INSURANCETHAI.NET
Tue 21/01/2025 17:56:56
Home » ประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอก » ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก – ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย\"you

ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก – ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย

2013/02/12 2296👁️‍🗨️

การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Public liability Insurance)
การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก หรือการรับประกันภัยความรับผิดตามกฎหมาย ต่อสาธารณชน เป็นการประกันภัยที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเจ้าของกิจการ เช่น โรงแรม
อาคารสำนักงาน โรงงาน ที่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก ดังนี้
1. การเสียชีวิต หรือบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยของบุคคลใดๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมาย
2. ความสูญเสีย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใดๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิด ตามกฎหมาย
โดยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตภายในสถาน ทีุ่ ประกอบการ หรือเกิดขึ้นจากสถานที่ประกอบการของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย ซึ่งทำงานประจำ ณ สถานประกอบการ ในขณะที่ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ประกอบการ

 หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
1. บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทประกันภัย สามารถที่จะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน ให้แก่บุคคลภายนอก ผู้ที่ได้รับความเสียหายได้โดยตรงแม้ว่า บริษัทประกันภัยจะไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับผู้เสียหายก็ตาม
2. ความรับผิดต่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจะต้องเกิดขึ้น โดยอุบัติเหตุซึ่งเป็นเหตุการณ์ ทีเกิดขึ้นโดยฉับพลันและไม่คาดคิดมาก่อน เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยเจตนาแต่เกิดขึ้นโดย ความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย
3. บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย หรือบุคคลภายนอกเฉพาะจำนวนเงิน ที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ถ้าเป็นความผิดอย่างอื่น ๆ ไม่มีกฎหมายรองรับบริษัท ประกันภัยก็ไม่มีความผูกพันจะต้องจ่าย
4. บุคคลภายนอกผู้ที่ได้รับความเสียหาย ต้องเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ไม่ใช้บุคคล ในครอบครัว หรือบุคคลที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย ที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมกับกิจการ ของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ในระหว่างการจ้างหรือบุคคลที่อยู่ใน ระหว่างการปฏิบัติงานให้ผู้เอาประกันภัยภายใต้สัญญาว่าจ้าง หรือการฝึกงาน
5. บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายในวงเงินที่กำหนดไวให้ในกรมธรรม์ ที่้ เรียกว่า “จำนวนเงินจำกัดความรับผิด”

กรณีที่บริษัทประกันอาจปฎิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ผู้รับประกันภัยอาจปฎิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ หากความรับผิดนั้นเป็น
1. ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อลูกจ้างภายใต้กฎหมายเรื่องกองทุนเงิน ทดแทนแรงงาน เช่น กรณีลูกจ้างได้รับอุบัติเหตุในงานที่ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิตกรมธรรม์ความ รับผิดต่อบุคคลภายนอกจะไม่คุ้มครองผู้เอาประกันภัยต้องจัดทำการประกันภัยทด แทนแรงงานแยก ต่างหาก
2. ความรับผิดของผู้เอาประกันภัย ในฐานะที่เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดต่อลูกจ้าง ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุในการทำงานให้แก่นายจ้างดังนั้นนายจ้างจะต้องจัดทำ ประกัน ภัยความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างแยกต่างหาก
3. ความรับผิดที่ผู้เอาประกันภัยยอดรับเอาเอง หมายถึง การที่ผู้เอาประกันภัยทำสัญญาตกลง กับบุคคลอื่น ในการยอมรับผิดมากกว่าความรับผิดที่กฎหมายปกติกำหนดไว้ ซึ่งหากผู้เอาประกันภัย ไม่ได้ทำสัญญาดังกล่าว ความผิดนั้นจะไม่เกิดขึ้น เช่น การรับผิดด้วยความสงสาร เป็นต้น
4. ความรับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สินดังต่อไปนี้
– ความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเอง
– ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น ที่ผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย ครอบครองหรือเช่าอยู่ หรือกำลังใช้อยู่
– ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง ดูแล หรือควบคุมโดยผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้าง หรือ ตัวแทนของผู้เอาประกันภัย ทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครองดูแลและควบคุมของผู้เอา ประกันภัยนี้ถือเสมือน เป็นทรัพย์สินเป็นทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเอง
– ความเสียหายต่อตัวผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการชำรุดของส่วนใดส่วนหนึ่ง ของตัว ผลิตภัณฑ์นั่นเอง (การประกันภัยความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์จะให้ความคุ้มครองความเสียหายดังกล่าว)
– ความเสียหายต่องานที่ได้ทำไปแล้ว ซึ่งทำโดย หรือทำในนามของผู้เอาประกันภัย
– ความเสียหายที่เกิดแก่สถานที่ หรืออาคารที่ผู้เอาประกันภัยได้จำหน่ายขายหรือโอนให้ บุคคลอื่นไปแล้ว
5. ความรับผิดเนื่องมาจากยอดยานพาหนะที่เดินด้วยเครื่องยนต์
6. ความรับผิดเนื่องจากภัยที่ให้ผลหายนะอย่างใหญ่หลวง ได้แก่ ภัยสงคราม ภัยเนื่องจาก พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น
7. ความผิดเนื่องจากมลภาวะ  ประโยชน์ของการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
           – สำหรับเจ้าของอาคาร ได้รับการบรรเทาความเสียหายด้านการเงินหากเกิดเหตุการณ์ ไม่คาดฝันขึ้น และส่งผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายทั้งต่อร่างกาย และทรัพย์สินโดยหากความเสียหาย นั้นอยู่ในความรับผิดของเจ้าของอาคารเจ้าของอาคารก็จะรับการชดใช้จาก บริษัทประกันภัย
           – สำหรับผู้เสียหาย ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทาง ด้านการเงินของผู้ประสบภัยและ/หรือทายาทของผู้ประสบภัย
           – สำหรับสังคมโดยรวม เป็นการให้ความคุ้มครองทางการเงินของบุคคล หรือนิติบุคคลจากการทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก ซึ่งถือเป็นหลักประกันที่ดีต่อสังคม
           – สำหรับเศรษฐกิจ ทำให้การดำเนินทางธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น และมีความมั่นคง เนื่องจากผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจได้โอนความเสี่ยงภัยไปให้กับบริษัท ประกันภัยทำให้ธุรกิจ ไม่ต้องหยุดชะงักลง ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow