคู่กรณี หรือ แจ้งไม่ได้ก็ต้องเสียค่า Excess หรือ บางกรณี ประกันบางประเภท ไม่จ่ายให้เลย เช่น (2+,3+)
เมื่อได้เลขเคลมแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะนำรถเข้าซ่อมเมื่อไร ไม่จำเป็นต้องนำรถเข้าซ่อมทันที โดยใบเคลมจะมีอายุ 1 ปี บางบริษัท 2 ปี (ตามกฏหมายประกันวินาศภัย 2 ปี) แล้ว หาเวลา นำรถเข้าซ่อม พร้อมใบเคลม ต่อไป