OPD , IPD คืออะไร
In Patient department (IPD) หมายถึง ผู้ป่วยใน
คือ ผู้ที่เข้ามารักษาตัวแล้วต้องนอนพักที่โรงพยาบาล หรือ admit โดยเข้ารักษาตัวไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง จะถูกจัดอยู่ในผู้ป่วยใน
Out patient department (OPD) หมายถึง ผู้ป่วยนอก
คือ ผู้ที่มารับการรักษา แต่ไม่ได้นอนโรงพยาบาล รักษาเสร็จแล้วกลับ โดยทั่วไปมักเป็นผู้ป่วยธรรมดาทั่วไปเช่น เป็นหวัด ปวดหัว หกล้ม แต่ถ้าอาการหนักต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล จะถือเป็นคนไข้ใน (IPD)
OPD ผู้ป่วยที่รับการรักษาไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วย OPD มักจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ไม่จำเป็นต้องรอดูอาการ หรือเป็นผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ตามที่นัดไว้เพื่อตรวจอาการเจ็บป่วย ซึ่งมีความแตกต่างจากผู้ป่วยในที่มักจะเป็นผู้ป่วยหนัก เช่น ผู้ป่วยที่รอผ่าตัด ผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
ถ้าต้องนอนโรงพยาบาล คือผู้ป่วยใน
ถ้าไม่ต้องนอนโรงพยาบาล คือ ผู้ป่วยนอก
เวลาเราซื้อประกันสุขภาพ จะมี 2 ส่วนหลักความคุ้มครองที่ต้องพิจารณาซื้อ
1. ส่วนของ IPD คือ นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
2. ส่วนของ OPD คือ ความคุ้มครอง กรณีไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งส่วนนี้บางบริษัทประกันจะให้เป็น option เพิ่ม นั่นคือ สามารถซื้อเพิ่มความคุ้มครองนี้ได้ ซึ่งโดยทั่วไปเบี้ยประกันจะใกล้เคียงกับ ความคุ้มครองของ IPD เลยสิ่งที่ผู้ซื้อประกันสุขภาพจะต้องพิจารณาคือ จำเป็นหรือไม่? ที่จะต้องซื้อความคุ้มครอง OPD
ยกตัวอย่าง กรณีเป็นหวัด เราไปรักษาตัวครั้งละ 1,000-2,000 ปีหนึ่งเป็นหวัด 2-3 ครั้ง ก็จะมีค่าใช้จ่าย 3,000-6,000 แต่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน OPD ที่ให้ความคุ้มครอง ครั้งละ 1,500 เป็นเบี้ยประกันที่ปีละ 10,000 บาท
โดยทั่วไป ผู้ซื้อประกันมักจะซื้อ IPD ให้กับ เด็กเล็ก เพราะมีโอกาสเจ็บป่วยไข้ได้ง่ายกว่า
OPD = Out Patient Department (แผนกผู้ป่วยนอก)
IPD = In Patient Department (แผนกผู้ป่วยใน)
OB-GYN = Obstetrics and Gynecology (สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา)
ER = Emergency Room (ห้องฉุกเฉิน)
ER = EMERGENCY ROOM ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รับผู้ป่ยที่เกิดเหตุเจ็บป่วย-บาดเจ็บกรณีฉุกเฉิน
OR = OPERATING ROOM ห้องผ่าตัด ทำการรักษาผู้ป่วยจากโรคต่างที่ต้องใช้วิธีผ่าตัด
LR = LABOR ROOM ห้องคลอด
OPD = OUTPATIENT DEPARTMENT แผนกผู้ป่วยนอก รับผู้ป่วยปรกติที่ไม่ได้เจ็บป่วยรุนแรงหรือฉุกเฉิน หรือรักษาผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องค้างที่ รพ.
MED = MEDICINE อายุรกรรม (การรักษาด้วยยา) โรคทั่วไป
PED = PEDIATRIC กุมารเวชกรรม (การรักษาโดยเฉพาะเด็ก)
SUR = SURGICAL ศัลยกรรม (การรักษาด้วยการผ่าตัด)
ORTHO = ORTHOPEDIC ศัลยกรรมกระดูก (การรักษาโรคกระดูกด้วยยาหรือการผ่าตัด)
OB-GYN = OBSTRETIC GYNECOLOGY สูติ-นรีเวชกรรม (การรักษาโดยเฉพาะสตรีและการตั้งครรภ์)
ANC = Ante natal care การดูแลก่อนคลอด
IPD = INPATIENT DEPARTMENT แผนกรักษาผู้ป่วยใน สำหรับผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
PT = PHYSICAL THERAPY แผนกกายภาพบำบัดและฟื้นฟู
LAB = LABORATORY แผนกห้องปฏิบัติการ ตรวจเลือด สารคัดหลั่ง อุจจาระ-ปัสสาวะ
E = Eye แผนกที่รักษาเกี่ยวกับโรคทางตา
ENT = Ear Nose Throat แผนกที่รักษาเกี่ยวกับโรค หู คอ จมูก
Radiology แผนกเอ็กซเรย์วินิจฉัย รังสีวินิจฉัย เกี่ยวกับการเอ็กซ์เรย์ การรักษาด้วยรังสี
ICU = Intensive Care Unit หออภิบาลผู้ป่วยหนักรวม
CCU = Coronary Care Unit หออภิบาลผู้ป่วยหนักเฉพาะโรคหัวใจ
Dental Center- ศูนย์ทันตกรรม
Medical Imaging Center- ศูนย์รังสีวินิจฉัย
Urology Clinic – คลินิกระบบทางเดินปัสสาวะ
GI Center- ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร
Skin care / Dermatology Clinic – คลินิกผิวหนัง
Infertility Center- ศูนย์ผู้มีบุตรยาก
Golden Age Clinic- คลินิกวัยทอง
Heart / Cardiovascular Center- ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด
Kidney Disease Clinic – ศูนย์โรคไต
Diabetes & Metabolic Center – คลินิกเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
Breast Care Center- ศูนย์รักษ์เต้านม
Weight Control Clinic – คลินิกความอ้วน
Neurological Center – ศูนย์สมองและระบบประสาท
Oncology / Cancer Center- ศูนย์เนื้องอก / มะเร็ง
Pharmacy – หน่วยงานห้องยา/คลังยา