คปภ. เพิ่มความคุ้มครอง พรบ. จาก 300,000 เป็น 500,000 บริษัทประกันจะทำอย่างไร
คปภ. ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลควบคุมธุรกิจประกันภัย มักจะมีการปรับความคุ้มครองหรือเพิ่มประโยชน์ให้กับประชาชนผู้ซื้อประกันภัยอยู่เสมอ อย่างล่าสุด มีการเพิ่มความคุ้มครอง พรบ รถยนต์ หรือ ประกันภัยรถยน์ภาคบังคับ กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ จากเดิม 300,000 เป็น 500,000 โดยมีผลคุ้มครองตามวันที่เกิดเหตุ โดยเบี้ยประกันคงเดิม
บริษัทประกันภัย บางแห่งมีมาตรการบางอย่างเพื่อชดเชยส่วนต่างความเสี่ยงด้วยการดำเนินกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น
- ไม่จ่ายคอมมิสชั่นให้กับนายหน้า/ตัวแทน ก็คือ ขายได้แต่ไม่ได้คอมมิสชั่น
- ลดคอมมิสชั่นลงไปจากเดิม
- จ่ายเฉพาะคอมมิสชั่นแต่ไม่จ่าย ค่าบริหาร (OV)
นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนไขอื่นๆ
การยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
1.ยกเลิกไม่เกิน30วัน นับจากวันคุ้มครอง บริษัทฯจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการยกเลิก 300 บาท
2.ยกเลิกเกิน 30วัน นับจากวันคุ้มครอง บริษัทฯจะเรียกเก็บความคุ้มครองเป็นแบบเฉลี่ยรายวัน นับจากวันคุ้มครอง
โดยบริษัทฯจะต้องได้รับกรมธรรม์ตัวจริงพร้อมใบเสร็จคืนครบถ้วน
พรบ 12% ไม่มี OV
โบรกเกอร์ใหญ่บางแห่งที่เปิดระบบสมาชิก ก็มีการยกเลิกการขาย พรบ
สรุปก็คือ คปภ สั่ง > บริษัทประกัน และ บริษัทประกัน สั่ง > ตัวแทน / นายหน้า เรื่องก็เป็นเช่นนี้
เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้?
ธรรมาภิบาล จิตสำนึกของผู้ให้ ที่บริษัทประกันภัยต้องมี!!
และต้องมีให้มากกว่า ธุรกิจทั่วไป เพราะ รากฐานของประกันภัยมาจากความรักและห่วงใย
องค์กรที่ดี ควรมีจิตสำนึกของความเป็นผู้ให้ โดยเฉพาะในธุรกิจประกันภัย ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความรัก ความห่วงใย ทดแทนสินไหม สร้างความอุ่นใจ ปลอดภัยแก่ผู้เอาประกัน
เมื่อเร็วๆนี้ .. คปภ เพิ่มความคุ้มครอง พรบ ให้กับผู้เอาประกัน
เวลาผ่านไปหลายศตวรรษ จนทำให้บริษัทประกันบางแห่ง (อันที่จริงก็คือคนในองค์กรของบริษัทประกันภัยเหล่านั้น) ลืมสิ่งที่สำคัญนี้ไป
ก็ได้มีบางบริษัทประกันภัย อาจมองว่าตัวเองเสียหาย เพราะเบี้ยประกันเท่าเดิม แต่ต้องให้ความคุ้มครองเพิ่มขึ้น บริษัทประกันเหล่านั้น ก็เริ่มทำอะไรบางอย่าง เช่น จ่ายคอมมิสชั่นที่ให้ตัวแทนน้อยลง
บางแห่งเลวร้ายถึงขนาด ไม่จ่ายคอมมิสชั่นให้กับตัวแทน/นายหน้า ของเขา
(นายหน้าไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะขายได้หลายที่)
ประเด็นสำคัญก็คือ มันอาจบ่งบอกถึงความเขี้ยว ความเห็นแก่ได้ ไม่มีจิตใจอันเป็นผู้ให้ ได้หรือไม่?!!
เป็นไปได้ไหมว่า บริษัทประกันบางแห่งนั้นอาจเริ่มมีปัญหาทางการเงิน หรือไม่ก็ แสดงให้เราเห็นถึง นิสัยใจคอ วัฒนธรรมองค์กรของเขาเหล่านั้น ก็เป็นได้
เราทุกคนสามารถช่วยกันเพื่อให้สังคมดีขึ้นได้ สนับสนุนองค์กรที่ดีมีธรรมภิบาลที่มากกว่า เพราะวันหนึ่งช้างหน้าองค์กรที่ดีเหล่านี้ จะตอบแทนกลับสู่สังคมได้มากขึ้น
เราในฐานะผู้บริโภค ครั้งต่อไปเวลาจะซื้อประกัน ก็ลองตรองดูว่าจะซื้อประกันกับบริษัทใด?
(คุณก็เพียงแค่ถาม ตัวแทน/นายหน้า ตรงๆ ก็จะรู้แล้วว่า เป็นบริษัทไหนบ้าง)