INSURANCETHAI.NET
Sun 22/12/2024 8:10:33
Home » ประกันสุขภาพ » ระบบประกันสุขภาพแบบหลายมาตรฐาน\"you

ระบบประกันสุขภาพแบบหลายมาตรฐาน

2018/08/31 1251👁️‍🗨️

ประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพหลักๆ 4 แบบ

1.ราชการ
2.ประกันสังคม
3.30 บาท
4.ประกันสุขภาพส่วนบุคคล

1. ระบบสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลของข้าราชการ คุ้มครองข้าราชการประมาณ 5 ล้านคน
2. ระบบประกันสังคม คุ้มครองประชาชนจำนวน 9.8 ล้านคน และกำลังจะคุ้มครองเพิ่มอีก 5.8 ล้านคน ที่ย้ายมาจากระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
3. ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า คุ้มครองประชาชนจำนวน 47.3 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ 5.8 ล้านคนกำลังจะถูกโอนเข้าสู่ระบบประกันสังคม
4. ระบบประกันสุขภาพส่วนบุคคล เป็นการประกันสุขภาพที่บุคคลทั่วไปซื้อกรมธรรม์จากบริษัทประกันทั่วไป มีจำนวนประมาณ 1 -2 ล้านคน

ระบบประกันสุขภาพทั้งหมดนี้ ยกเว้นประกันสังคมและประกันสุขภาพส่วนบุคคลล้วนแต่ใช้งบประมาณที่มาจากภาษี อากรทั้งสิ้น ในระบบประกันสังคม การส่งเงินเข้ากองทุนจะเป็นภาระของผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐ ในขณะที่ระบบประกันส่วนบุคคล ผู้ประกันตนจะเป็นผู้รับภาระจ่ายค่าเบี้ยประกันเอง

ถ้าพิจารณาโดยผิวเผิน จะเห็นได้ว่า ระบบประกันสุขภาพแบบที่ 1, 2 และ3 ที่ได้จ่ายทั้งหมดหรือบางส่วนโดยรัฐ ก็ควรจะครอบคลุมคนไทยทั้งหมดทุกสถานะและอาชีพ แต่ อย่างไรก็ตาม มีระบบประกันสุขภาพอีกประเภทที่หน่วยงานรัฐซื้อจากบริษัทประกันเอกชน สำหรับกลุ่มที่มีสิทธิพิเศษ เช่น สำนักงานอัยการ สำนักงานคณะกรรมการป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ
วุฒิสมาชิก และ สภาผู้แทนราษฎร์ โดยให้ความคุ้มครองและประโยชน์ด้านประกันสุขภาพเหนือกว่าคนไทยทั่วไป

ข้อมูล (จากตาราง) สะท้อนถึงงบประมาณต่อหัวด้านการรักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างอย่าง มากระหว่างกลุ่มที่มีสิทธิพิเศษกับประชาชนคนไทยทั่วไป กลุ่มที่ได้รับสิทธิพิเศษ
สามารถเข้าบริการของโรงพยาบาลเอกชนที่หรูหรา ในขณะที่ประชาชนทั่วไปต้องใช้บริการโรงพยาบาลรัฐที่แออัด

สิทธิประโยชน์อื่นๆก็แตกต่างกัน เช่น ยา Rituximab ที่มีราคาแพงใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ผลดี สามารถจ่ายยาชนิดนี้ให้กับกลุ่มที่มีสิทธิพิเศษได้อย่างง่ายดายแต่แทบจะ ไม่ได้จ่ายให้กับผู้ประกันสุขภาพในระบบสุขภาพถ้วนหน้าและประกันสังคม และในยาชนิดเดียวกัน กลุ่มที่ได้รับสิทธิพิเศษจะได้รับยาที่ผลิตโดยบริษัทผู้ผลิต (ซึ่งแพงกว่ายาเทียบเท่าหลายเท่าตัว)

เมื่อพูดถึงสิทธิ์ในการรับบริการด้านการรักษพยาบาล ข้าราชการและครอบครัวจะได้รับความสำคัญก่อน หลังจากนั้นค่อยเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือพิเศษและคนที่อยู่ใน ระบบประกันสังคมตามลำดับ
การมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิมคือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค) ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย ที่คนไทยทุกคนสามารถเข้ารับบริการด้านรักษาพยาบาลจากโรงบาลรัฐอย่างเท่าเทียม

ปัจจุบัน สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการที่ครอบคลุมข้าราชการประมาณ 5 ล้านคน ใช้งบประมาณ 65,000 ล้านบาท หรือ 13,000 ต่อคน ในขณะที่ประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมประชาชน 47 ล้านคน ใช้งบประมาณ 89,000 ล้านบาท
หรือเพียง 1,894 บาทต่อคน ต่างกันเกือบเจ็ดเท่า และที่น่าแปลกใจก็คือ ระบบประกันสุขภาพที่ผู้ประกันตนต้องร่วมรับภาระ (ประกันสังคม) ได้รับคุณภาพการบริการที่ต่ำกว่าประกันสุขภาพถ้วนหน้าเสียอีก

ข้าราชการในองค์กรอิสระได้รับการจัดงบประมาณด้านประกันสุขภาพ 38,000 บาทต่อคน
รัฐมนตรี สภาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ วุฒิสมาชิก ได้รับ 20,000 บาทต่อคนและได้รับการเสนอเพิ่มเป็น 50,000 บาทต่อคนต่อปี
ในขณะที่คนไทยทั่วไปได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านรักษาพยาบาลเพียง 2,000 บาทต่อคนต่อปีจากรัฐ

ความแตกต่างนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรของภาครัฐและภาคการเมือง ซึ่งแสดงให้ถึงความไม่เชื่อในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ซึ่งเป็นแก่นของระบอบประชาธิปไตย

ณ วันนี้ สังคมไทยเริ่มรับฟังและให้ความสนใจมากขึ้นต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่กระนั้น ความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจต่อปัญหานี้ไม่เพียงพอ หลักสำคัญของเรื่องนี้
มิได้เกี่ยวกับการร้องขอให้เกิดความเห็นใจและ สงสาร แต่เกี่ยวกับความยุติธรรมภายใต้ความเท่าเทียมกันของสิทธิมนุษย์ ไม่ว่าสถานะทางสังคมอาชีพหรือสถานะทางการเมืองจะเป็นอย่างไร ทุกคนควรมีสิทธิ์ที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านการรักษาพยาบาล เพราะทุกระบบใช้งบประมาณจากภาษีอากรทั้งสิ้น

ระบบบริการด้านสุขภาพต้องไม่แบ่งชนชั้น หรือให้สิทธิพิเศษแก่คนบางกลุ่ม รัฐบาลต้องจัดให้ประชาชนมีอย่างเท่าเทียม รวยหรือจนไม่ควรเป็นอุปสรรคหรือปัจจัย ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพ

ผู้เขียนบทความคือ Dr Pongsadorn Pokpermdee, senior expert at the National Health Security Office และ Ms Proud Patanavanich, Intern, College of William and Mary, USA. ตีพิมพ์ใน นสพ. Bangkok Post ๒๕๕๓

ผ่านมาหลายปี ปัจจุบัน อาจมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเพียงข้อมูลเดิมไว้ศึกษาเพิ่ม เรียบเรียงปรับปรุงข้อมูลบางส่วน





คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow