INSURANCETHAI.NET
Wed 18/12/2024 13:57:58
Home » ประกันรถยนต์(สินค้า) สินมั่นคงประกันภัย » ประกันภัยรถยนต์ – สินมั่นคงประกันภัย\"you

ประกันภัยรถยนต์ – สินมั่นคงประกันภัย

2012/08/07 1170👁️‍🗨️

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
เป็นการประกันภัยที่ไม่ได้บังคับให้ต้องทำ การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้ เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย)
โดยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความต้องการและกำลังเงินที่มีอยู่และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ทำประกันภัย ที่ขับรถดี มีความระมัดระวัง ในการขับขี่และมีความเสี่ยงภัยในการใช้รถต่ำ กรมการประกันภัย จึงได้ปรับปรุงโครงสร้าง การประกันภัยรถยนต์ใหม่ ให้สอดคล้องกับระบบสากลโดยนำเอาปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ขับขี่ ลักษณะการใช้รถ กลุ่ม ขนาด และอายุรถ ฯลฯ มาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณเบี้ยประกันภัย

ประเภทของกรมธรรม์ภาคสมัครใจ การประกันภัยรถยนต์ มีความคุ้มครองให้เลือก 3 ประเภทคือ
ประเภท 1 (ชั้น 1) ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คือ
-ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
-ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
-ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
-ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
ประเภท 2 (ชั้น 2) ผู้ทำประกันภัยประเภทนี้จะได้รับความคุ้มครอง
-ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
-ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
-ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
ประเภท 3 (ชั้น 3) ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
-ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
-ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

https://encrypted-tbn2.google.com/images?q=tbn:ANd9GcSfDa3-RLb7qEQuUPZsXdxfGqOssjGTokigQJMIEF82fSLuplCtzw

ตารางความคุ้มครองภาคสมัครใจ

ประเภทของประกันภัย
ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกความรับผิดต่อตัวรถยนต์
ความเสียหายต่อ
ชีวิต-ร่างกาย อนามัย
ความเสียหายต่อ
ทรัพย์สิน
ความเสียหายต่อ
ตัวรถยนต์
รถยนต์สูญหาย-ไฟไหม้
ประเภท 1
ประเภท 2
ประเภท 3

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ประกัน พรบ.” เป็นการประกันภัยที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย
ใครไม่ทำมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พศ. 2535
ต้องปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท

วัตถุประสงค์หลัก ของ พรบ.
เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ
ซึ่งได้รับ ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย และค่าเสียหายเบื้องต้นอย่าง ทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถาน
พยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน

รถที่ต้องทำประกันภัย
รถทุกคันทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เป็นยานพาหนะทุกชนิด
ที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลัง เครื่องยนต์และหมายรวมถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง
ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร
คนเดินเท้า คนข้ามถนน ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย
เนื่องจากรถหรือสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งไว้ในรถ ทั้งนี้รวมถึงทายาทโดยธรรม
ของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย โดยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามกฏหมายนี้ทั้งสิ้น

เงื่อนไขความคุ้มครอง
1. ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย แต่ไม่สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย
สามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิด ตามความเสียหายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อหนึ่งคน
2. ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย ในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีดังต่อไปนี้
บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาทต่อหนึ่งคน
* ตาบอด
* หูหนวก
* เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
* สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
* เสียแขน ขา มือ เท้า หรืออวัยวะอื่นใด
* จิตพิการอย่างถาวร
* ทุพพลภาพอย่างถาวร
3. ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาทต่อหนึ่งคน
ในกรณีได้รับความเสียหายตามข้อ 1 และต่อมาได้รับความเสียหาย ตามข้อ 2 หรือ 3 หรือทั้งตาม ข้อ 2 และ 3 บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด
200,000 บาทต่อหนึ่งคน






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow