ประกันภัยรถยนต์ประเภท5
ประกันภัยรถยนต์ประเภท5 หรือ ประกันชั้น5
ประกันภัยรถยนต์ในไทย แบ่งเป็น 5 ประเภท หรือ แบ่งเป็น 5ชั้น
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 5: เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในเมืองไทยภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบ 2+
รับผิดต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี
2. แบบ 3+
รับผิดต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี
เงื่อนไขสำคัญของประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ 5 ทั้ง 2 แบบคือ
1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และ
2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ ก็จะเคลมอะไรไม่ได้ครับ
หมายเหตุ
* ความเสียหายต่อร่างกายบุคคล รวมถึง การบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตและอวัยวะ ทุพพลภาพ ฯลฯ เพิ่มจากส่วนที่ พ.ร.บ. คุ้มครอง และค่าประกันตัวผู้ขับขี่
– คนในรถ หมายถึง บุคคลที่อยู่ภายในรถยนต์ หรืออยู่ระหว่างขึ้นลงรถยนต์
– คนอื่น หมายถึง บุคคลที่3 นั่นคือ ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกรถ ยกเว้น ผู้ขับ คู่สมรส บุตร บิดา-มารดา และลูกจ้าง
** ความเสียหายต่อทรัพย์สินคนอื่น รวมถึง ตัวรถยนต์ อาคาร สิ่งของ ฯลฯ ที่เสียหายจากอุบัติเหตุรถยนต์
ถ้าเงื่อนไขกรมธรรม์ครอบคลุมผู้ประสบภัยแล้ว ต้องทำประกัน พ.ร.บ. หรือไม่?
เดิมนั้นประกันทั้ง 2 จะแยกกัน ทำให้เงื่อนไขกรมธรรม์ภาคสมัครใจ (ส่วนคุ้มครองบุคคลที่ 3) จะซ้ำซ้อนกับประกัน พ.ร.บ. ต่อมาตั้งแต่ สิงหาคม พศ. 2551 (180 หลัง วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) เป็นต้นมา ประกันภาคสมัครใจจะเริ่มเป็นแบบควบ พ.ร.บ (Two in One) ซึ่งทำให้เบี้ยประกันโดยรวมลดลงเล็กน้อย (หลักร้อย) โดยประกันภาคสมัครใจที่ไม่รวม พ.ร.บ. จะยังมีอยู่ สังเกตจากใบกรมธรรม์จะมีข้อความคาดกลางกรมธรรม์ว่า “ไม่รวม พ.ร.บ.”
รายละเอียดเพิ่มเติม
1.เบี้ยประกันภัยราคาไม่แพงและราคาเท่ากันสำหรับรถยนต์ประเภทเดียวกัน
2.ไม่ต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนทำประกันภัย
3.คุ้มครองชีวิตร่างกายหรืออนามัยและความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
4.คุ้มครองบุคคลในรถคันเอาประกันภัยตามเอกสารแนบท้าย ได้แก่
– อุบัติเหตุส่วนบุคคล
– ค่ารักษาพยาบาล
5.การประกันตัวผู้ขับขี่กรณีเกิดคดีอาญา
6.คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ เฉพาะกรณีชนกับยานพาหนะทางบก เท่านั้น
* ยานพาหนะทางบก หมายถึง รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ โดยใช้พลังงานเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ก๊าซ หรือกำลังไฟฟ้า
เอกสารพิจารณา
1.สำเนาสมุดทะเบียนรถยนต์
2.สำเนาบัตรประชาชน