INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 17:04:26
Home » Uncategorized » ผู้ครอบครอง จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ควบคุมรถต่อเมื่อโดยสารไปกับรถคันนั้นด้วย\"you

ผู้ครอบครอง จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ควบคุมรถต่อเมื่อโดยสารไปกับรถคันนั้นด้วย

2019/06/21 4081👁️‍🗨️

2481/2533

โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะที่เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์มิใช่ฐานะนายจ้างหรือตัวการ จึงเป็นฟ้องที่อาศัยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 437 ฉะนั้นแม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์ แต่เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2ร่วมไปในรถยนต์นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเพราะเหตุเป็นเจ้าของรถยนต์ตามบทบัญญัติดังกล่าว

5679/2545

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 ที่กำหนดว่าบุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะใดอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น ผู้ครอบครอง หมายถึง ผู้ใช้ยานพาหนะนั้นในฐานะเป็นผู้ยึดถือในขณะเกิดความเสียหาย หรือเป็นผู้ครอบครองยานพาหนะนั้นอยู่ในขณะเกิดเหตุ ฉะนั้น เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้ขับหรือโดยสารไปในรถยนต์ด้วยแม้จะมีชื่อในทะเบียนเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถยนต์คันเกิดเหตุตามความในมาตราดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง

6249/2541

เจ้าของรถยนต์จะรับผิดหรือร่วมรับผิดในผลแห่ง การละเมิด ต้องเป็นกรณีที่เจ้าของรถยนต์เป็นผู้กระทำละเมิดคือเป็นผู้ขับด้วยตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีเจ้าของรถยนต์ ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลอื่นในผลแห่งการละเมิดต้องเป็นกรณีผู้กระทำละเมิดเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของเจ้าของรถยนต์ หรือเจ้าของรถยนต์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ขณะเกิดเหตุโดยเจ้าของรถยนต์โดยสารไปด้วยตามมาตรา 425,427 และ 437 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ รถยนต์คันเกิดเหตุแต่ยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 4ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในฐานะใดอันเป็นประเด็นสำคัญในคดี ซึ่งจำเลยที่ 4 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้และศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่ 4จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1)(3),247

3437/2537

แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุไว้ด้วย แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าในขณะเกิดเหตุจำเลยเพียงเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเท่านั้น โดยจำเลยมิได้เป็นผู้ขับหรือโดยสารไปด้วย จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์คันเกิดเหตุตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437

3760/2533

แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมา และได้ให้ ป. ขับก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่รถยนต์ ดังนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow