INSURANCETHAI.NET
Sat 18/01/2025 14:50:48
Home » ข่าวประกันภัย » คปภ จับมือ สคบ เพิ่มประสิทธิภาพคุ้มครองผู้บริโภคด้านประกันภัย\"you

คปภ จับมือ สคบ เพิ่มประสิทธิภาพคุ้มครองผู้บริโภคด้านประกันภัย

2020/04/02 1421👁️‍🗨️

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานคปภ. ได้เข้าพบ นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เพื่อประชุมหารือแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านประกันภัย โดยจะเน้นการสร้างเครือข่ายด้วยระบบไอที มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่าง คปภ.กับ สคบ.เข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายของสคบ.ที่กระจายอยู่ในทุกพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลทำให้การดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการประกันภัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีความถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยอย่างถูกต้องและเพียงพอ โดยการหารือของทั้งสองหน่วยงานในครั้งนี้จะมีการพัฒนาไปสู่การจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความรู้และสิทธิประโยชน์ด้านการประกันสำหรับผู้บริโภคต่อไป

ความร่วมมือในครั้งนี้ 1.. แนวทางการปฎิบัติงานให้สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเครือข่ายการประสานงานและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บริโภคด้านการประกันภัย ดูแลผู้บริโภคในกรณีที่มีการร้องเรียนหรือมีปัญหาด้านการประกันภัย ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยต่อผู้บริโภค รวมกันเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ความรู้ ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้กับผู้บริโภค มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านวิชาการ และส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการประกันภัย ตลอดจนร่วมกันติดตาม ประเมินผล และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน

เลขาธิการคปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาหากมีเรื่องร้องเรียนด้านประกันภัยไปยัง สคบ. ก็จะมีการรวบรวมเรื่องร้องเรียนส่งเป็นหนังสือกลับมายัง คปภ. เพื่อพิจารณาข้อร้องเรียนหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่กำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัยโดยตรง และเมื่อคปภ.พิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวเสร็จสิ้นก็จะทำหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานสคบ.ให้รับทราบถึงผลการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ซึ่งกระบวนการในลักษณะนี้มีระยะเวลาการดำเนินงานอยู่พอสมควรทำให้ยากต่อการติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน ดังนั้นความร่วมมือของคปภ.และสคบ.ในครั้งนี้จึงมีแนวคิดที่จะมีการเชื่อมระบบฐานข้อมูลรับเรื่องร้องเรียนของทั้งสองหน่วยงานเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดตามสถานะของเรื่องร้องเรียนด้านประกันภัยว่ามีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาไปถึงไหนอย่างไร อีกทั้งยังสามารถติดตามเรื่องร้องเรียนได้ว่าอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คนใด เพื่อให้การบริการประชาชนมีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการกระชับความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ทางสคบ.จะเปิดศูนย์ราชการสะดวกด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีลักษณะเป็นการรวมหน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคเข้ามาอยู่ด้วยกัน โดยคปภ.จะส่งพนักงานของคปภ. ไปประจำเพื่อรับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาด้านการประกันภัยภายในศูนย์ดังกล่าวด้วย

“การเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลนี้ไม่เพียงแค่คปภ.และสคบ.เท่านั้น แต่ผมยังมีแนวคิดที่จะใช้แนวร่วมของทั้งสองหน่วยงานที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ในการเชื่อมเข้าหากันลักษณะเป็นเครือข่ายรวมกันอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเตรียมรองรับแนวนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล อีโคโนมี ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีช่องทางติดต่อสื่อสารกับคปภ.ได้ง่ายยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันคปภ.ก็สามารถรณรงค์ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้กับประชาชนในลักษณะ Two way communication ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมประกันภัยเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าไปคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างแท้จริง” ดร.สุทธิพล กล่าวในที่สุด

ทาง insurancethai.net ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของ หน่วยงานด้านประกันภัยที่คุ้มครองผู้บรโภคมาตลอดเป็นระยะเวลาหลายปี ตั้งแต่ ดร.สุทธิพล เข้ามาดูแล คปภ. ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการด้านการช่วยเหลือ ให้ความเป็นธรรมกับลูกค้าผู้เอาประกันภัย อย่างจริงจัง บริษัทประกันภัยต่างให้ความเคารพยำเกรง และปฎิบัติดำเนินธุรกิจอย่างตรงไปมา ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ยังมีบริษัทประกันภัยบางแห่งฉวยโอกาส และ เอาเปรียบลูกค้าผู้เอาประกันภัย โดยใช้ความได้เปรียบในฐานะผู้ให้บริการประกันภัย ผู้ออกสัญญาประกันภัย โดยฝั่งของผู้ใช้บริการ หรือ ลูกค้าผู้เอาประกันภัย ไม่มีความรู้เพียงพอต่อเรื่องด้งกล่าว นอกจากนี้บริษัทเหล่านั้นในบางครั้งจะพบเห็นว่า ไม่มีความความรู้ความชำนาญ ในสินค้าประกันภัยบางประเภทของตนเองและตีความเข้าข้างตัวเอง อย่างไร้ธรรมภิบาล อันนำมาซึ่งการเอารัดเอาเปรียบ สร้างความเดือดรำคาญ คุกคาม ลูกค้าผู้เอาประกันภัย อันจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์และการพัฒนา ของอุตสาหกรรมประกันภัย ในประเทศไทย ต่อไปในวันข้างหน้า




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow