ไม่ทำพรบ.รถยนต์ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของรถต้องจัดให้มีการทำประกันภัยภาคบังคับไว้ในกฏหมายมาตรา 7 โดยบัญญัติว่า “เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย” หากเจ้าของรถผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่จัดให้มีการประกันภัยดังกล่าว โทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 37)
นอกเหนือจากเจ้าของรถที่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันภัยภาคบังคับแล้วนั้น ในส่วนของผู้ใช้รถเอง กฏหมายมาตรา 11 ก็ได้กำหนดไว้เช่นกันว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 7” ฝ่าฝืนมาตรา 11 โทษปรับไม่เกิน 10,000บาท (มาตรา 39)
ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของรถ หรือ ไม่ใช่เจ้าของรถ เป็นเพียงผู้ใช้รถ ก็มีโทษปรับเหมือนกัน ,กฏหมายให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยภาคบังคับ หรือ พรบ.
1.ขับรถที่ไม่มีพรบ. (ไม่ประสบอุบัติเหตุ)
ถ้าเจอตำรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และ หากทำแล้วแต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ที่รถยนต์ในจุดที่เห็นได้ชัดเจน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
2.ขับรถ ไม่มีพรบ. แล้วชนรถคันอื่น (คุณเป็นฝ่ายผิด)
ผู้ประสบภัย (คนที่คุณขับรถชน) สามารถไปใช้สิทธิ์ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น(ค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000บาท) ได้จากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ (ซึ่งก็คือกรมการประกันภัย และสำนักงานประกันภัยจังหวัดทั่วประเทศ)
เนื่องจากรถไม่มี พรบ. กองทุนจ่ายค่าเสียหายให้ผู้ประสบภัยไปก่อนแล้วจะไปไล่เบี้ยคืนจากเจ้าของรถ โดยบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมทั้งปรับเจ้าของฐานฝ่าฝืนไม่ทำพรบ. และผู้ขับขี่ฐานนำรถที่ไม่มีพรบ.มาใช้อีกไม่เกิน 10,000 บาท
การมี พ.ร.บ. ช่วยบรรเทาความเสียหายเหล่านั้นได้ , พรบ. ผิดชอบชีวิตคุณ และ คนในสังคมที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกันอีกด้วย
เบี้ยประกัน พรบ. รถยนต์ เก๋ง (หรือ จดทะเบียน รหัส 110) 645บาท กระบะ (ไม่ได้จดทะเบียน รหัส 110) 967 บาท
ปี 2560 มีจำนวน รถยนต์ และ รถจักรยานยนต์ จดทะเบียนทั้งสิ้น 38 ล้านคัน ทำ ประกันภัยรถยนต์ พรบ. 31 ล้านกรมธรรม์
ผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ผู้ใช้รถใช้ถนน ต้องแบกรับค่าใช้จ่าย ไว้เองอีกด้วย